Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56633
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิลปชัย สุวรรณธาดา-
dc.contributor.authorสมคิด เดชโชคชัยเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-12-29T09:38:35Z-
dc.date.available2017-12-29T09:38:35Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745667244-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56633-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกหัดช่วงยาว และการฝึกหัดช่วงสั้นที่มีต่อการเรียนรู้ทักษะและการถ่ายโยงการเรียนรู้ทักษะจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งของร่างกาย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนปทุมวิไลซึ่งได้มาจากการสุ่มโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย จำนวน 106 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 273 คน ประกอบด้วยนักเรียนชายและหญิงอย่างละ 80 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่มเท่า ๆ กันโดยวิธีจับคู่ (Matched group) คือ กลุ่มฝึกหัดช่วงยาวชาย, กลุ่มฝึกหัดช่วงยาวหญิง, กลุ่มฝึกหัดช่วงสั้นชาย และกลุ่มฝึกหัดช่วงสั้นหญิง ผู้รับการทดลองทุกคนจะได้รับการทดสอบก่อน (Pretest) ด้วยมือข้างที่ถนัดและมือข้างที่ไม่ถนัด จากนั้นให้ผู้รับการทดลองทุกกลุ่มฝึกหัดการติดตามเป้าเคลื่อนที่บนเครื่องเพอร์ซุทโรเตอร์ด้วยมือข้างที่ถนัดเป็นเวลา 3 วัน ๆ ละ 5 นาที กลุ่มฝึกหัดช่วงยาวทำการฝึกหัดติดต่อกันเป็นเวลา 5 นาที โดยไม่มีการหยุดพัก ส่วนกลุ่มฝึกหัดช่วงสั้นทำการฝึกหัด 30 วินาที พัก 20 นาที สลับกันจนครบ 10 ครั้ง หลังจากสิ้นสุดโปรแกรมการฝึกหัดผู้รับการทดลองทุกคนจะได้รับการทดสอบความสามารถในการติดตามเป้าหมายเคลื่อนที่บนเครื่องเพอร์ซุทโรเตอร์ด้วยมือที่ไม่ถนัด นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง และทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีนิวแมนคูลส์เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้รับการทดลองทุกกลุ่มมีพัฒนาการของระดับความสามารถทางทักษะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. กลุ่มฝึกหัดช่วงสั้นมีระดับความสามารถทางทักษะสูงกว่ากลุ่มฝึกหัดช่วงยาวอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. กลุ่มทดลองเพศชายมีระดับความสามารถทางทักษะสูงกว่ากลุ่มทดลองทางเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. กลุ่มทดลองเพศชายมีระดับความสามารถของการถ่ายโยงการเรียนรู้ทักษะจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งของร่างกายสูงกว่ากลุ่มทดลองเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แต่วิธีฝึกหัดช่วงยาวกับวิธีฝึกหัดช่วงสั้นให้ผลต่อการถ่ายโยงการเรียนรู้ทักษะจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งของร่างกายไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the effects of massed practice and distributed practice on skill learning and bilateral transfer of the skill learning. One hundred and sixty subjects were randomized by Simple Random Sampling method from two hundred and seventy three Mathayom Suksa five students of the Pathumvilai school, as equal to sex and number. They were matchedly assigned into four groups of forty subjects as to male massed practice group, female massed practice group, male distributed practice group and female distributed practice group. Each subject was preferred with preferred and nonpreferred hand, then all group practiced the pursuit rote task with preferred hand for five minutes a day for three days. The massed practice groups continuously practiced for five minutes, while the distributed practice groups intermittently practiced for 30 seconds and rested for 20 seconds for 10 trials. Then, all of the subjects performed the pursuit roter task with nonpreferred hand. The obtained data were analyzed into means and standard deviations, t-test, One-way and Two-way analysis of Variance. The Newman-Kouls Multiple Mange Tests were employed to determine the significant differences. The results indicated that : 1. The performance of each group was significantly increased at the .01 level. 2. The distributed practice group had significantly better performance than of the massed groups at the .01 level. 3. Male subjects were significantly superior to the female subjects at the .05 level. 4. Male subjects were significantly out-performanced female subjects on the bilateral transfer at the .01 level. In addition, the masseded practice and distributed practice were not significantly different at the .05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเรียนรู้ (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectการเคลื่อนไหวของมนุษยen_US
dc.subjectLearning, Psychology ofen_US
dc.subjectHuman mechanicsen_US
dc.titleผลของการฝึกหัดช่วงยาวและการฝึกหัดช่วงสั้น ที่มีต่อการเรียนรู้ทักษะและการถ่ายโยงการเรียนรู้ทักษะ จากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งของร่างกายen_US
dc.title.alternativeEffects of massed practice and distributed practice on skill learning and bilateral transfer of skill learningen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSilpachai.Su@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkit_de_front.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
Somkit_de_ch1.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Somkit_de_ch2.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open
Somkit_de_ch3.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Somkit_de_ch4.pdf6.69 MBAdobe PDFView/Open
Somkit_de_ch5.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open
Somkit_de_back.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.