Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57090
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุมพล พูลภัทรชีวิน-
dc.contributor.advisorชัยวัฒน์ สถาอานันท์-
dc.contributor.authorสุนีย์ สุขเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2018-02-16T15:32:07Z-
dc.date.available2018-02-16T15:32:07Z-
dc.date.issued2533-
dc.identifier.isbn9745777684-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57090-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุกมุ่งหมายเพื่อศึกษาหาทางเลือกในการจัดสันติศึกษาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยตามความคิดเห็นของนักวิชาการ โดยใช้เทคนิค EDFR กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการจำนวน 20 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณหาค่ามัธยมฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย.นักวิชาการมีแนวคิดสอดคล้องกันดังนี้ 1. สันติภาพหมายถึง การจัดระเบียบการพัฒนาสังคมให้มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตได้เต็มตามศักยภาพ โดยอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ สงบสุข เป็นอิสระ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันบนพื้นฐานของสังคมที่มีเสรีภาพ ความเสมอภาคและปราศจากความรุนแรง 2. สันติศึกษาหมายถึง การใช้กระบวนการศึกษาในการสร้างเสริมคนให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสันติภาพ สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความรุนแรงด้วยสันติวิธี รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ สงบสุขในสภาพอันพึงประสงค์ของสันติภาพ 3. ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีทักษะ รู้จักแก้ปัญหาความขัดแย้งความรุนแรงด้วยสันติวิธี ตระหนักถึงคุณค่า และมีจิตใจใฝ่สันติ ตลอดจนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสันติภาพด้านเนื้อหาสาระประกอบด้วยเรื่องโครงสร้างของสังคมที่ไม่เป็นธรรม วิธีการลดความรุนแรง สร้างสันติภาพประวัติศาสตร์ที่มาของภาวะอันไร้สันติภาพ ความสัมพันธ์ที่สันติและไม่สันติ สันติวิธี การแข่งขัน การสร้างการสะสมและการลดอาวุธ โดยจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ เน้นการแก้ปัญหา มีการสัมมนา อภิปราย ฝึกทักษะในสถานการณ์จำลอง ส่วนผู้สอนควรเป็นผู้ที่มีทัศนะการมองแบบองค์รวม มีโลกทัศน์กว้าง ใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เห็นคุณค่า มีศรัทธา มีความรู้ ความเข้าใจในปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการสอนสันติภาพ วิธีการจัดควรสอนสอดแทรกแนวคิดสันติศึกษาในรายวิชาต่าง ๆ หรือจัดรายวิชาสันติศึกษาไว้ในหมวดวิชาพื้นฐานทั่วไปของมหาวิทยาลัย เป็นวิชาเลือกen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study alternatives for peace education in university curriculum from the academicians’ points of view by using EDFR technique. The sample consisted of 20 academicians. Questionnaire and interview were employed in this study. The obtained data were analyzed by means of median, mode and interquartile range. This study finds that there is a consensus among the academicians on the following : 1. Peace means an arrangement of social order in such a way that full human potentials can be realized. In particular, human beings will live together creatively, peacefully and freely taking into account liberty equality and nonviolence. 2. Peace education involves a learning process to educate people on peace and nonviolent conflict resolutions. In addition, studies on peaceful coexistence among hostile parties as a goal of peace will be emphasized. 3. Peace education in university curriculum should aim to help students achieve nonviolent skills in solving conflicts, inculcate values for peace and better understanding of the concept of peace. Contentwise, peace education should cover unjust social structure, ways to decrease violence, peace promotion, history of conditions conducive to peacelessness, problems of peace and wars, peaceful conflict resolutions, armament and arms control. Learning process for peace education should be interdisciplinary. It should emphasize problem solving skills using seminars, discussion and role play as vehicles. Lecturers should be open – minded and holistic in their perspective. They should be knowledgeable and fully understand philosophy and purposes of peace education. Peace education can either take place as a separate subject or can be taught through existing subjects.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสันติศึกษาen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- หลักสูตรen_US
dc.subjectนักวิชาการ -- ทัศนคติen_US
dc.subjectนักวิชาการ -- ทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาen_US
dc.subjectPeace educationen_US
dc.subjectUniversities and colleges -- Curriculaen_US
dc.subjectScholars -- Attitudesen_US
dc.titleทางเลือกในการจัดสันติศึกษาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ตามทัศนะของนักวิชาการen_US
dc.title.alternativeAlternatives for peace education in university curriculum from the academicians' points of viewen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพื้นฐานการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChumpol.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee_su_front.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_su_ch1.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_su_ch2.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_su_ch3.pdf856.48 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_su_ch4.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_su_ch5.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_su_back.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.