Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56645
Title: | การวิเคราะห์หลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Analysis of professional curricula in teachers colleges in Bangkok Metropolis |
Authors: | สุบงกช เย็นยอดวิชัย |
Advisors: | พรชุลี อาชวอำรุง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Pornchulee.A@Chula.ac.th |
Subjects: | วิทยาลัยครู -- หลักสูตร การศึกษาทางวิชาชีพ หลักสูตร -- การวิเคราะห์ Teachers colleges -- Education -- Curricula Professional education Education -- Curricula -- Analysis |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยครู 2.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา เกี่ยวกับหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยครู วิธีดำเนินการวิจัย 1. การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) เอกสารและประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรวิทยาลัยครู พ.ศ. 2528 ของสภาการฝึกหัดครู กับผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2528 จำนวน 340 คน และได้รับแบบสอบถามคืนเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ 296 ชุด คิดเห็นร้อยละ 87.06 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ได้แก่ 2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เอกสารหลักสูตร คือ ตารางวิเคราะห์องค์ประกอบของหลักสูตร ตารางวิเคราะห์ความมุ่งหมายของหลักสูตร ตารางวิเคราะห์โครงสร้างของหลักสูตร ตารางวิเคราะห์เนื้อหาวิชาของหลักสูตร 2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาความคิดเห็น คือ แบบสอบถาม 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร แบบสอบถามสำหรับอาจารย์ และแบบสอบถามสำหรับนักศึกษา ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบประเมินค่า (Rating Scale) 5 ค่า และมีคำถามปลายเปิดถามด้านปัญหาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร 3. การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ตอน คือ วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหลักสูตรและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเสมอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย สรุปผลการวิจัย 1. ผลการวิเคราะห์เอกสารหลักสูตร พบว่า หลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานครเป็นหลักสูตรแบบกว้าง ไม่ได้ระบุองค์ประกอบไว้ครบ ระบุไว้แต่ความมุ่งหมายทั่วไปของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหาวิชา และองค์ประกอบของหลักสูตรที่ปรากฏทุกหลักสูตรก็สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี พ.ศ. 2525 ของทบวงมหาวิทยาลัย 2. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา เกี่ยวกับหลักสูตรในด้านต่าง ๆ พบว่า ผู้บริหารมีความเห็นว่า มีความคล่องตัวในการบริหารงานด้านการวัด และประเมินผลอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง ต้องการความช่วยเหลือและความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนอยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมของงบประมาณที่จัดให้เกี่ยวกับการเรียนการสอนและรายได้อื่นเพื่อเสริมเงินงบประมาณอยู่ในระดับน้อย อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่า ความมุ่งหมายของหลังสูตรในหมวดวิชาที่ตนเองเกี่ยวข้องกล่าวไว้ชัดเจนอยู่ในระดับปานกลางมากกว่ารายการอื่น ๆ การจัดกลุ่มวิชาเฉพาะสาขาหรือวิชาเอกให้เรียนแทนการฝึกงานได้อยู่ในระดับมาก และการจัดหมวดวิชาเลือกเสรีให้มีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต จากกลุ่มวิชาใดก็ได้อยู่ในระดับน้อย เนื้อหาสนองความสนใจและความต้องการของผู้เรียนอยู่ในระดับน้อย และความสอดคล้องของเนื้อหากับความมุ่งหมายเฉพาะกลุ่มวิชาอยู่ในระดับปานกลาง อาจารย์ใช้วิธีสอนโดยการฝึกปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และใช้วิธีการสัมมนา การเชิญวิทยากรมาบรรยาย การศึกษานอกสถานที่ อยู่ในระดับน้อย อาจารย์ใช้วิธีวัดและประเมินผลโดยการสอบภาคทฤษฎีอยู่ในระดับมาก และไม่มีปัญหาในเรื่องการวัดและประเมินผล นักศึกษามีความเห็นว่า ตนเองได้รับความรู้และทักษะจากวิชาเอกอยู่ในระดับมาก ได้รับการวัดและประเมินผลโดยวิธีการสอบภาคทฤษฎี การเขียนรายงานจากการค้นคว้าอยู่ในระดับมาก การสอบปากเปล่า และการสังเกตอยู่ในระดับน้อย กิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นการอภิปราย การสัมมนา การฝึกปฏิบัติ การเชิงวิทยากรมาบรรยายการศึกษานอกสถานที่อยู่ในระดับน้อย ข้อเสนอแนะ 1. วิทยาลัยต้องการความช่วยเหลือและความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนในเรื่องสถานที่ฝึกงาน และบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยในการเรียนการสอนจึงเสนอให้มีการแก้ไขปัญหาในรูปคณะกรรมการและแต่ละวิทยาลัยไม่ควรเปิดสอนในสาขาวิชาที่ซ้ำกัน แล้วรับความช่วยเหลือจากภายนอกให้น้อยที่สุด 2. วิทยาลัยได้รับเงินงบประมาณจำกัด และรายได้อื่นเพื่อเสริมเงินงบประมาณก็น้อย จึงควรแสวงหาการบริจาคเงินทุน และเครื่องมืออุปกรณ์อีกเป็นจำนวนมาก 3. เนื้อหาวิชาบางวิชาสนองความสนใจและความต้องการของผู้เรียนน้อย ไม่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของหลักสูตร อาจารย์ใช้วิธีสอนโดยการสัมมนา ศึกษานอกสถานที่ การอภิปราย และฝึกปฏิบัติน้อย ใช้วิธีวัดผลโดยการสอบภาคทฤษฎีมาก จึงเสนอให้มีการพัฒนาคณาจารย์ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าว |
