Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5683
Title: ความสามารถของกล้าไม้โกงการใบใหญ่ Rhizophora mucronata Lamk. และแสมทะเล Avicernia marina (Forsk.) Vierh. ในการบำบัดน้ำเสียชุมชน ในดินป่าชายเลนที่มีโครงสร้างต่างกัน
Other Titles: Ability of Rhizophora mucronata Lamk. and Avicernia marina (Forsk.) Vierh. seeding for municipal sewage treatment in different mangrove soil textures
Authors: ปิยวรรณ สายมโนพันธ์
Advisors: กนกพร บุญส่ง
สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: kanokporn.b@chula.ac.th
Psomkiat@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสียชุมชน
น้ำเสีย -- การบำบัด
ป่าชายเลน
การบำบัดโดยพืช
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาความสามารถของกล้าไม้โกงกางใบใหญ่และแสมทะเล ในการบำบัดน้ำเสียชุมชนในดินป่าชายเลนที่มีโครงสร้างต่างกัน แบ่งชุดการทดลองดินเป็น 4 อัตราส่วน คือ ดินเลน ดินเลน:ทราย (3:1) ดินเลน:ทราย (2:2) และดินเลน:ทราย (1:3) ในแต่ละชุดปลูกกล้าไม้ คือ แสมทะเล โกงกางใบใหญ่ และไม่ปลูกพืช ผลการศึกษาพบว่าความสามารถในการบำบัดน้ำเสียชุมชนในชุดการทดลองดินทั้ง 4 อัตราส่วน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และชุดการทดลองที่ปลูกพืชทั้งกล้าไม้โกงกางใบใหญ่และแสมทะเล สามารถบำบัดน้ำเสียชุมชนได้ดีกว่าชุดการทดลองซึ่งไม่ปลูกพืช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<=0.05) โดยกล้าไม้โกงกางใบใหญ่สามารถกำจัดบีโอดี 59.60-72.08% แอมโมเนีย-ไนโตรเจน 84.47-89.46% ไนไตรท์-ไนโตรเจน 57.61-66.89% ไนเตรท-ไนโตรเจน 59.09-67.90% ไนโตรเจนทั้งหมด 64.64-72.47% ออร์โธฟอสเฟต 51.49-68.30% และฟอสฟอรัสทั้งหมด 53.77-63.06% ส่วนกล้าไม้แสมทะเลสามารถกำจัดบีโอดี 62.31-66.32% แอมโมเนีย-ไนโตรเจน 80.23-84.47% ไนไตรท์-ไนโตรเจน 52.29-66.64% ไนเตรท-ไนโตรเจน 55.61-69.20% ไนโตรเจนทั้งหมด 64.44-70.08% ออร์โธฟอสเฟต 48.57-60.49% และฟอสฟอรัสทั้งหมด 51.40-62.68% สำหรับในชุดการทดลองที่ไม่ปลูกพืชสามารถกำจัดบีโอดี 48.53-57.58% แอมโนเนีย-ไนโตรเจน 58.69-75.71% ไนไตรท์-ไนโตรเจน 38.03-58.43% ไนเตรท-ไนโตรเจน 37.07-48.64% ไนโตรเจนทั้งหมด 53.28-58.83% ออร์โธฟอสเฟต 43.30-54.77% และฟอสฟอรัสทั้งหมด 48.58-58.67% การศึกษาสมบัติของดินพบว่าปริมาณไนโตรเจน ในชุดการทดลองดินทั้งหมดหลังการทดลองไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะมีปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<=0.05) และมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงที่สุดในดินเลน สำหรับการศึกษากล้าไม้พบว่าโกงกางใบใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโต และการเพิ่มพูนมวลชีวภาพสูงที่สุดในดินเลน รองลงมา คือ ดินเลน:ทราย (3:1) ดินเลน:ทราย (2:2) และดินเลน:ทราย (1:3) ตามลำดับ และมีปริมาณธาตุอาหารในใบหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<=0.05) ส่วนแสมทะเลจะมีอัตราการเจริญเติบโต และการเพิ่มพูนมวลชีวภาพต่ำที่สุดในดินเลน แต่ในชุดการทดลองอื่นจะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าทั้งโกงกางใบใหญ่และแสมทะเล สามารถช่วยในการบำบัดน้ำเสียชุมชนได้ดี โดยพบว่าในชุดการทดลองที่ปลูกกล้าไม้ทั้ง 2 ชนิดสามารถเพิ่มเปอร์เซ็นต์การกำจัดธาตุอาหาร จากน้ำเสียชุมชนได้มากขึ้น
Other Abstract: Ability of Rhizophora mucronata and Avicennia marina seedling for municipal sewage treatment in different mangrove soil textures were designed using 4 experiment soil textures; soil, soil:sand (3:1), soil:sand (2:2) and soil:sand (1:3) and 2 species of mangrove seedling (R. mucronata) and A. marina) and a control without plant. Comparative ability of municipal sewage treatment by 2 species of mangrove seedling in different soil texture indicated that ability of municipal sewage treatment in 4 experiment soil had no significant differences and R. mucronata and A. marina can treated municipal sewage better than those of no plant experiment (p<=0.05). R. mucronata can remove BOD 59.60-72.08%, Ammonia-Nitrogen 84.47-89.46%, Nitrite-Nitrogen 57.61-66.89%, Nitrate-Nitrogen 59.09-67.90%, Total Nitrogen 64.64-72.47%, Ortho-phosphate 51.49-68.30% and total phosphorus 53.77-63.06%. A. marina can remove BOD 62.31-66.32%, Ammonia-Nitrogen 80.23-84.47%, Nitrite-Nitrogen 52.29-66.64%, Nitrate-Nitrogen 55.61-69.20%, TotalNitrogen 64.44-70.08%, Ortho-Phosphate 48.57-60.49% and Total Phosphorus 51.40-62.68%. And no plant growing can remove BOD 48.53-57.58%, Ammonia-Nitrogen 58.69-75.71%, Nitrite-Nitrogen 38.03-58.43%, Nitrate-Nitrogen 37.07-48.64%, Total Nitrogen 53.28-58.83%, Ortho-Phosphate 43.30-54.77% and Total Phosphorus 48.58-58.67%. Total nitrogen in all soil textures had no change after the experiment, but total phosphorus significantly increased after the experiment (p<=0.05), the highest organic matter was found in soil. The highest growth rate and biomass increment or R. mucronata was found in soil experiment, followed with soil:sand (3:1), soil:sand (2:2) and soil:sand (1:3), respectively, and nutrients in leaf significanty increased after the experiment (p<=0.05). The growth rate and biomass of A. marina are the lowest in soil while there is no significant for all another experiments. The results suggested that municipal sewage nutrients can be satisfied removed with R. mucronata and A. marina. The experiments with plants showed higher percent removal of nutrients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5683
ISBN: 9741308205
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.