Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56593
Title: ผลของการเต้นแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำและแบบปลอดแรงกระแทก ที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือดของหญิงผู้สูงอายุ
Other Titles: Effects of low impact and non impact aerobic dance exercise on biochemistry substances in blood of aged females
Authors: วราภรณ์ ภิญโญชนม์
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thanomwong.K@Chula.ac.th
Subjects: การเต้นแอโรบิก
แอโรบิก (กายบริหาร)
เลือด -- การวิเคราะห์
เคมีในเลือด
ไขมันในเลือด
โคเลสเตอรอลในเลือด
น้ำตาลในเลือด
Aerobic dancing
Aerobic exercises
Blood -- Analysis
Blood lipids
Blood cholesterol
Blood sugar
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำและแบบปลอดแรงกระแทกที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือดของหญิงสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นอาสาสมัครหญิงสูงอายุที่เป็นสมาชิกของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมของศูนย์ฯ เป็นประจำ และเคยผ่านการร่วมกิจกรรมออกกำลังกายแบบรำมวยจีนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน จำนวน 45 คน มีอายุระหว่าง 60-85 ปี ซึ่งทำการตรวจสารชีวเคมีในเลือดก่อนการทดลองแล้วใช้การสุ่มแบบกำหนดลงในสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ฝึกแอโรบิดดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำ กลุ่มที่ 2 ฝึกแอโรบิคดานซ์แบบปลอดแรงกระแทก และกลุ่มที่ 3 ฝึกแอโรบิคดานซ์แบบผสมผสานระหว่างแรงกระแทกต่ำกับปลอดแรงกระแทก ฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ นำค่าทดสอบสารชีวเคมีในเลือดมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า "ที" (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way Analysis of Variance) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าของกลูโคส ไตรกลีเซอร์ไรด์ โคเลสเตอรอล แอล-ดี-แอล และเอช-ดี-แอล ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ค่าของไตรกลีเซอร์ไรด์ ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มฝึกแอโรบิคดานซ์แบบปลอดแรงกระแทกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .05 ส่วนกลูโคส โคเลสเตอรอล แอล-ดี-แอล (LDL) และเอช-ดี-แอล (HDL) ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ค่าของกลูโคส ไตรกลีเซอร์ไรด์ โคเลสเตอรอล และแอล-ดี-แอล ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มฝึกแอโรบิคดานซ์แบบผสมผสานระหว่างแรงกระแทกต่ำกับปลอดแรงกระแทกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .05 ส่วน เอช-ดี-แอล ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันยอ่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ผลของการฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำ แบบปลอดแรงกระแทกและแบบผสมผสานระหว่างแรงกระแทกต่ำกับปลอดแรงกระแทกที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือดของหญิงสูงอายุไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the effects of low impact and non impact aerobic dance exercise on biochemistry substances in blood of aged females. Subjects were 45 volunteered females whose ages were between 60-85 years old. These subjects were the members of the Siriraj Senior Citizen Club. Mahidol University, and used to participate in the Tai Chi at least 6 months. Prior to the experiment, they were tested in blood chemistry and were then randomly assigned into three groups. The first group was trained with low impact aerobic dance, the second group was trained with non impact aerobic dance, and the third for both low impact and non impact aerobic dance. Every group was trained for 8 weeks with 2 days a week. All 3 groups were then measured the biochemistry substances in blood after the experiment. The data were analyzed in term of means, standard deviation and t-test. The One-Way Analysis of Variance was used to determine the statistically significant differences at the .05 level. The results of this research were that : 1. The mean of glucose, triglyceride, cholesterol, LDL and HDL for pre and post experiments of the low impact group were not different at the significant level of .05 2. The mean of triglyceride for pre and post experiment in the non impact group was significantly different at .05 level. The glucose, cholesterol, LDL and HDL on pre and post experiments were not different at the significant level of .05 3. The mean of glucose, triglyceride, cholesterol, and LDL for pre and post experiments for the both low impact and non impact aerobic dance exercises were different at the significant level of .05, however, HDL for pre and post experiments was not significantly different at .05 level. 4. There was no statistically significant difference at the .05 level in biochemistry substances of the aged females among three types of training.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56593
ISBN: 9745798959
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varaporn_pi_front.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Varaporn_pi_ch1.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Varaporn_pi_ch2.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open
Varaporn_pi_ch3.pdf666.15 kBAdobe PDFView/Open
Varaporn_pi_ch4.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Varaporn_pi_ch5.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Varaporn_pi_back.pdf10.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.