Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56697
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทวัฒน์ บรมานันท์-
dc.contributor.authorวรัญญา ทัศนีศรีวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2018-01-04T03:36:38Z-
dc.date.available2018-01-04T03:36:38Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56697-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนด ผลการศึกษาพบว่า การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญไทยฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบันนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง เป็นช่วงที่รัฐธรรมนูญไทยให้อำนาจการตรวจสอบพระราชกำหนดแก่รัฐสภาเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามหลักความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (Supremacy of Parliament) ระยะที่สอง เป็นช่วงที่รัฐธรรมนูญไทยให้อำนาจการตรวจสอบพระราชกำหนดแก่รัฐสภาและคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และระยะที่สาม คือในช่วงของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งนอจากกำหนดให้พรราชกำหนดถูกตรวจสอบได้โดยรัฐสภาแล้ว ก็ยังกำหนดให้มี “องค์กรตุลาการ” ที่มีชื่อว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ขึ้นมาทำหน้าที่ในการตรวจสอบพระราชกำหนดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนดนั้นก็มีอยู่อย่างจำกัดเฉพาะแต่การตรวจสอบเงื่อนไขการตราพระราชกำหนดตามมาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก่อนที่พระราชกำหนดจะได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาตามมาตรา 219 และการตรวจสอบเนื้อหาของพระราชกำหนดภายหลังจากพระราชกำหนดนั้นได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาแล้วในฐานะบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามมาตรา 264 และตามมาตรา 198 ของรัฐธรรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เมื่อพิจารณาถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่กำหนดถึงการตรวจสอบพระราชกำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วพบว่า การตรวจสอบพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญเหล่านั้นยังไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอสำหรับการถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจในการตราพระราชกำหนดของฝ่ายบริหาร สมควรที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญโดยกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนดได้ทั้งในส่วนของเงื่อนไขและเนื้อหาของพระราชกำหนด ทั้งในช่วงเวลาก่อนและหลังการพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดโดยรัฐสภาen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis focuses on the judicial review of the constitutionality of the Emergency Decree. It is found in the study that the judicial review on constitutionality of the Emergency Decree in Thailand can be divided into 3 periods from the first Constitution to the present Constitution. In the first period, according to the doctrine of the Supremacy of Parliament, the Emergency Decree was reviewed by the Parliament only. In the second period, the Emergency Decree was reviewed by the Parliament and the Constitutional Tribunal. In the third period, not only was the Emergency Decree reviewed by the Parliament but also the Constitution of Thailand B.E. 2540 initiated the “Judicial organization” called “the Constitutional Court” to review the Emergency Decree. However, the Constitutional Court’s competence to review the constitutionality of the Emergency Decree was limited by the provision of article 219 of the Constitution, which allowed the Constitutional Court to review on the stipulations of the Emergency Decree, pursuant to paragraph 1 of article 218, before the Parliamentary approval it, and was limited by the provision of article 264 and article 198 of the Constitution, which allowed the Constitutional Court to review on the contents of the Emergency Decree after the Parliamentary approval it. Considering the provisions of all Thai Constitutions concerning the judicial review of the constitutionality of the Emergency Decree is insufficient for a check and balance when the Administration issues the Emergency Decree. The Constitution Court should have the competence to review the stipulations and contents of the Emergency Decree, before and after the approval of the Parliament. Consequently, the provisions of the Constitution of Thailand should be amended by restricting the competence of the Constitutional Court.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.941-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคณะตุลาการรัฐธรรมนูญen_US
dc.subjectอำนาจอธิปไตยen_US
dc.subjectรัฐธรรมนูญen_US
dc.subjectศาลรัฐธรรมนูญen_US
dc.subjectกฎหมายรัฐธรรมนูญ -- ไทยen_US
dc.subjectSovereigntyen_US
dc.subjectConstitutionsen_US
dc.subjectConstitutional courtsen_US
dc.subjectConstitutional law -- Thailanden_US
dc.titleการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนดen_US
dc.title.alternativeJudicial review on constitutionality of the emergency decreeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornantawat.b@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.941-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
varanya_ta_front.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
varanya_ta_ch1.pdf655.44 kBAdobe PDFView/Open
varanya_ta_ch2.pdf12.38 MBAdobe PDFView/Open
varanya_ta_ch3.pdf11.44 MBAdobe PDFView/Open
varanya_ta_ch4.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open
varanya_ta_ch5.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open
varanya_ta_ch6.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
varanya_ta_back.pdf690.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.