Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56737
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุ-
dc.contributor.authorเสาวณี ทับเพชร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-01-09T07:04:43Z-
dc.date.available2018-01-09T07:04:43Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56737-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 29 สถาบัน โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวบ่งชี้และด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 14 คน และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้เรียน จำนวน 630 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 2 ฉบับ มีค่าความเที่ยงตั้งแต่ .892 - .982 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า มีตัวแปรที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวนทั้งสิ้น 55 ตัวแปร จากตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด 67 ตัวแปร ครอบคลุมองค์ประกอบหลักทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริบท ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ จำนวน 5 ตัว 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ จำนวน 14 ตัว 3) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 28 ตัว และ 4) ด้านผลผลิต ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 8 ตัว 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับขัอมูลเชิงประจักษ์ (X² =23.66, df=41, p=0.986, GFI=1.00, AGFI = 0.98, RMR = 0.0059) น้ำหนักองค์ประกอบย่อยทั้ง 16 องค์ประกอบ มีขนาดตั้งแต่ -0.38 – 1.00 โดยองค์ประกอบย่อยที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักของคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 4 ด้าน นั้น มีค่าเป็นบวก และมีขนาดตั้งแต่ 0.62 – 1.00 เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบริบท ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ตามลำดับ โดยองค์ประกอบในแต่ละด้านดังกล่าว มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.00, 0.93, 0.87 และ 0.62 ตามลำดับ และมีความแปรผันร่วมกับตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนโดยรวม ได้ร้อยละ 100, 86, 76 และ 39 ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop the indicators for the quality indicators for English instructional management in private higher education institutions and investigate the goodness of fit of the proposed model of quality indicators for English instructional management in private education to the empirical data. The participants in this research were 29 universities which instructional management of English were the samples. The representative for data collection comprised 2 groups which are 11 experts whose profession in educational indicators and English instruction, later, 3 experts and 630 executive universities, lecturers, and students from private higher education institutions. The research variables were quality indicators for English instructional management in private higher education institutions. The research tools were the 2 questionnaires. The reliability of questionnaire was between .892 - .982. Data was analyzed by descriptive statistics and confirmatory factor analysis and second order confirmatory factor analysis. The research results were as follow: 1) The results of confirmatory factor analysis were found. The quality indicators for English instructional management in private higher education institutions which were fitted to the empirical data consisted of 4 factors and 55 indicators from variables studied 67 indicators. The 4 factors consisted of 5 indicators of context, 14 indicators of input, 28 indicators of process and 8 indicators of output. 2) The results of second order confirmatory factor analysis of the model for the quality indicators for English instructional management in private higher education institutions were found. The model was fitted to the empirical data (X² = 23.66, df=41, p=0.986, GFI=1.00, AGFI = 0.98, RMR = 0.0059), factor loadings of 16 sub-factors were positive, their sizes were from -0.38-1.00. The higher factor loading sub-factors were achievement. Factor loadings of quality indicators for English instructional management in 4 main factors were positive, their sizes from 0.62-1.00. The high factor loading factors were input, context, process and output which have factor loading values were 1.00, 0.93, 0.87 and 0.62 respectively. The model accounted for 100%, 86%, 76% and 39% respectively of variance for the quality indicators for English instructional management in private higher education institutions.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectตัวบ่งชี้ทางการศึกษาen_US
dc.subjectการสอนในมหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- การบริหารen_US
dc.subjectCollege teachingen_US
dc.subjectEducational indicatorsen_US
dc.subjectEnglish language -- Study and teachingen_US
dc.subjectPrivate universities and colleges -- Administrationen_US
dc.titleการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนen_US
dc.title.alternativeThe development of quality indicators for english instructional management in private higher education institutionsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwannee.k@gmail.com-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
เสาวณี ทับเพชร.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.