Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56752
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทวิตีย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.author | มนัชยา ชมธวัช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-01-11T01:14:13Z | - |
dc.date.available | 2018-01-11T01:14:13Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56752 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การรวมแบบจำลองข้อมูลเป็นวิธีการอันมีประสิทธิภาพวิธีการหนึ่งที่จะทำให้สามารถใช้งานข้อมูลซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในแหล่งข้อมูลต่างแหล่งกันร่วมกันได้ ด้วยวิธีการนี้ผู้ใช้จะสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ในคราวเดียวกันโดยอาศัยการติดต่อที่จุดเดียว อย่างไรก็ตาม ความต่างแบบของข้อมูลที่นำมารวมทำให้ผู้รวมจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องและความต้องกันของข้อมูล ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งของความต่างแบบระหว่างแบบจำลองก็คือความความหมายที่ครบถ้วนของข้อมูลที่ได้รับการแสดงไว้ในแบบจำลอง เนื่องจากแบบจำลองข้อมูลเชิงวัตถุแสดงไว้เฉพาะความหมายของข้อมูลในเชิงโครงสร้าง (เช่น คลาส แอททริ-บิวต์และความสัมพันธ์ระหว่างคลาส) การจะแสดงความหมายอื่นเพิ่มเติม (เช่น ค่าข้อมูล หน่วยข้อมูล รวมถึงคำที่มีความหมายเหมือนกันและคำที่เป็นคำลูกกลุ่มกัน) จำเป็นต้องอาศัยวิธีการอื่นดังเช่น การอธิบายแบบจำลองข้อมูลด้วยออนโทโลจี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอแนวคิดใหม่ในการนำออนโทโลจีมาใช้รวมแบบจำลองข้อมูลเรียกว่า “แนวคิดแบบรวมหลายออนโทโลจี” ซึ่งเป็นวิธีการในการรวมแบบจำลองข้อมูลเชิงวัตถุสองชุดเข้าด้วยกันโดยอาศัยการวิเคราะห์จากออนโทโลจีที่แสดงแทนแบบจำลองข้อมูลแต่ละชุด ภายในงานวิจัยได้กำหนดให้นำออนโทโลจีมาใช้อธิบายความหมายของข้อมูลในแต่ละแบบจำลองข้อมูล จากนั้นออนโทโลจีจะถูกนำไปวิเคราะห์และเปรียบเทียบกันเพื่อตรวจสอบว่ามีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แล้วนำผลที่ได้มาสร้างเป็นออนโทโลจีรวม เพื่อจะนำมาใช้ในการสอบถามข้อมูลในระบบสารสนเทศรวม งานวิจัยนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า หากนำแบบจำลองข้อมูลที่ได้รับการอธิบายและแสดงแทนความหมายในรูปแบบที่เหมาะสมและเพียงพอ มารวมเข้าด้วยกันโดยใช้ขั้นตอนวิธีที่เหมาะสม จะทำให้ได้ระบบสารสนเทศรวมที่ถูกต้องและครบถ้วน | en_US |
dc.description.abstractalternative | Data model integration is an effective method to interoperate data that reside in different sources for the purpose of providing users with a single point of access to those data. Due to data heterogeneity, data correctness and consistency are significant for integration. Richer semantics of data is a major factor in resolving conflicts among heterogeneous data models. As object-oriented data model represents only schema-based semantics of data (e.g. classes, attributes, and class relationships), an alternative method such as ontology is useful for representing additional semantics (e.g. data values, data units, and synonym and hypernym lists). This thesis proposes a new approach to an ontology-based integration of data models, called “Integrated Multiple Ontology approach”, which provides a method for integrating two object-oriented data models by using an analysis of their ontologies. In this work, ontology will be used to describe semantics of data in each data model. Then the ontoloties are analysed and compared to determine their similarities and differences. The result of the comparison is used to devise an integrated ontology that will enable querying on the integrated information. This work is based on an assumption that the combination of a good knowledge representation that describes adequate semantics of the data model and a suitable integration algorithm leads to the correct and consistent integrated information system. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.380 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภววิทยา | en_US |
dc.subject | วิธีเชิงวัตถุ (วิทยาการคอมพิวเตอร์) | en_US |
dc.subject | อาร์ดีเอฟ (ภาษาคอมพิวเตอร์) | en_US |
dc.subject | Ontology | en_US |
dc.subject | Object-oriented methods (Computer science) | en_US |
dc.subject | RDF (Document markup languages) | en_US |
dc.title | การรวมแบบจำลองข้อมูลเชิงวัตถุโดยการสร้างออนโทโลจีรวมจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคลาสและการกำกับลงบนแบบจำลอง | en_US |
dc.title.alternative | Integrating object-oriented data models by constructing an integrated ontology from an analysis of class relationships and annotating onto the models | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Twittie.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.380 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
manachaya_ja_front.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
manachaya_ja_ch1.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
manachaya_ja_ch2.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
manachaya_ja_ch3.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
manachaya_ja_ch4.pdf | 4.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
manachaya_ja_ch5.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
manachaya_ja_ch6.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
manachaya_ja_ch7.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
manachaya_ja_back.pdf | 6.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.