Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56472
Title: ประสิทธิผลของดีวีดีสอนการทำอัลตราซาวนด์ตับและทางเดินน้ำดี
Other Titles: Effectiveness of short course VDO-assistance hand-on hepatobiliary ultrasound
Authors: สุรีย์พร แจ้งศิริกุล
Advisors: รุ่งฤดี ชัยธีรกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Roongruedee.C@chula.ac.th,roon.chaiteerakij@chula.md
Subjects: การวินิจฉัยด้วยคลื่นเหนือเสียง
ตับ -- โรค
Diagnostic ultrasonic imaging
Liver -- Diseases
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประสิทธิผลของดีวีดีสอนการทำอัลตราซาวนด์ตับและทางเดินน้ำดี(Effectiveness of short course VDO-assistance hand-on hepatobiliary ultrasound) 1แพทย์หญิงสุรีย์พร แจ้งศิริกุล, 1แพทย์หญิงรุ่งฤดี ชัยธีรกิจ, 2นายแพทย์สุรเชษฐ์ สิริพงษ์สกุล 1หน่วยโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2หน่วยรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ บทนำ: การทำอัลตราซาวนด์ข้างเตียงประกอบการวินิจฉัยโรคมีใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะรังสีแพทย์เท่านั้น ปัจจุบันยังไม่มีหลักสูตรที่ชัดเจนในการสอนอัลตราซาวนด์สำหรับแพทย์ที่ไม่ใช่รังสีแพทย์ การเรียนอัลตราซาวนด์ซึ่งประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจะมีการใช้เวลาศึกษาอย่างน้อย 4-8 ชั่วโมง ซึ่งแพทย์เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับแพทย์ที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยมีเวลาจำกัดในการเรียนอัลตราซาวนด์ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรการเรียนอัลตราซาวนด์ตับและทางเดินน้ำดีด้วยตัวเองในรูปแบบของวิดีโอที่มุ่งเน้นการเรียนอัลตราซาวนด์เพื่อการตอบคำถามเฉพาะจุด (Focused-ultrasound) ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้วิจัยได้พัฒนาหลักสูตรสอนอัลตราซาวนด์ตับและทางเดินน้ำดีซึ่งเป็นวิดีโอที่ประกอบไปด้วยการสอนภาคทฤษฎี และวิดีโอสาธิตการทำอัลตราซาวนด์กับผู้ป่วยจริง (Hand-on demonstration) โดยเวลาที่ใช้ดูวิดีโอทั้งหมดไม่เกิน 1 ชั่วโมง 30 นาทีในรูปแบบของแผ่นดีวีดี ผู้เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับแจกหนังสือรูปภาพอัลตราซาวนด์ขนาดเล็กพกพาได้ที่ประกอบไปด้วยรูปภาพกายวิภาคของตับและทางเดินน้ำดี และรูปอัลตราซาวนด์มาตรฐาน 8 รูปเพื่อประกอบการทำอัลตราซาวนด์จริง ผู้เข้าร่วมการศึกษาจะมีเวลาศึกษาวิดีโอเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วจึงเริ่มทำอัลตราซาวนด์กับผู้ป่วยจริงเพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาต้องทำอัลตราซาวนด์กับผู้ป่วยจริงและบันทึกภาพอัลตราซาวนด์พร้อมทั้งระบุส่วนของอวัยวะที่กำหนดลงบนภาพอัลตราซาวนด์นั้นๆ ภาพอัลตราซาวนด์ที่บันทึกไว้ จะถูกประเมินและให้คะแนนโดยผู้วิจัยร่วม 1 ท่านซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอัลตราซาวนด์ช่องท้อง โดยมีคะแนนเต็ม 25 คะแนน และคะแนนจะถูกคำนวณเป็นร้อยละ ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 10 คน ประกอบไปด้วยแพทย์ประจำบ้านต่อยอดปีที่1 หน่วยโรคทางเดินอาหาร 4 คน และแพทย์ประจำบ้านปีที่ 2 ภาควิชาอายุรศาสตร์ 6 คน มีการทำอัลตราซาวนด์รวมทั้งหมด 52 ครั้ง โดยคะแนนเฉลี่ยรวมของการทำอัลตราซาวนด์เท่ากับร้อยละ 82.7±12.7 ผู้เข้าร่วมการศึกษา 8 คน (ร้อยละ 80) สามารถทำคะแนนเฉลี่ยได้เกิน 80% ผู้เข้าร่วมการศึกษามีแนวโน้มจะทำคะแนนได้เกิน 75% เมื่อได้ทำอัลตราซาวนด์เป็นจำนวน 4 เคสเป็นต้นไป สรุป: หลักสูตรการสอนทำอัลตราซาวนด์ตับและทางเดินน้ำดีสำหรับแพทย์ที่ไม่ใช่รังสีแพทย์ที่มีเวลาเรียนค่อนข้างจำกัด สามารถพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของ Focused-ultrasound โดยใช้เวลาในการศึกษาสั้นๆ การใช้อุปกรณ์เสริม เช่น หนังสือรูปภาพขนาดพกพา จะเป็นตัวช่วยให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการทำอัลตราซาวนด์และบันทึกภาพได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ข้างเตียงได้ในเวชปฏิบัติจริง
Other Abstract: VDO-assisted Liver Ultrasound Training for non-radiologist; Protocol and Preliminary Result Sureeporn Jangsirikul, MD.1, Surachet Siripongsakun, MD.2, Roongruedee Chaiteerakij, MD. PhD.1 1Division of Gastroenterology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University and King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thai Red Cross, Bangkok, Thailand. 2Department of Medical Imaging, Chulabhorn Hospital, Bangkok, Thailand. Ultrasound (US) is widely used in many fields of internal medicine. There were US training courses for non-radiologist in varying formats but the important barrier in training is the limited study time. Aim: to assess the ability of participants to identify and acquire the main structure during liver ultrasound, after studying the US liver self-learning course in a VDO format. Method: We developed the short lecture of liver US training in a VDO format. The VDO contained slide lectures and demonstrations of hand-on examination in real patients. The total VDO time was 1 hours and 10 minutes with concept of the focused-US. The pocket size of guidebook for image acquisition were developed by authors. The participants were four-1st year GI fellows and six-2nd year internal medicine residents. The participants received the VDO and a guidebook and could freely study the course for 1 week before hand-on examination. On hand-on examination, the participants did the US liver and stored the 8-assigned images and labelled the acquired organ/structures. The participants could use the pocket guidebook as the guide for capturing the correct images during hand-on examination. The images captured by participants were evaluated by US expert radiologists (S.S.). The score were rated by S.S. The full score of image acquisition was 25 and calculated in percentage. Result: 52 liver US examinations were done in this study. The mean acquisition score of all participants was 82.7±12.7. Eight of 10 participants (80%) had a mean score of image acquisition of more than 80%. After 4 examinations were done, the participants tended to gain the image acquisition score of above 75% Conclusion: The focused ultrasound of liver can be developed as a short time course as a VDO format. Due to the limited time of studying and hand-on practicing, the accessory tool that is small and portable such as booklet can guide non-radiologists to do the bedside US correctly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56472
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1273
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1273
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874084030.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.