Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56848
Title: สภาพและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: State and problems of curriculum development relevant to the local needs of offices under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission
Authors: วราภรณ์ บางเลี้ยง
Advisors: สวัสดิ์ จงกล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
การศึกษาขั้นประถม -- หลักสูตร
โรงเรียนประถมศึกษา
การศึกษา -- หลักสูตร
การวางแผนหลักสูตร
The National Primary Education Commission
Education, Elementary -- Curricula
Elementary schools
Education -- Curricula
Curriculum planning
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด จำนวน 73 จังหวัด สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ จำนวน 286 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 400 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้ การศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร พบว่า ทุกหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ มีการดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรในเนื้อหาที่ตรงกัน และมีการดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อที่จะนำไปสู่การนำหลักสูตรไปใช้มากกว่าจะเป็นการวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อที่จะปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น พบว่า มีการดำเนินงานในลักษณะของการถ่ายทอดความรู้จากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ลงไปตามลำดับจนถึงโรงเรียน กลุ่มประสบการณ์ที่ปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นส่วนใหญ่ได้แก่ กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ซึ่งเป็นการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร การบริหารการใช้หลักสูตร พบว่า มีการปฏิบัติงานที่รองรับกันมาเป็นลำดับในเรื่องของการจัดอบรม และการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ได้แก่ทักษะในการพัฒนาหลักสูตรของบุคลากรที่เกี่ยวข้องและแหล่งความรู้
Other Abstract: The purpose of this research was to study situations and problems concerning the execution of elementary school curriculum B.E. 2521 (Revised B.E. 2533) to suit local needs and situations conducted by subsidiary units under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission. Research population and samples were the Office of the National Primary Education Commission, 73 offices of provincial primary education, 286 offices of district primary education, and 400 primary schools. Questionnaire was used as research instrument. Frequency count and percentage were used for data analysis. Research findings were as follows 1) Curriculum studies and analysis. It was found that all subsidiary units under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission carried out curriculum studies with a view to clarify themselves about curriculum direction as well as conducted curriculum analysis to upgrade effectives curriculum utilization rather than for curriculum modification to suit local situations and need. 2) Curriculum development to suit local situations and needs. It was found that the majority of subsidiary units carried out this function mostly similar to the instruction given by the Office of the National Primary Education Commission. The learning experience area widely modified to suit local situations and needs was the work experience area by diversifying instructional activities/co-curricular activities. 3) Administration of curriculum implementation. It was found that most subsidiary units organized meetings/workshops and sending teachers/responsible personnel to undergo training concerning curriculum implementation. The other measures were informing public about the current curriculum and supervision/following up curriculum implementation. 4) Identified problems. It was found that problems mostly found was responsible personnel’s inadequate skills for curriculum development as well as scarcity of local resources for assisting effective curriculum development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56848
ISBN: 9745814458
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_ba_front.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ba_ch1.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ba_ch2.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ba_ch3.pdf634.76 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ba_ch4.pdf9.91 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ba_ch5.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ba_back.pdf7.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.