Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56644
Title: การวิเคราะห์หนังสือประกอบการเรียนในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ระดับประถมศึกษาที่จัดพิมพ์ครั้งสุดท้ายโดยสำนักพิมพ์เอกชนระหว่างปี พ.ศ. 2529-2537
Other Titles: Analysis of complementary books in life experiences area at the elementary education level with the lastest published by private presses from B.E. 2529 to B.E. 2537
Authors: วิไลลักษณ์ เกตุเล็ก
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: หนังสือเสริมประสบการณ์
สำนักพิมพ์และการพิมพ์
Supplementary reading
Publishers and publishing
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หนังสือประกอบการเรียนในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ระดับประถมศึกษาที่จัดพิมพ์ครั้งสุดท้าย โดยสำนักพิมพ์เอกชนระหว่างปี พ.ศ. 2529-2537 ในด้านวัตถุประสงค์ของหนังสือ ลักษณะทางกายภาพ การจัดเนื้อหาสาระและประเภทของกิจกรรม ตลอดจนการนำหนังสือประกอบการเรียนในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตไปใช้ของครูผู้สอน พบว่า 1. หนังสือประกอบการเรียนในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์ของหนังสือคือ เพื่อให้นักเรียนใช้ศึกษาเนื้อหาสาระ และฝึกทักษะในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 และในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ให้นักเรียนใช้ศึกษาเนื้อหาสาระ นอกจากนี้ยังเป็นแนวกิจกรรมและเป็นแบบวัดและประเมินสำหรับครูด้วย 2. หนังสือประกอบการเรียนในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตส่วนใหญ่มีการจัดเนื้อหาสาระของหนังสือ โดยมีหัวข้อเนื้อหา และการเรียงลำดับหัวข้อเนื้อหาตามหลักสูตร เนื้อหามีลักษณะเป็นการสรุปความสั้นๆ ไม่มีการเกริ่นนำ ไม่มีบทสรุป แต่มีการอธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่างประกอบบ้างในบางหัวข้อ 3. หนังสือประกอบการเรียนในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตส่วนใหญ่มีประเภทของกิจกรรมที่เสนอแนะไว้ในหนังสือมีความหลากหลาย และกิจกรรมที่โดยเฉลี่ยแล้วมีปรากฏมากที่สุดคือการทดลอง หรือการสาธิตการทดลอง และกิจกรรมที่โดยเฉลี่ยแล้วมีปรากฏน้อยที่สุด คือ การเชิญวิทยากร 4. หนังสือประกอบการเรียนในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตส่วนใหญ่มีลักษณะทางกายภาพของหนังสือคล้ายคลึงกัน คือระบุชื่อผู้แต่ง ชื่อสำนักพิมพ์ และราคา โดยสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่กำหนดราคาไว้ใกล้เคียงกัน ยกเว้นสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชกำหนดราคาไว้สูงกว่าสำนักพิมพ์อื่นๆ ส่วนสำนักพิมพ์วัฒยาพานิชและสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ กำหนดราคาไว้ต่ำสุด รูปเล่มเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง เข้าเล่มแบบไสสันทากาว ปกอ่อน กระดาษเนื้อในเป็นกระดาษปรู๊ฟ ตัวอักษรใช้หมึกพิมพ์สีดำ มีคำนำ มีสารบัญ และมีภาพประกอบเป็นภาพขาวดำ 5. การนำหนังสือประกอบการเรียนในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตไปใช้ของครูผู้สอน พบว่า ครูส่วนใหญ่ใช้หนังสือประกอบการเรียนเป็นหลักในการสอนทุกขั้นการสอน แต่ขั้นการสอนโดยเฉลี่ยที่ครูนำไปใช้มากที่สุดคือขั้นสอน ซึ่งนำไปใช้ประกอบการสอนทุกชั่วโมง
Other Abstract: The purpose of this research was to analyze the complementary books in Life Experiences Area at the elementary education level published by private presses from B.E. 2529-2537 with emphasis on the objectives of books, physical features, contents, learning activities and the utilization of complementary books in Life Experiences Area by teachers. Findings: 1. The objectives of complementary books in Life Experiences Area were to provide content and skill practice for students in grade 1-4. As for student in grade 5-6 the objectives were also to provide content. In addition these books were also meant to be used as activity guides and evaluation for teacher. 2. Most of the complementary books in Life Experiences Area spectifiend topic headings which were arranged according to those specified in the National curriculum. Contents were only in short texts without introduction and conclusion. There were explanations and examples in some topics. 3. Most of complementary books in Life Experiences Area had suggested different activity types and by average the most frequent activities found were experimentation and demonstration activities. The least frequent activity found was the utilization of resource persons. 4. Most of complementary books in Life Experiences Area were similar in physical features. The authors’ names, press companies and prices were shown. Most publishing houses set prices in almost the same range. The most expensive complementary books were those from Thai Watana Panich and the least expensive complementary books were those from Watana Panich and Aksorn Chareon Tat. The shape of most books was upright rectangular, newsprint paper, black color letters, black and white illustrastion and in paper-back style. 5. Most teachers used the complementary books in Life Experiences Area in every teaching step. However by average the teacher used these books in the practice stage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56644
ISBN: 9746343505
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilailuk_ke_front.pdf862.15 kBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_ke_ch1.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_ke_ch2.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_ke_ch3.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_ke_ch4.pdf5.43 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_ke_ch5.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_ke_back.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.