Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56478
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางจิตวิทยา และความพึงพอใจในงาน โดยมีการรับรู้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา เป็นตัวแปรกำกับ
Authors: ธัญชนก เจริญพรรณ
ปารมี จันทร์สายชล
ไปรยา ชำนาญค้า
Advisors: ประพิมพา จรัลรัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Prapimpa.J@chula.ac.th
Subjects: การทำงาน -- แง่จิตวิทยา
จิตวิทยาองค์การ
Work -- Psychological aspects
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางจิตวิทยาทั้ง 4 ด้าน (การรับรู้,ความสามารถของตนเอง, การมองโลกในแง่ดี, ความหวัง และความสามารถในการฟื้นคืน) และความพึงพอใจในงาน โดยมีการรับรู้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาเป็นตัวแปรกำกับ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน เพศหญิง 105 คน และเพศชาย 45 คน ซึ่งเป็นพนักงานในองค์การต่างๆ อายุเฉลี่ย 37.95 ปี ทำมาตรวัดจำนวน 3 ชุด ได้แก่ มาตรวัดต้นทุนทางจิตวิทยา (PCQ) มาตรวัดความพึงพอใจในงาน (MSQ) และมาตรวัดการรับรู้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา (PSS) ผลการวิเคราะห์สถิติถดถอยอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ (Moderated Multiple Regression Analysis/MMR) โดยโปรแกรม Process ของ Hayes (2013) การวิจัยพบว่า ต้นทุนทางจิตวิทยาทั้ง 4 องค์ประกอบ (การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การมองโลกในแง่ดี, ความหวัง และความสามารถในการฟื้นคืน) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่พบว่าการรับรู้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางจิตวิทยาด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองและความพึงพอใจในงาน แต่ไม่พบอิทธิพลกำกับของการรับรู้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาต่อต้นทุนทางจิตวิทยาในด้านอื่น ๆ
Other Abstract: This study aimed to investigate the relationship between psychological capital including 4 factors (self-efficacy, optimism, hope and resilience) and job satisfaction with perceived supervisor support as a moderator in the relationship. A sample of 150 employees, 105 females, 45 males with an average age of 37.95 years, were asked to complete three measures including Psychological Capital Questionnaire (PCQ), Minnesota Satisfaction Questionnaire (MSQ) and Perceived Supervisor Support scale (PSS). The data was analyzed with a Moderated Multiple Regression analysis (MMR) by the Process program (Hayes, 2013). The findings revealed that 4 factors of psychological capital (self-efficacy, optimism, hope and resilience) were positively related to job satisfaction at p< .01. The moderation effect of perceived supervisor support was found for the relationship between self-efficacy and job satisfaction (b=.15, p<.05), but not for other three factors of psychological capital.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2015
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56478
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanchanok_et_al.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.