Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56503
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-11-29T06:39:37Z-
dc.date.available2017-11-29T06:39:37Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56503-
dc.description.abstractการศึกษาการเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน การเปลี่ยนแปลงศักยภาพการสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน และการเปลี่ยนแปลงปริมาณอินทรียวัตถุในดิน เป็นงานวิจัยระยะที่ 1 ของโครงการการใช้แบบจำลองเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ในการวางแผนการจัดการทรัพยากรป่าไม้และพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี การศึกษาได้ดำเนินการในพื้นที่ป่าผลัดใบลุ่มน้ำย่อยน้ำว้า อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ที่มีระดับการรบกวนแตกต่างกัน 4 ระดับ อันเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ได้แก่ การรบกวนน้อยมาก การรบกวนน้อย การรบกวนปานกลางและการรบกวนรุนแรง ผลการศึกษาพบว่า ระบบนิเวศป่าไม้แห่งนี้ยังมีศักยภาพในการเติบโตสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่าต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกตั้งแต่ 4.5 ถึง 15.0 ซม. เพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกระดับการรบกวน ขณะที่มวลชีวภาพเหนือพื้นดินมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับข้อมูลในปี พ.ศ. 2547 โดยมีการเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 10.05 ตันต่อเฮกแตร์ (ร้อยละ 161) ในพื้นที่ที่มีการรบกวนรุนแรง จนถึง 26.54 ตันต่อเฮกแตร์ (ร้อยละ 44.84) ในพื้นที่ที่มีการรบกวนน้อยมาก และเมื่อพิจารณาในด้านศักยภาพการสะสมธาตุคาร์บอนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ของมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน สามารถกล่าวได้ว่าพื้นที่ป่าแห่งนี้มีศักยภาพในการสะสมธาตุคาร์บอนได้ดีและพื้นที่ที่มีการรบกวนรุนแรงมีศักยภาพในการสะสมธาตุคาร์บอนได้ดีที่สุด เนื่องจากระยะเวลาผ่านไป 7 ปี พื้นที่แห่งนี้สะสมธาตุคาร์บอนได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 161 และจากการวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดินพบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกระดับการรบกวนเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าระบบนิเวศมีแนวโน้มในการหมุนเวียนสารอาหารต่าง ๆ ที่ดีขึ้น สามารถให้ผลผลิตและบริการทางนิเวศต่อไป สำหรับงานวิจัยระยะต่อไปจะเป็นการศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ ศึกษากระบวนการตัดสินใจในการเข้าใช้ประโยชน์ ตลอดจนวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการพื้นที่ป่า จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบจำลองพหุภาคี (agent-based model) ในรูปแบบเกมและสถานการณ์จำลอง (gaming and simulation) ตามแนวทางของแบบจำลองเพื่อนคู่คิด (companion modelling) และใช้ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มศักยภาพในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe studies of above-ground biomass changes, carbon sequestration potential, and organic matter changes are the first phase under the two-year project entitled companion modeling to enhance capacity of local comunities in sustainable forest and plant resources management planning. The study site is located in a lowland deciduous forest of Nam Wa sub-watershed, Wiang Sa sub-district, Nan Province. Based on different human activities, four disturbance levels were classified, very low, low, medium and high. The results show that this forest ecosystem is still growing compared with the data from the previous study in 2004, seven years ago. Small trees with the diameter at breast height of 4.5-15 cm increased in all disturbance levels. Above-ground biomass also increased from 2004 ranging from 10.05 ton/ha (161%) in the high disturbance area to 26.54 ton/ha (44.84%) in the very low disturbance area. In term of carbon sequestration (50% above-ground biomass), this forest area has high potential for carbon storage, particularly in the high disturbance area that can store carbon up to 161% compared with the previous record in 2004. Organic matters increased in all disturbance levels. It showed that the nutrients cycling process was going well. As a result, the ecosystem is continuing to provide goods and services. The next steps of this research are to investigate the utilization of forest products by local people and explore their decision making processes regarding the utilization. Moreover, stakeholders related to the forest management in this area will be analyzed. All information will be used to build a set of conceptual models that will be developed to an agent-based model in form of gaming and simulation tool. It will be used with local stakeholders for scenarios exploration for shared learning and improving an adaptive capacity of local communities in sustainable forest management.en_US
dc.description.budgetทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปี 2555en_US
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปี 2555en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการป่าไม้ -- การมีส่วนร่วมของประชาชนen_US
dc.subjectป่าชุมชนen_US
dc.subjectForest management -- Citizen participationen_US
dc.subjectCommunity forestsen_US
dc.titleการใช้แบบจำลองเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ในการวางแผนการจัดการทรัพยากรป่าไม้และพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน (ปีที่ 1) : รายงานวิจัยen_US
dc.title.alternativeCompanion modeling to enhance capacity of local communities in sustainble forest and plant resources management planning (Year 1)en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongchai_Du_2555.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.