Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56961
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorชนาธิป ทุ้ยแป-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-02-06T08:15:03Z-
dc.date.available2018-02-06T08:15:03Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56961-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน 2) วิเคราะห์คุณภาพในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในแต่ละระดับความเชี่ยวชาญหรือวิทยฐานะ 3) ศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการดำเนินงานของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนตามระดับความเชี่ยวชาญหรือวิทยฐานะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) ศึกษาประสิทธิผลของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ตามระดับความเชี่ยวชาญของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัย สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ 1. สมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สามารถแบ่งออกเป็น 2 สมรรถนะหลัก ได้แก่ สมรรถนะหลัก ซึ่งประกอบไปด้วย 5 สมรรถนะย่อย ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ จิตบริการ การพัฒนาตนเอง การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน และประสานความร่วมมือในการทำงาน และสมรรถนะตามสายงาน ประกอบไปด้วย 6 สมรรถนะย่อย ได้แก่ การออกแบบการเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียน การพัฒนาผู้เรียนความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และความสามารถในการทำวิจัย 2. คุณภาพในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับเชี่ยวชาญพิเศษ คือ มีงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการศึกษา มีแผนการสอนที่คุณภาพและมีการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ มีนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาจากทฤษฎีใหม่ มีคลังเครื่องมือในการวัดผล และเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการในระดับชาติ รวมทั้งนักเรียนที่สอนมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 คุณภาพในการปฏิบัติงานของครูระดับเชี่ยวชาญ คือ มีงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มีแผนการสอนที่มีคุณภาพและมีการบูรณาการภายในกลุ่ม มีนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและแปลกใหม่ มีเครื่องมือวัดผลที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ และเป็นสมาชิกเครือข่ายทางวิชาการระดับจังหวัด รวมทั้งนักเรียนที่สอนมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 คุณภาพในการปฏิบัติงานของครูระดับชำนาญการพิเศษ คือ มีงานวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ มีแผนการสอนที่มีคุณภาพ มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ มีเครื่องมือวัดผลที่มีคุณภาพ และเป็นสมาชิกเครือข่ายทางวิชาการระดับเขตพื้นที่ รวมทั้งมีนักเรียนที่สอนมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 คุณภาพในการปฎิบัติงานของครูระดับชำนาญการ คือ มีงานวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นระบบ มีแผนการสอนที่สอดคล้องหลักสูตร มีนวัตกรรมที่เหมาะสมกับเนื้อหามาใช้ในห้องเรียน มีเครื่องมือวัดผลที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการวัด และเป็นสมาชิกเครือข่ายทางวิชาการในระดับกลุ่มโรงเรียน รวมทั้งมีนักเรียนที่สอนมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และคุณภาพในการปฏิบัติงานของครูระดับปฏิบัติการ คือ มีงานวิจัยในชั้นเรียนง่ายๆ ที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน มีการจัดทำแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ มีนวัตกรรมและเครื่องมือวัดผลที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน และเป็นสมาชิกเครือข่ายทางวิชาการในระดับสถานศึกษา รวมทั้งมีนักเรียนที่สอนมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 3. ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอน มีองค์ประกอบดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการประเมินผลตัวชี้วัดในการประเมินผล เครื่องมือในการประเมินผล ผู้ประเมิน ผู้รับการประเมิน และระยะเวลาในการประเมิน ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อม การศึกษาถึงตัวชี้วัดที่จะทำการประเมินผลร่วมกัน การพิจารณาเกณฑ์คุณภาพของผลลัพธ์ การติดตามการปฏิบัติงาน และการประเมินผลลัพธ์ ด้านผลผลิต ประกอบด้วย ผลการประเมินผลเป็นรายบุคคล และผลการประเมินผลในภาพรวมสถานศึกษา ด้านการให้ข้อมูลป้อนกลับ ประกอบด้วย การรายงานผลการประเมิน การนำผลการประเมินไปใช้ และการผดุงระบบการประเมินผลในองค์กร 4. ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมและรายองค์ประกอบของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและผลการประเมินคุณภาพของการประเมินตามมาตรฐาน พบว่า ในทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to (1) educate the competencies that necessary for teacher's performance that related with quality of student, (2) analyst quality of teacher's performance each proficiency level, (3) educate the factors and procedure of a performance appraisal system in basic education teachers based on proficiency level, and (4) educate the effective of a performance appraisal system for basic education teachers based on proficiency level. The research results can be concluded as follows: 1. The components of teacher's competencies were two components. The first component was core competency that include attempt to success, service mind, self-development, technology capability and collaboration, and the second component was functional competency that include learning design, learning process, classroom management, student development, measurement and evaluation capability and research capability. 2. The quality of senior expert teacher's performance included that research which developed the new knowledge, the learning plan which had quality and integrated between the subject, the innovation which developed from novel theory, the item bank which had quality, being the member of national academic network, and the percent of quality students were 90. The quality of expert teacher's performance included the research which improved the teaching, the learning plan which had quality and integrated within the subject, the innovation which had various and novel, the test which had quality and reliable, and being the member of province academic network, and the percent of quality students were 80. The quality of senior experienced teacher's performance included the classroom action research which been systematic and reliable, the learning plan which had quality, the innovation which had novel, the test which had quality, being the member of education service area academic network, and the percent of quality students were 70. The quality of experienced teacher's performance included the classroom action research which been systematic, the learning plan which consistent with curriculum, the innovation and test which been suitable with content of learning, being the member of school group academic network, and the percent of quality students were 60. The quality of operation teacher's performance included the classroom action research which been simple, the learning plan which consistent with objective of learning, the innovation and test which been suitable with ability of student, being the member of school academic network, and the percent of quality students were 50. 3. The factors of a performance appraisal system in basic education teachers based on proficiency level compased four important components: input, process, outputs and feedbacks. The factors of input included purposes of appraisal, indicators of appraisal, instruments of appraisal, appraiser, appraisee and appraisal period. The factors of process included readiness, educating the key outcomes indicators, considering criteria of appraisal, monitoring the performance and evaluating the results. The factors of outputs included the result of the teacher performance appraisal at the individual level and the school level. The factors of feedback included reporting the teacher performance appraisal, using the result of the teacher performance appraisal and sustaining the system within the school. 4. The satisfaction about system and all factors of system were in very good level. And the quality of appraisal that based on four evaluation standards were in good level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2074-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครู -- การประเมินศักยภาพen_US
dc.subjectการศึกษา -- การประเมินen_US
dc.subjectTeachers -- Rating ofen_US
dc.subjectEducation -- Evaluationen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.titleการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้การประเมินผลที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ตามระดับความเชี่ยวชาญen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a performance appraisal system for basic education teachers : an application of result-based evaluation based on proficiency levelen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorwsuwimon@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2074-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanatip_tu_front.pdf10.15 MBAdobe PDFView/Open
chanatip_tu_ch1.pdf8.23 MBAdobe PDFView/Open
chanatip_tu_ch2.pdf84.84 MBAdobe PDFView/Open
chanatip_tu_ch3.pdf32.53 MBAdobe PDFView/Open
chanatip_tu_ch4.pdf57.49 MBAdobe PDFView/Open
chanatip_tu_ch5.pdf13.7 MBAdobe PDFView/Open
chanatip_tu_back.pdf145.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.