Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/568
Title: | การศึกษาเชิงประจักษ์ในประเทศไทย เกี่ยวกับทางเลือกในการกำหนดโครงสร้างเงินทุน โดยพิจารณาถึงสภาวะทางเศรษฐกิจ ลักษณะเฉพาะของกิจการ และข้อจำกัดทางการเงิน |
Other Titles: | An empirical study of capital structure choice : macroeconomic condition, firm-specific and financial constraints in Thailand |
Authors: | รจเรข กัลปากรณ์ชัย, 2521 |
Email: | Sunti.T@Chula.ac.th |
Advisors: | สันติ ถิรพัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
Subjects: | ทุน (เศรษฐศาสตร์)--ไทย การระดมเงินทุน--ไทย |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาบทบาทปัจจัยสภาวะทางเศรษฐกิจมหภาค และปัจจัยคุณลักษณะเฉพาะของกิจการที่มีผลต่อ การกำหนดสัดส่วนโครงสร้างเงินทุนเป้าหมาย และศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์ สำหรับการระดมทุนเพิ่ม กิจการตัวอย่างที่ศึกษาเป็นกิจการที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยกเว้นกิจการในภาคการเงิน ช่วงระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2544 ซึ่งกิจการตัวอย่างที่ศึกษาถูกแบ่งออก ตามระดับข้อจำกัดทางการเงินที่กิจการต้องเผชิญ วิธีการวิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลภาคตัดขวางเข้ามาช่วย ในกระบวนการวิจัยทั้งสองขั้น โดยในกระบวนการขั้นแรกอาศัยการวิเคราะห์ความถดถอย โดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ส่วนในกระบวนการขั้นที่สองใช้การวิเคราะห์ความถดถอยโดยวิธีโลจิต (Logit regression) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสภาวะทางเศรษฐกิจมหภาค มีผลกระทบต่อการกำหนดสัดส่วนโครงสร้างเงินทุน โดยกลุ่มกิจการที่เผชิญกับข้อจำกัดทางด้านการเงิน มีการกำหนดระดับสัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ที่เหมาะสม แปรผันตามสภาวะทางเศรษฐกิจมหภาค ในขณะที่กลุ่มกิจการที่ไม่ได้เผชิญกับข้อจำกัดทางด้านการเงิน กำหนดระดับสัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ที่เหมาะสม แปรผกผันกับสภาวะทางเศรษฐกิจมหภาค สำหรับการพิจารณาตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์ที่จะใช้ สำหรับการระดมทุนเพิ่มนั้น การศึกษานี้พบว่า นอกเหนือไปจากปัจจัยทางด้านสภาวะเศรษฐกิจมหภาค ที่มีผลต่อการพิจารณาตัดสินใจของทั้งสองกลุ่มแล้ว ในกรณีของกิจการที่เผชิญกับข้อจำกัดทางการเงินนั้น ปัจจัยความแตกต่างของระดับสัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ ที่เกิดขึ้นจริงกับระดับหนี้สินต่อสินทรัพย์ที่เหมาะสม และปัจจัยคุณลักษณะเฉพาะของกิจการ ก็มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการระดมทุนเพิ่มของกิจการ ในกรณีของประเทศไทยนั้นพบว่า ในประเด็นการตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์สำหรับการระดมทุนเพิ่มนั้น ผู้บริหารทางการเงินไม่ได้พยายาม ที่จะปรับสัดส่วนโครงสร้างเงินทุน ให้เข้าสู่ระดับสัดส่วนโครงสร้างเงินทุนเป้าหมาย โดยผลที่ได้นี้ไม่สอดคล้องกับงานศึกษาในตลาดทุนที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากการตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์สำหรับการระดมทุนเพิ่ม ของกิจการอาจจะต้องเผชิญกับอุปสรรค ทางด้านต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการจัดหาเงินทุน และต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเงินทุน ซึ่งจะมีผลทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ของกิจการ ผันผวนออกจากระดับสัดส่วนหนี้สินเป้าหมายได้ตลอดเวลา |
Other Abstract: | To investigate the roles of macroeconomic conditions and firm-specific variables on the establishment of a target capital structure of the firms. We also study the behavior of firms in choosing the type of security to issue. Our sample group comprises the data on non-financial firms listed in The Stock Exchange of Thailand. The time period lasts from 1995 to 2001. These firms are categorized into two groups according to a measure of financial constraints. For the research methodology, we adopt the cross-sectional regression approach to assist the two-stage procedure, which consists of the OLS and the logit regression. The result of the study shows that macroeconomic conditions significantly affect the capital structure decision of the firms. The target leverage is pro-cyclical for the relatively constrained sample but counter-cyclical for the relatively unconstrained sample. This study find that, in addition to the macroeconomic factors that affected the choice of what type of security to issue in both groups, the issue choice for the constrained firms is also related to deviations from the target capital structure and firm-specific variables. For the Thai capital market, financial managers tend not to issue the new securities with the aim of adjusting the capital structure to converge to its optimal level. This result contradicts the study in the developed market, probably due to the transaction and adjustment costs prevailing in the emerging market. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การเงิน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/568 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.422 |
ISBN: | 9741715846 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.422 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rosjarek.pdf | 758.04 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.