Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56632
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประสาร มาลากุล ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorสายพิน สร้อยทองคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-12-29T09:11:48Z-
dc.date.available2017-12-29T09:11:48Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.isbn9745844462-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56632-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลของการฝึกสร้างตัวแทนของปัญหาแบบตารางสัมพันธ์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงตรรก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนปล้องวิทยาคม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 76 คน ซึ่งใช้การสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม ใช้การวิจัยแบบทดลอง มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทำการทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงตรรกก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง 2 กลุ่มได้รับการฝึกสร้างตัวแทนของปัญหาแบบตารางสัมพันธ์ กลุ่มควบคุมใช้การสอนตามปกติ โดยใช้เวลาทดลอง 8 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที หลังการทดลองให้ทำแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงตรรก กลุ่มทดลองที่ 1 ให้นักเรียนใช้ตารางสัมพันธ์ในการสร้างตัวแทนของปัญหา แต่กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม ใช้การสร้างตัวแทนของปัญหาแบบใดก็ได้ ใช้การทดสอบค่าทีทดสอบความแตกต่างของคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงตรรก ก่อนการทดลองและหลังการทดลองภายในกลุ่ม และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงตรรก ก่อนการทดลองและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มต่างๆ โดยใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบคะแนนของแต่ละกลุ่มเป็นรายคู่โดยวิธีของตูกีย์ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการฝึกสร้างตัวแทนของปัญหาแบบตารางสัมพันธ์และให้แสดงวิธีสร้างตัวแทนของปัญหาแบบตารางสัมพันธ์ในขณะแก้ปัญหาเชิงตรรก มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกสร้างตัวแทนของปัญหาแบบตารางสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่ได้รับการฝึกสร้างตัวแทนของปัญหาแบบตารางสัมพันธ์ แต่ให้แสดงวิธีสร้างตัวแทนของปัญหาแบบใดก็ได้ในขณะแก้ปัญหาเชิงตรรก มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกสร้างตัวแทนของปัญหาแบบตารางสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนที่ได้รับการฝึกสร้างตัวแทนของปัญหาแบบตารางสัมพันธ์ และให้แสดงวิธีสร้างตัวแทนของปัญหาแบบตารางสัมพันธ์ในขณะแก้ปัญหาเชิงตรรก มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับนักเรียนที่ได้รับการฝึกสร้างตัวแทนของปัญหาแบบตารางสัมพันธ์แต่ให้แสดงวิธีสร้างตัวแทนของปัญหาแบบใดก็ได้ในขณะแก้ปัญหาเชิงตรรกen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was aimed to investigate effects of matrix representation training on students’ logical problem-solving ability. The sample consisted of 78 Mathayom Suksa three students of Plongvithayakom school of Amphare Thoeng, Chaingrai Province. The two-stage sampling was used to form two experimental groups and one control group within the pretest-posttest experimental control group research design. The two experimental groups received the training of matrix problem representation for eight sessions, each session for 50 minutes. After the experiment, the three groups were tested for their logical problem-solving ability. In the testing, the first experimental group was asked to used matrix representation while the second experimental group and the control group were allowed to use any representation in their problem-solving performance. The scores of logical problem solving ability before and after experiment were analyzed by the t-test within group, the one-way analysis of variance between group and Tukey multiple comparisons. The findings indicated that (1) The group of students who were trained matrix representation and asked to used matrix representation, had higher score of problem-solving ability than the control group at the .05 level of significant; (2) The group of students, who were trained matrix representation and allowed to used any type of representation, had higher score of problem-solving ability than the control group at the significant level of .05; (3) The score of problem solving ability of the group of students who were trained matrix representation and asked to use matrix representation were not significantly different from the group of students who were trained matrix representation and allowed to use any type of representation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาในวัยรุ่นen_US
dc.subjectProblem solvingen_US
dc.subjectProblem solving in adolescenceen_US
dc.titleผลของการฝึกสร้างตัวแทนปัญหาแบบตารางสัมพันธ์ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงตรรก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3en_US
dc.title.alternativeEffects of matrix problem representation training on mathayom suksa three students logical problem-solving abilityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorprasan@kbu.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saiphin_so_front.pdf789.07 kBAdobe PDFView/Open
Saiphin_so_ch1.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Saiphin_so_ch2.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Saiphin_so_ch3.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Saiphin_so_ch4.pdf702.62 kBAdobe PDFView/Open
Saiphin_so_ch5.pdf364.72 kBAdobe PDFView/Open
Saiphin_so_back.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.