Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56669
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพร พานโพธิ์ทอง-
dc.contributor.authorกมลวรรณ ปกรณ์ขจรนาวิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-01-03T04:33:35Z-
dc.date.available2018-01-03T04:33:35Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56669-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการถามในปริจเฉทการสัมภาษณ์รายการ "ถึงลูกถึงคน" ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากแผ่นดีวีดีการสัมภาษณ์จำนวน 9 ครั้ง จากการศึกษาปริบทการสัมภาษณ์ตามกรอบ Speaking ของ Hymes พบว่า รายการ "ถึงลูกถึงคน" มีปริบทที่แตกต่างกันโดยเฉพาะในส่วนของผู้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มด้วยกันคือ ผู้ให้สัมภาษณ์ที่ตกเป็นประเด็นข่าวในด้านลบ และผู้ให้สัมภาษณ์ที่ไม่ได้ตกเป็นประเด็นข่าวในด้านลบ ความแตกต่างดังกล่าวยังส่งผลให้น้ำเสียงหรือท่วงทำนองในการสื่อสาร วิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร บรรทัดฐานของปฏิสัมพันธ์และการตีความ รวมไปถึงการผสานด้านทัศนคติของคู่สนทนาแตกต่างกันด้วย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อกลวิธีการถามของผู้สัมภาษณ์ ผลการศึกษาเรื่องกลวิธีการถามพบว่า ผู้สัมภาษณ์ใช้กลวิธีการถามที่หลากหลายเพื่อให้ผู้ให้สัมภาษณ์สนองประเด็นการถาม กลวิธีการถามทั้งหมดที่พบมี 10 กลวิธี ได้แก่ 1) การถามในลักษณะยั่วยุอารมณ์ 2) การถามแย้ง 3) การรุกไล่ด้วยคำถามต่อเนื่อง 4) การเปลี่ยนคำถาม 5) การถามแบบชี้นำคำตอบ 6) การถามโดยใช้รูปประโยคขอร้อง 7) การถามในลักษณะสรุปประเด็น 8) การถามย้ำ 9) การถามโดยใช้ถ้อยคำสั้นๆ และ 10) การตั้งคำถามจากเหตุการณ์สมมติ กลวิธีการถามที่พบมากที่สุดในรายการ คือ การถามในลักษณะสรุปประเด็น กลวิธีการถามที่เป็นลักษณะเด่นในการสัมภาษณ์ผู้ให้สัมภาษณ์ที่ตกเป็นประเด็นข่าวในด้านลบ ได้แก่ การถามในลักษณะยั่วยุอารมณ์ การถามแย้ง การรุกไล่ด้วยคำถามต่อเนื่อง และการเปลี่ยนคำถาม ส่วนกลวิธีการถามที่เป็นลักษณะเด่นในการสัมภาษณ์ผู้ให้สัมภาษณ์ที่ไม่ได้ตกเป็นประเด็นข่าวในด้านลบ ได้แก่ การถามแบบชี้นำคำตอบ และการถามโดยใช้รูปประโยคขอร้อง ผลการศึกษาเรื่องกลวิธีทางภาษาอื่นๆ พบว่า ผู้สัมภาษณ์ใช้กลวิธีทางภาษาอื่นๆ หลายวิธีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรายการ กลวิธีทางภาษาอื่นๆ ที่พบมี 10 กลวิธี ได้แก่ 1) การใช้สำนวนและความเปรียบ 2) การกล่าวแย้ง 3) การตัดบท 4) การทวนคำตอบ 5) การแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกร่วมต่อเรื่องที่สัมภาษณ์ 6) การใช้กลวิธีความสุภาพเพื่อสร้างความสนิทสนม 7) การให้ผู้ให้สัมภาษณ์มีส่วนร่วมในการสร้างปฏิสัมพันธ์ 8) การแทรกหรือเสริมคำตอบ 9) การสรุปประเด็นการสัมภาษณ์ และ 10) การหยอกเย้าหรือการกล่าวติดตลก กลวิธีทางภาษาอื่นๆ ที่พบมากที่สุดในรายการ คือ การทวนคำตอบ ผลการศึกษาสนับสนุนสมมติฐานของงานวิจัยที่ว่า กลวิธีต่างๆ ที่นำมาใช้ในรายการนั้นเป็นไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ ...en_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims at examining questioning strategies adopted by the host of "Thueng Luk Thueng Khon". The elicited data includes 9 televised interviews. A contextual analysis based on Dell Hymes SPEAKING frame reveals that the guests of the program can be divided into 2 groups -- those who were the targets of media criticism and those who were not. The different groups of the hosts appeared to have the effect on the key of the interview as well as the strategy selection. It is found that the host adopted various questioning strategies to achieve the end of the program. The 10 questioning strategies adopted are 1) asking as provocation 2) stating counter evidence 3) using a follow-up question 4) restating a question 5) guiding to a certain answer 6) stating a request 7) using an information-checking question 8) repeating the question 9) using a short-question and 10) using a hypothetical question. The most preferred strategy used by the host was using an information-checking question. In the case where the guest was the target of media criticism, the strategies preferred were asking as provocation, stating counter evidence, using a follow-up question and restating a question, On the other hand, when the quest was form the other group, the most frequently used strategies were guiding to a certain answer and stating a request, Besides the questioning strategies, the host used other strategies to achieve the end of the program. The 10 strategies found in the data include 1) using idioms and metaphorical expressions 2) showing disagreement 3) cutting short the irrelevant answers 4) repeating the answer 5) expressing emotions or sympathy 6) using positive politeness 7) encouraging the guest to participate 8) showing support 9) summarizing and 10) teasing or joking. Among these strategies, the most preferred one appeared to be repeating the answer. The findings comply with the hypothesis that the strategies adopted in the program help achieve the objectives of the interview. These strategies lead to the "direct" and "aggressive" key of the interview which correlates to title "Thueng Luk Thueng Khon".en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.54-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectDiscourse analysisen_US
dc.subjectInterviewing -- Techniqueen_US
dc.subjectInterviewing on televisionen_US
dc.subjectThueng Luk Thueng Khon (Television programs)en_US
dc.subjectวจนะวิเคราะห์en_US
dc.subjectการสัมภาษณ์ -- เทคนิคen_US
dc.subjectการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์en_US
dc.subjectถึงลูกถึงคน (รายการโทรทัศน์)en_US
dc.titleกลวิธีการถามในปริจเฉทการสัมภาษณ์รายการ "ถึงลูกถึงคน"en_US
dc.title.alternativeQuestioning strategies in the interview discourse of "Thueng Luk Thueng Khon"en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNatthaporn.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.54-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kamonwan_pa_front.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
kamonwan_pa_ch1.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
kamonwan_pa_ch2.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open
kamonwan_pa_ch3.pdf9.82 MBAdobe PDFView/Open
kamonwan_pa_ch4.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open
kamonwan_pa_ch5.pdf975.96 kBAdobe PDFView/Open
kamonwan_pa_back.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.