Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56519
Title: ผลกระทบของไอออนต่อประสิทธิภาพการกำจัดโครเมต โดยวิธีพอลิอิเล็กโทรไลต์เพิ่มอัลทราฟิลเทรชันในน้ำเสียจากการชุบเคลือบโลหะ
Other Titles: Effects of ions on the efficiency of polyelectrolyte-enhanced ultrafiltration to remove chromate from plating wastewater
Authors: จินตนา เจริญศิริ
Advisors: จินตนา สายวรรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chintana.Sa@chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโครเมียม
โพลิอิเล็กทรอไลต์
Sewage -- Purification -- Chromium removal
Polyelectrolytes
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของไอออนต่างๆ ที่อยู่ในน้ำเสียโครเมียม จากโรงงานชุบเคลือบโลหะ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพอลิอิเล็กโทรไลต์เพิ่มอัลทราฟิลเทรซัน ในการแยกโครเมตออกจากน้ำเสีย โดยให้พอลิอิเล็กโทรไลค์เกิดพันธะกับไอออนโครเมตในอัตราส่วน 20:1 พิจารณาศึกษาในน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียตัวอย่างไอออนที่ศึกษาได้แก่ไอออนทองแดง ไอออนเหล็ก ไอออนนิเกิล ไอออนสังกะสี ไอออนคลอไรด์ ไอออนไนเตรด และไอออนซัลเฟต ไอออนบวกศศึกษาในช่วงความเข้มข้น 20 40 และ 100 มก.ต่อลิตร และไอออนลบสึกษาในช่วงความเข้มข้น 1000 3000 และ 6000 ผลการวิจัยพบว่า ในน้ำเสียสังเคราะห์ไอออนนิเกิลไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดไอออนโครเมต ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 99.5 ส่วนไอออนบวก 3 ชนิดคือ ไอออนทองแดง ไอออนเหล็ก และไอออนสังกะสีไม่มีผลต่อค่ารีเจ็คชันของการกำจัดไอออนโครเมต ที่ระดับคามเชื่อมั่นทางสถิติ 99.5 โดยให้ค่ารีเจ็คชันของการกำจัดไอออนโครเมตสูงถึง 99% แต่ผลกระทบที่พบคือมีตะกอนเกิดขึ้น ไอออนลบที่ศึกษาทุกระดับความเข้มข้น มีผลกระทบที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 99.5 โดยให้ค่ารีเจ็คชันของการกำจัดไอออนโครเมตต่ำกว่า 99% ผลการศึกษาในตัวอย้างน้ำเสียจากโรงงานชุบเคลือบโลหะ เมื่อพิจารณาตามค่าทางสถิติพบว่าไอออนต่างๆ ในน้ำเสีย มีผลกระทบต่อค่ารีเจ็คชันของการกำจัดไอออนดครเมต ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 99.5 อย่างไรก็ตามค่ารีเจ็คชันของการกำจัดไอออนโครเมต ยังมีค่าสูงกว่า 99%
Other Abstract: The study investigated the effect of ions on the efficiency of polyelectrolyte-enhanced ultrafiltration (PEUF) in wastewater containing chromate by using polyelectrolyte binding to chromate to form molecules. Both synthetic waste and actual waste were determined. In this work. The selected ions were Cu²⁺, Fe3⁺, Ni²⁺, Zn²⁺, Cl , No3 ,and So₄²⁻ The concentration of cations were used at 20, 40 and 100 ppm. And the anions were used at 1000, 3000, and 6000 ppm. The results of synthetic waste are found that Ni²⁺, Cu⁺², Fe⁺³, and Zn⁺² have no effect on PEUF at 99.5 % confidence level. Whereas precipitation of Cu⁺², Fe⁺³, and Zn⁺² occurred. The results of the anioins show that at 99.5 % confidence level give the rejection of chromate ion lower than 99 % The polyelectrolyte-enhanced ultra filtration of actual plating waste shows that the ions in the waste affect the rejection of chromate ion at 99.5 % confidence level. However, the rejection of Chromate ions is still greater than 99%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56519
ISBN: 9746395378
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jintana_ch_front.pdf620.47 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_ch_ch1.pdf328.85 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_ch_ch2.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_ch_ch3.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_ch_ch4.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_ch_ch5.pdf431.42 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_ch_back.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.