Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56724
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์การ
Other Titles: A Development of the causal models of organization commitment
Authors: เจตสุภา ลลิตอนันต์พงศ์
Advisors: เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: No information provided
No information provided
Subjects: ความผูกพัน -- การประเมิน
ความผูกพันต่อองค์การ -- การประเมิน
ความภักดีของลูกจ้าง -- การประเมิน
การสร้างมาตรวัด (สังคมศาสตร์)
Commitment (Psychology) -- Evaluation
Organizational commitment -- Evaluation
Employee loyalty -- Evaluation
Scaling (Social sciences)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรง ของโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์การ 2 โมเดลว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างไร โมเดลแบบ ก เป็นโมเดลที่มีอิทธิพลทางตรงแรงจูงใจจากความคาดหวังในงาน ไปความพึงพอใจในงานและจากความพึงพอใจในงานไปความผูกพันต่อองค์การ โมเดลแบบ ข เป็นโมเดลที่มีอิทธิพลทางตรงจากแรงจูงใจจากความคาดหวังในงานไปความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การและมีอิทธิพลทางตรงจากความพึงพอใจในงานไปความผูกพันต่อองค์การ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบโมเดลแข่งขัน (competitive models) ระหว่างโมเดลแบบ ก และ โมเดลแบบ ข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เภสัชกรปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 475 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝงและตัวแปรที่สังเกตได้ดังนี้คือ ตัวแปรภายในแฝง 2 ตัวแปร คือ ความพึงพอใจในงาน ประกอบด้วยตัวแปรที่สังเกตได้ 5 ตัวแปร คือ ลักษณะงาน ค่าตอบแทนโอกาสก้าวหน้า ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ตัวแปรแฝงความผูกพันต่อองค์การ ประกอบด้วยตัวแปรที่สังเกตได้ 3 ตัวแปร คือ ความผูกพันต่อองค์การด้านความรู้สึก ด้านความต่อเนื่อง และด้านบรรทัดฐานทางสังคม ตัวแปรภายนอกแฝง 1 ตัวแปร คือ แรงจูงใจจากความคาดหวังในงาน ประกอบด้วยตัวแปรที่สังเกตได้ 1 ตัวแปร คือผลคูณของความคาดหวังเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะสามารถทำงานให้สำเร็จกับผลรวมของผลคูณระหว่างความคาดหวังในโอกาสที่จะได้รับผลลัพธ์หรือผลตอบแทนกับความสำคัญของผลลัพธ์หรือผลตอบแทน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือมาตรประมาณค่า มีค่าสัมประสิทธิ์ค่วามเที่ยงตั้งแต่ .93-.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุความผูกพันต่อองค์การสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งสองโมเดล กล่าวคือ โมเดล ก (chi-square = 19.10, df=14,p = .16, GFI=.99, AGFI=.97, RMSEA=.02) ตัวแปรความผูกพันต่อองค์การ ในโมเดล ก ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรความพึงพอใจในงาน และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปร แรงจูงใจจากความคาดหวังในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และโมเดล ข (chi-square=27.95, df=18, p=.06 GFI=.99, AGFI=.97, RMSEA=.03) ตัวแปรความผูกพันต่อองค์การได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรความพึงพอใจในงานและได้รับอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมจากตัวแปรแรงจูงใจจากความคาดหวังในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ผลการเปรียบเทียบโมเดลเชิงสาเหตุความผูกพันต่อองค์การระหว่างโมเดลแข่งขันทั้ง 2 โมเดล พบว่า โมเดล ก และโมเดล ข มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เท่าเทียมกัน
Other Abstract: The purposes of this study were 1) To develop and validate the two causal models of organizational commitment. The model A has the direct effect form expectancy work motivation to job satisfaction and from job satisfaction to organizational commitment. The model B has the direct effects from expectancy work motivation to job satisfaction and organizational commitment and from job satisfaction to organizational commitment ; and 2) To examine the data and to compare the competitive models. The research sample consisted of 475 pharmacists working for consumer protection. The variables consisted of two endogenious latent variables : organizational commitment, which was measured from 3 indicators : affective commitment, continuous commitment and normative commitment, job satisfaction which was measured from 5 indicators : job characteristic, payment, advance opportunity, relationship with supervisors and co-workers and one exogenious latent variable : expectancy work motivation measuring from the product between expectancy, instrumentality and valence. Data were collected by likert scales. Reliability range from .93-.97. The data were analysed by using descriptive statistics, Independent t-test, Pearson’s product moment correlation, and LISREL analysis. The major findings were as follows: 1. The two causal models of organizational commitment were fit to the empirical data. The model A indicated that the chi-square=19.10, df=14, p=.16, GFI=.99, AGFI=.97, RMSEA=.28. The organizational commitment in the model had good significant direct effect from job satisfaction and indirect effect from expectancy work motivation. The model B indicated that chi-square=27.95, df=18, p=.06, GFI=.99, AGFI=.97, RMSEA=.03. Organizational commitment in the model had good significant direct effect from job satisfaction and direct and indirect effects from expectancy work motivation. 2. The comparison of the causal models of organizational commitment between the two competitive models indicated that the two models were equally fit to the empirical data.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56724
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
เจตสุภา ลลิตอนันต์พงศ์.pdf120.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.