Other Abstract: | Purposes of Study : 1. To analyze of the contents of Professional Curricula in Teachers Colleges 2. To study the opinions of college administrators, faculty and student related to the Professional Curricula in Teachers Colleges Procedures : 1. The descriptive survey research was employed with documentary analysis of Teacher Training Curricula B.E. 2528. Questionnaire respondents were administrators, faculty and students involving in Professional Curricula in Teachers Colleges in Bangkok Metropolis, during the second semester in the academic year 1985. Of 340 questionnaires sent, 296 or 87.00 percent were completed and returned. 2. The two types of research instruments were as follows: 2.1 The curriculum document analysis were consisted of table analysis of curriculum components, curriculum objectives, structural elements of curriculum and course contents. 2.2 Three sets of questionnaires in forms of checklist, rating scale and open-ended questions were used in collecting opinions and problems relative to the implementation of Professional Curricula in Teachers Colleges and recommendation to the identified problems. 3. Data were statistically analysis in forms of percentage, arithmetic means, standard deviation and frequencies. Findings: 1. From the curriculum document analysis, it was found that the curricula in Teachers Colleges in Bangkok Metropolis was broadly stated. The curricular documents did not cover all five aspects; only general objectives, structural elements of curricula and course contents were specified. And the curricular components in each curriculum was congruent with standard of Bachelor Degree level B.E. 2525 in the Ministry of University Affairs. 2. The findings from the questionnaires on the opinions of college administrators, faculty and students related to the Professional Curriculum were as follows : Administrators reported moderately high flexibility in assessment and evaluation. Supports and cooperation from both public and private entities were highly needs. Low suitability in budgething of teaching and learning as well as other supporting incomes were indicated. Faculty reported the following. Objectives of the curricula involved were moderately specified in clearity. Provision for taking major courses instead of practicum was rated at high level, whereas provision for not less than 4 credits of electives was at low level. Congruence between course contents and objectives were at moderate level, while service of course content in terms of student interests and needs was at low level. Faculty used practicum as teaching technique at high level while seminars, guest speakers and study tours were used at low level. Faculty assessed and evaluated students by theoretical testing at high level and no problems in assessment and evaluation was reported. Students indicated that they recived knowledge and skill from majors, assessed and evaluated by theoretically-based tests at high levels. However, oral tests, observation, discussions, seminars and practicum, quest lactures and study tours were at low levels. Recommendations: 1. Colleges need support and co-operation from both public and private entities regarding workshop facitities,and experts in teaching and learning assistance, thus, it is recommended to solve such problems by committees and individual college should not offer overlapping courses and outside assistance should be sought at minimum. 2. Colleges recive limited budget and other supporting enterprises are small, therefore, philanthropic grants as well as free tools and equipments should be sought. 3. Subject contents minimally serve the needs and interests of learners and not agreeable with curricular purposes. Faculty employs very little teaching methods of seminars, study tours, discussions and practicums, where as evaluation by theoretical tests was reported at maximum, it is therefore, recommended that faculty development regarding these drawbacks should be carried out. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56645 |
ISBN: | 9745675261 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Subongkot_ye_front.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Subongkot_ye_ch1.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Subongkot_ye_ch2.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Subongkot_ye_ch3.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Subongkot_ye_ch4.pdf | 6.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Subongkot_ye_ch5.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Subongkot_ye_back.pdf | 5.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.