Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56864
Title: タイ人日本語学習者の日本語就職用自己PR文の分析 ─ 日本人学生との比較 ─
Other Titles: จดหมายแนะนำตนเองที่เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นในการสมัครงาน : การศึกษา เปรียบเทียบระหว่างผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยกับนักศึกษาชาวญี่ปุ่น
Authors: Koyama, Koki
Advisors: กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ คุตะกิริ
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Arts
Advisor's Email: No information provided
Subjects: Japanese language -- Writing
Japanese language -- Usage
Letter writing
Applications for positions
ภาษาญี่ปุ่น -- การเขียน
ภาษาญี่ปุ่น -- การใช้ภาษา
การเขียนจดหมาย
การสมัครงาน
Issue Date: 2014
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: 本研究は、タイ人大学生日本語学習者(T)および日本人大学生(J)が書いた日本語就職用自己PR文を比較し、何をどのような形式でPRしているのかを明らかにする。データは、実際の応募に用いられた、または実際の授業で提出された就職用自己PR文で、T58人およびJ42人が書いた合計100編の文章を電子化したものである。データを分析し、主に次の5つの結果を得た。①「自己PRの話題」の出現傾向はT、Jデータ間で似ていた。②「自己PRの対象」の出現傾向はT、Jデータ間で異なっていた。Tデータは「主観的能力」がJデータの約2.5倍現れた。Jデータは「考え方」がTデータの約2倍現れた。③本研究では、約5人に1人以上に用いられた語を「多用された語」と定めた。「多用された語」は、Tデータが36語、Jデータが39語であった。このうち約半数は共通の語ではなかった。「多用された語」は、T、Jデータ共にデータ全体の約85%の文で現れた。④「可能表現の使われ方」はT、Jデータ間で異なっていた。Tデータは、潜在的に可能なことを表す表現がJデータの約2倍現れた。Jデータは、実現したことを表す表現がTデータの約2倍現れた。⑤「多用された語」のT、Jデータ間の違いは、「自己PRの対象」の違いと傾向が一致していた。これらの結果から、自己PR文で「多用された語」は、「自己PRの対象」を判断させた主な要因になっていたと考える。
Other Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการเลือกหัวข้อเพื่อนำมา แนะนำตนเอง และการใช้รูปแบบภาษาและสำนวนในจดหมายแนะนำตนเองที่เขียนเป็นภาษา ญี่ปุ่นในการสมัครงาน ระหว่างผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย (ต่อจากนี้จะเรียกว่า T) กับนักศึกษา ชาวญี่ปุ่น (ต่อจากนี้จะเรียกว่า J) ข้อมูลที่ใช้คือจดหมายแนะนำตนเองของ T และ J จำนวน ทั้งสิ้น 100 ฉบับ ซึ่งมีทั้งจดหมายที่ใช้ในการสมัครงานจริงกับจดหมายที่ส่งในชั้นเรียนจริง แบ่ง เป็นของ T จำนวน 58 ฉบับและของ J จำนวน 42 ฉบับ จากผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า (1) แนวโน้มของ “หัวข้อ” ที่ T และ J เลือกใช้ในการแนะนำตนเองมีความคล้ายคลึงกัน (2) แนวโน้ม ของ “จุดเด่นในการนำเสนอตนเอง” ที่ T และ J เลือกใช้ในการแนะนำตนเองมีความแตกต่างกัน โดย T จะนำเสนอเกี่ยวกับ “ความสามารถของตนที่อยากจะนำเสนอ” ประมาณ 2.5 เท่าของ J ขณะที่ J จะนำเสนอเกี่ยวกับ “วิธีคิดของตน” ประมาณ 2 เท่าของ T (3) มีความแตกต่างในเรื่อง ของ “คำที่ถูกใช้บ่อย” “คำที่ถูกใช้บ่อย” หมายถึงคำที่มีผู้ใช้มากกว่า 1 ใน 5 คน งานวิจัยนี้พบว่า ในข้อมูลของ T มี “คำที่ถูกใช้บ่อย” ทั้งหมด 36 คำขณะที่ข้อมูลของ J มี “คำที่ถูกใช้บ่อย” ทั้งหมด 39 คำ โดยประมาณกึ่งหนึ่งของคำเหล่านี้ทั้งสองกลุ่มไม่ได้ใช้ร่วมกัน และ “คำที่ถูกใช้บ่อย” นี้มี การใช้ในประโยคของทั้งข้อมูลของ T และข้อมูลของ J ประมาณร้อยละ 85 (4) แนวโน้มของ “กริยารูปสามารถ” ที่ T และ J เลือกใช้มีความแตกต่างกัน โดยข้อมูลของ T มีสำนวนที่แสดง “ความสามารถในเชิงลักษณะนิสัยหรือสภาพที่ติดตัว” ประมาณ 2 เท่าของ J ขณะที่ J มีสำนวน ที่แสดง “ความสามารถในเชิงพฤติกรรมหรือเหตุการณ์เป็นครั้ง ๆ ไป” ประมาณ 2 เท่าของ T (5) แนวโน้มของความแตกต่างเรื่อง “คำที่ถูกใช้บ่อย” ของ T และ J เหมือนกับแนวโน้มของ ความแตกต่างเรื่อง “จุดเด่นในการนำเสนอตนเอง” ซึ่งจากผลลัพธ์ดังกล่าวนี้แสดงแนวโน้มว่า “คำที่ถูกใช้บ่อย” อาจเป็นปัจจัยหลักในการตัดสิน “จุดเด่นในการนำเสนอตนเอง”
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2014
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Japanese
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56864
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.444
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.444
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580111022.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.