Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5704
Title: การระเหยน้ำชะมูลฝอยโดยใช้ก๊าซที่เกิดจากหลุมฝังกลบขยะ
Other Titles: Evaporation of leachate by using landfill gas
Authors: ธิดารัตน์ ก้องวิวัฒน์สกุล
Advisors: เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Petchporn.C@Chula.ac.th
Subjects: น้ำชะขยะ
ก๊าซจากหลุมฝังกลบขยะ
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การเผาระเหย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: องค์ประกอบ LFG ที่หลุมฝังกลบขยะกำแพงแสน นครปฐม มีก๊าซมีเทน 45-50% คาร์บอนไดออกไซด์ 35% ออกซิเจน 1-2% ที่เหลือเป็นก๊าซอื่นๆ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์มีค่า 0-18 พีพีเอ็ม ไนตริกออกไซด์ 0-9 พีพีเอ็ม ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 0-0.6 พีพีเอ็ม และไฮโดรเจนซัลไซด์ 0-1 พีพีเอ็ม งานวิจัยนี้ใช้ก๊าซที่เกิดขึ้นจากหลุมฝังกลบขยะกำแพงแสนเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนในการเผาระเหยน้ำชะมูลฝอย น้ำชะมูลฝอยเริ่มต้นมีค่า บีโอดี 1800 มก./ล ซีโอดีเฉลี่ย 6450 มก./ล นอกจากนี้ยังตรวจพบปริมาณโลหะหนักได้แก่ โครเมียม 1.06 มก./ล ตะกั่ว 0.228 มก./ล และปรอท 0.03 มก./ล โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรอทมีค่าเกินมาตรฐานมาก ได้ออกแบบเตาเผาระเหย 2 รูปแบบ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน เปรียบเทียบประสิทธิภาพเตาเผาทั้ง 2 รูปแบบ ไอระเหยน้ำชะมูลฝอยที่ควบแน่น ค่าซีโอดี และแอมโมเนียไนโตรเจนจากเตาเผาระเหย Direct Fire มีค่าสูงกว่าแบบ Fire Tube เนื่องจากเขม่า ควันและก๊าซที่เกิดขึ้นจากการลุกไหม้เป็นเปลวไฟลอยตัวปนมากับไอระเหย และรูปแบบประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนที่ดีกว่าของเตาเผาระเหยรูปแบบ Direct Fire ทำให้แอมโมเนียไนโตรเจนระเหยออกในปริมาณสูง มีผลให้พีเอชของไอระเหยที่ควบแน่นมีค่าสูงด้วยเช่นกัน เตาเผาระเหยรูปแบบ Fire Tube ติดตั้งหัวเผาที่บริเวณด้านนอกทางตอนล่างของตัวเตาเผาเชื่อมต่อกับท่อถ่ายเทความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่ภายในเตา ในช่วงแรกของการทดลองจะเดินระบบแบบ แบช อัตราการเผาระเหยอยู่ในช่วง 2-13.9 ลิตร/ชม. อัตราการสูญเสียก๊าซมีเทนอยู่ในช่วง 0.17-1.6 ลบ.ม.มีเทน/ลิตร น้ำชะมูลฝอย และในช่วงหลังเดินระบบแบบ ต่อเนื่อง 5 วัน อัตราการเผาระเหยอยู่ในช่วง 4-7 ลิตร/ชม. อัตราการสูญเสียก๊าซมีเทนอยู่ในช่วง 0.49-0.72 ลบ.ม.มีเทน/ลิตร น้ำชะมูลฝอย ซึ่งแสดงให้เห็นอัตราการเผาระเหยจะลดลง อัตราการสูญเสียก๊าซมีเทนสูงขึ้น ประสิทธิภาพของระบบลดลงอย่างรวดเร็ว เตาเผาระเหยรูปแบบ Direct Fire ติดตั้งหัวเผาและป้อนน้ำชะมูลฝอยเข้าที่บริเวณตอนบนของตัวเตาเผาให้เปลวไฟและน้ำชะมูลฝอยไหลอยู่ในท่อเดียวกัน เผาระเหยน้ำชะมูลฝอย 50 ลิตร ปรับอัตราการป้อน 0.23, 0.55, 0.8, 1.0 ลิตร/นาที ที่อัตราการป้อน 1.0 ลิตร/นาที อัตราการเผาระเหยมีค่าสูงสุด 15-19 ลิตร/ชม. อัตราการสูญเสียก๊าซมีเทนมีค่า ต่ำสุด 0.1-0.15 ลบ.ม.มีเทน/ลิตร น้ำชะมูลฝอย ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเตาเผาระเหยรูปแบบ Fire Tube เป็นอย่างมาก ผลการตรวจวัดก๊าซที่เกิดขึ้นหลังการเผาระเหยก่อนและหลังผ่านเตาเผาควัน พบว่าเตาเผาควันช่วยลดระดับก๊าซมลพิษก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศให้มีค่าไม่เกินมาตรฐานคุณภาพอากาศที่กำหนด
Other Abstract: Evaporated leachate in two patterns evaporator; Fire Tube and Direct Fire Evaporator; by using landfill gas (LFG) at Kampangsan Landfill, Nakornpathom province. LFG consists of CH4 45-50%, CO2 35%, O2 1-2%, concentration of pollute gas in LFG such as CO 0-18 ppm., NO 0-9 ppm, SO2 0-0.06 ppm, H2S 0-1 ppm. Raw leachate has very high level of BOD 1800 mg/l, COD average 6450 mg/l and heavy metal such as chromium 1.06 mg/l lead 0.228 mg/l and mercury 0.03 mg/l that are over standard limit. The distillate leachate from Direct Fire Evaporator was higher COD and NH3-N than Fire Tube Evaporator because of smoke and exhausted gas after burning be able to accumulate in the evaporator and contaminate in evaporate leachate that directly effected to COD level. For high heat transfer efficiency in Direct Fire Evaporator that cause NH3-N could evaporate very well that effected to high pH value in distillate leachate as well. Fire Tube Evaporator's burner was installed at the bottom outside evaporator. The burner had been connected with heat transfer pipe that passed through inside the evaporator. The beginning of experiment was run batch process. Evaporation rate was in range 2-13.9 l/hr, Methane Losing Rate was in range 0.17-1.6 m3 CH4/l leachate. The next experiment was run 5 days continuous process. Evaporation rate was in range 4-7 l/hr., Methane Losing Rate was in range 0.49-0.72 m3 CH4/l leachate. The result of experiment showed that after using Fire Tube Evaporator for couple months, Evaporation Rate, Methane Losing Rate and efficiency were decreased. Direct Fire Evaporator's burner was installed at the top of evaporator. Fire and influent leachate traveled into the same vertical pipe. Vary feed rate 0.23, 0.55, 0.8, 1.0 l/min. At feed rate 1.0 l/min received the highest Evaporation Rate; 15-19 l/hr, the lowest Methane Losing Rate; 0.1-0.15 m3 CH4/l leachate. The polluted gas from evaporation was decreased after passed through the Oxidation Chamber. The polluted gas level were lower than defined air quality standard before released to the atmosphere.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5704
ISBN: 9740300782
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tidarat.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.