Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56626
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาชัญญา รัตนอุบล-
dc.contributor.authorเบญจมาภรณ์ วงษ์สิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-12-29T01:54:38Z-
dc.date.available2017-12-29T01:54:38Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56626-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะในครัวเรือนของกลุ่มแม่บ้าน 2) เปรียบเทียบความรู้ ทักษะ และเจตคติในการจัดการขยะในครัวเรือนระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติของกลุ่มแม่บ้าน 3) ศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการจัดการขยะในครัวเรือนของกลุ่มแม่บ้าน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ กลุ่มแม่บ้านในตำบลทุ่งขวาง ซึ่งมีอายุระหว่าง 37-61 ปี จำนวน 30 คน การจัดกิจกรรมใช้ระยะเวลา 7 วัน รวมทั้งสิ้น 55 ชั่วโมง เครื่องที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ เครื่องมือใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการจัดการขยะในครัวเรือนของกลุ่มแม่บ้าน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินการจัดการขยะในครัวเรือน และแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1.การพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการจัดการขยะในครัวเรือนของกลุ่มแม่บ้าน มีกระบวนการของกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ได้แก่ 1) นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาเป็นโจทย์ของการเรียนรู้ 2) วางแผนการเรียนรู้ร่วมกันในการแก้ปัญหา 3) ลงมือเรียนรู้จากการปฏิบัติ 4) เปิดโอกาสให้มีการอภิปราย 5) สรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ของแต่ละบุคคล และ 6) การประเมินผล ผนวกกับกิจกรรม 17 กิจกรรม ได้แก่ 1) บอกเล่าเก้าสิบ 2) ครัวเรือนของเรา 3) ต้องจัดการ 4) R1 Reduce 5) R2 Reuse 6) R3 Recycle 7) R4 Refuse 8) R5 Repair 9) R6 Refill 10) R7 Return 11) คัดแยกขยะ 12) ถังขยะของเรา 13) ถุงผ้าลดขยะ 14) มาทำปุ๋ยหมักกัน 15) ขยะคือทอง 16) แบบปฏิบัติการ และ 17) ทำแล้วดี ซึ่งสามารถส่งเสริมการจัดการขยะในครัวเรือนของกลุ่มแม่บ้านได้ 2. ผลการจัดกิจกรรมพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ ทักษะและเจตคติในการจัดการขยะในครัวเรือนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการจัดกิจกรรมพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะในครัวเรือนของกลุ่มแม่บ้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.73)en_US
dc.description.abstractalternativeTo 1) develop non-formal education activities based on Action Learning to enhance the management of household waste of the housewife groups; 2) compare knowledge, skill and attitude related to the management of household waste among housewife groups during, before, and after the experiment; and 3) study participants’ satisfaction towards the non-formal education activities based on Action Learning to enhance the management of household waste of the housewife groups. The research samples were thirty housewives in Thung Kwang District, aged from 37 to 61 years old. The overall duration of the activities was 55 hours within 7 days. The research instruments were the non-formal education activities’ plans based on Action Learning to enhance the management of household waste of the housewife groups. The analysis of data was based on the assessment of waste management and the assessment of satisfaction towards the developed activities. In order to find the results, the researcher had analyzed all gathered data by using means (X-bar), Standard Deviation (S.D.) and dependent-samples t (t-test) at .05 level of significance. The results were as follow: 1. The processes of developing non-formal education activities based on Action Learning to enhance the management of household waste of the housewife groups were; 1) developing an existing problem as a topic of learning; 2) planning to learn together in problem solving; 3) learning by practicing; 4) opening for discussion; 5) synthesizing the lessons as individual knowledge; and 6) evaluating. All processes were combined with 17 activities applicable for the management of household waste of the housewife groups. 2. After the experiment, the experimental group’s mean scores of knowledge, skill and attitude towards management of household waste were higher than before the experiment at .05 level of significance. 3. After participating the developed non-formal education activities, it was found that the experimental group was satisfied with the activities at the highest level (X-bar = 4.73).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1627-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.subjectสตรี -- การศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.subjectการเรียนรู้ของผู้ใหญ่en_US
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอนen_US
dc.subjectการจัดการของเสียen_US
dc.subjectNon-formal educationen_US
dc.subjectWomen -- Non-formal educationen_US
dc.subjectAdult learningen_US
dc.subjectActivity programs in educationen_US
dc.subjectRefuse and refuse disposalen_US
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการจัดการขยะในครัวเรือนของกลุ่มแม่บ้านen_US
dc.title.alternativeEffects of organizing non-formal education activities based on action learning to enhance the management of household waste of housewife groupsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorArchanya.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1627-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjamaporn_wo.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.