Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56771
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอำไพ ตีรณสาร-
dc.contributor.authorจันทิมา ปกครอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-01-12T01:07:08Z-
dc.date.available2018-01-12T01:07:08Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56771-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractศึกษาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างประชากรคือ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 120 คน และผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนการสอนด้านทัศนศิลป์ และด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยแบบสอบถามจากครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ พบว่า 1) ด้านหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ข้อที่มีความเห็นด้วยมากที่สุดคือ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่าเป็นผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ 2) ด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ข้อที่มีความเห็นด้วยมากที่สุดคือ เป็นการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 3) ด้านองค์ประกอบการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย 1. วัตถุประสงค์ 2. เนื้อหาวิชา 3. วิธีการสอน 4. สื่อการสอน และ 5. การวัดและประเมินผล พบว่า มีความเห็นด้วยในระดับมาก ในทุกองค์ประกอบ ผลการวิจัยแบบสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยใช้คอมพิวเตอร์มีความตรงตามหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 2) การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ สามารถใช้ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ 3) ด้านองค์ประกอบการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย 1. วัตถุประสงค์ 2. เนื้อหาวิชา 3. วิธีการสอน 4. สื่อการสอน และ 5. การวัดและประเมินผล มีความเห็นว่าคอมพิวเตอร์สามารถนำมาใช้ได้ในทุกองค์ประกอบ ของการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ สรุปได้ว่ากลุ่มประชากรทั้งสองกลุ่ม เห็นว่าการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์โดยใช้คอมพิวเตอร์ ในโรงเรียนประถมศึกษา สามารถนำมาใช้ได้อย่างครอบคลุมองค์ประกอบการเรียนการสอนทุกด้าน และเสนอว่าทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้สอนและการสนับสนุนจากโรงเรียน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.abstractalternativeTo study the instructional management of Visual Arts Strands in Art Subject Area by using computer in elementary schools under Bangkok Metropolitan Administration. The sample groups composed of 120 visual art teachers in elementary schools and 10 visual art educators and computer experts. The instruments included the questionnaire and the interview. The data were analyzed by means of percentage, the mean score, and the standard deviation. The results from the questionnaire are as follows 1) Based on the 2001 Basic Education Curriculum : the art teachers showed the highest agreement that the curriculum encouraged students to develop life-long learning by applying the student-centered approach to develop the individuals in according to their potentials. 2) For the Visual Arts Strands in Art Subject Area : the art teachers showed the highest agreement that the visual art education by using computer encouraged students to produce art works from their imagination. 3) For elements of the instructional management in art education including 1. the objectives 2. the content 3. the teaching method 4. teaching media and 5. evaluation. It was found that the art teachers showed the highest agreement in all elements. The results from the interviews were as follows 1) The instructional management of based on the 2001 Basic Education Curriculum, the use of computer proved to be satisfactory and matched with the curriculum. 2) The instructional management of Visual Arts Strands in Art Subject Area, the computer could be used in all learning standards in art education. 3) For elements of the instructional management in art education including 1. the objectives 2. the content 3. the teaching method 4. teaching media and 5. evaluation. It was suggested that the use of computer can be applied to all elements in visual art education. In conclusion, all the sample groups agreed upon the instructional management of the Visual Arts Strands in Art Subject Area by using computer to all aspects of teaching art. They suggested that it would depend upon the instructors' potential and the schools' support.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.668-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษาขั้นประถมen_US
dc.subjectศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)en_US
dc.subjectคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนen_US
dc.subjectEducation, Elementaryen_US
dc.subjectArt -- Study and teaching (Elementary)en_US
dc.subjectComputer-assisted instructionen_US
dc.titleการศึกษาการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeStudy of the instructional management of visual arts strands in art subject area by using computer in elementary schools under Bangkok Metropolitan Administrationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorIntira.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.668-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
juntima_po_front.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
juntima_po_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
juntima_po_ch2.pdf8.53 MBAdobe PDFView/Open
juntima_po_ch3.pdf758.05 kBAdobe PDFView/Open
juntima_po_ch4.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
juntima_po_ch5.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open
juntima_po_back.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.