Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56894
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีชา คุวินทร์พันธุ์-
dc.contributor.authorวิชญ์จำเริญ มณีแสง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-02-02T03:02:14Z-
dc.date.available2018-02-02T03:02:14Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56894-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของนักศึกษาพยาบาลชาย คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยมิชชัน ก่อนที่จะเข้าศึกษา ระหว่างศึกษา และหลังสำเร็จการศึกษาเป็นพยาบาลชายแล้ว การวิจัยเรื่องนี้ใช้กลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาลชาย 16 คน ประกอบกับนักศึกษาพยาบาลหญิงชั้นปีที่ 4 จำนวน 3 คน และอาจารย์พยาบาลอีก 1 ท่าน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาในการรวบรวมข้อมูล คือ เทคนิคการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมการสังเกตทั่วไป การสัมภาษณ์ประวัติชีวิต และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของนักศึกษาพยาบาลชายสามารถสรุปได้เป็น 3 ขั้นตอนต่อเนื่อง คือ ขั้นตอนที่ 1 การเริ่มต้นของกระบวนการก้าวเข้าสู่คณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการได้เรียนรู้และได้รับชุดข้อมูลที่สร้างทัศนคติเชิงบวกต่อาชีพพยาบาล จากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับครอบครัวเครือญาติที่มีสมาชิกอยู่ในแวดวงทางการพยาบาล หรือจากกลุ่มบุคคลแวดล้อมที่อยู่ในสายงานทางการพยาบาล ที่ชี้ให้เห็นข้อดีคือ การมีงานรองรับ มีรายได้สูง มีเกียรติและความมั่นคงทางอาชีพ ขั้นตอนที่ 2 คือกระบวนการเรียนรู้ ขัดเกลา และปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่ เป็นการขัดเกลาของตัวแทนหรือกลุ่มปฏิสัมพันธ์ในคณะพยาบาลศาสตร์ ที่มีบทบาทสำคัญมากในฐานะเป็นกลไกให้นักศึกษาพยาบาลชายสามารถเปลี่ยนบทบาทเดิมมารับบทบาทใหม่ สร้างการเรียนรู้ พัฒนาทัศนคติ ค่านิยม และปรับวิถีชีวิตรวมถึงแบบแผนพฤติกรรมให้เข้ากับริบทแห่งการพยาบาล ซึ่งผลแห่งการปฏิสัมพันธ์เหล่านี้มีส่วนต่อการสร้างบทบาทและเตรียมความพร้อมก่อนเป็นพยาบาลอาชีพต่อไป และขั้นตอนที่ 3 คือกระบวนการยอมรับและการครองบทบาทพยาบาลชาย ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่นักศึกษาพยาบาลชายสามารถมองตนเองว่าเป็นผู้มี "ตัวตนแห่งการเป็นพยาบาล" มองว่าอาชีพพยาบาลไม่ใช่เป็นเพียงตำแหน่งที่ต้องเล่นไปตามบทบาท แต่ความเป็นพยาบาลอาชีพซึมซับเข้าไปในระบบคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับในการเป็นพยาบาลชาย จากการได้ปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในสายงานทางการพยาบาลen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to study the process of how identity formation was created before, during, and after male nursing students graduated from the nursing faculty. The population of the study consisted of 16 male nursing students, 3 forth year female nursing students, and 1 faculty member. The researcher received the data from using participant observation, observation, life history interview, and structure interview techniques. The research result showed that the male nursing students went through three stages in creating the process of identity formation-that is stage 1: the beginning of the motivation that encourages one to study nursing. In this stage it comprises of the positive attitudes toward nursing career through agency such as cousin's opinion, society as a whole, and people who are in this industry. Stage 2: the learning, socialization and adaptive stage where male nursing students have to adapt themselves to the new culture through agency namely. Socialization representative and people in the nursing faculty. These latter agencies are very important to the identity formation process. This is because they help the male nursing students transform their identities into a full form of male nurses' identity. Through this stage male nursing students will learn to incorporate new attitude, values, and lifestyle, including their behaviors to fit with the nursing career. The outcome of this will help them in preparing and adjusting themselves for future use in being nurses. The third stage is the stage of self acceptance and role transformation in being male nurses. In this stage the male nursing students will view themselves as a nurse. They will perceive that nursing career is not a role, but rather is in their thinking system, beliefs, values, and experiences they absorbed through interacting with others in the nursing industry.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.285-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพen_US
dc.subjectสังคมประกิตen_US
dc.subjectอัตลักษณ์en_US
dc.subjectการพยาบาล -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)en_US
dc.subjectวิทยาลัยมิชชั่น -- นักศึกษาen_US
dc.subjectSocializationen_US
dc.subjectProfessional socializationen_US
dc.subjectNursing -- Study and teachingen_US
dc.subjectIdentity (Philosophical concept)en_US
dc.subjectMission College -- Studentsen_US
dc.titleการสร้างอัตลักษณ์ของนักศึกษาพยาบาลชายในคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยมิชชั่นen_US
dc.title.alternativeIdentity formation of male nursing students in Faculty of Nursing, Mission Collegeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameมานุษยวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมานุษยวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPreecha.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.285-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vitjamroen_ma_front.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
vitjamroen_ma_ch1.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
vitjamroen_ma_ch2.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
vitjamroen_ma_ch3.pdf24.1 MBAdobe PDFView/Open
vitjamroen_ma_ch4.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open
vitjamroen_ma_ch5.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
vitjamroen_ma_back.pdf842.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.