Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57094
Title: บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษาในการฝึกอบรมตามการรับรู้ ของหัวหน้าหน่วยฝึกอบรม
Other Titles: Roles of educational technologists in training as perceived by heads of training departments
Authors: วิวัฒน์ บุตรากาศ
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: นักเทคโนโลยีทางการศึกษา
บทบาทที่คาดหวัง
เทคโนโลยีทางการศึกษา -- การฝึกอบรม
Educational technologists
Role expectation
Educational technology -- Training
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษาในการฝึกอบรมตามการรับรู้ของหัวหน้าหน่วยฝึกอบรม 6 ด้าน คือ ที่ปรึกษาโครงการฝึกอบรม ผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ ผู้บริหารงานฝึกอบรม วิทยากรฝึกอบรม ผู้ประเมินผลการฝึกอบรมและผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการฝึกอบรมซึ่งทั้ง 6 ด้าน จะประกอบด้วยบทบาทย่อย รวม 52 บทบาท ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หัวหน้าหน่วยฝึกอบรมในสถาบันการศึกษา จำนวน 76 คน และหัวหน้าหน่วยฝึกอบรมนอกสถาบันการศึกษา จำนวน 90 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายจากแต่ละหน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่า 1. หัวหน้าหน่วยฝึกอบรมทั้งหมด เห็นความจำเป็นของบทบาทโดยส่วนรวมทั้ง 6 ด้านว่าอยู่ในระดับจำเป็นปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่ม พบว่า หัวหน้าหน่วยฝึกอบรมในสถาบันการศึกษาเห็นความจำเป็นของบทบาทผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการฝึกอบรมว่าจำเป็นมาก 2. การรับรู้ของหัวหน้าหน่วยฝึกอบรมทั้งในและนอกสถาบันการศึกษา ที่มีต่อบทบาทผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้และผู้บริหารงานฝึกอบรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เมื่อพิจารณาการับรู้ต่อบทบาทย่อย หัวหน้าหน่วยฝึกอบรมทั้ง 2 กลุ่มเห็นความจำเป็นของบทบาทผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการฝึกอบรมว่า มีบทบาทย่อยถึง 11 บทบาทที่จำเป็นมาก ซึ่งเป็นบทบาทที่เกี่ยวกับการใช้ การผลิต การคัดเลือก การพัฒนาและการให้คำแนะนำ ส่วนบทบาทย่อยของอีก 5 ด้าน เกือบทุกบทบาท หัวหน้าหน่วยฝึกอบรมเห็นว่าจำเป็นปานกลาง บทบาทที่เห็นว่าจำเป็นมาก ได้แก่ การเผยแพร่โครงการฝึกอบรม การเลือกวิธีการฝึกอบรมและจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม สำหรับบทบาทย่อยที่เกี่ยวกับการกำหนดความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรมก่อนการฝึกอบรม ซึ่งเป็นบทบาทของผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ พบว่า เป็นบทบาทที่จำเป็นน้อย 4. การรับรู้ต่อบทบาทย่อยของหัวหน้าหน่วยฝึกอบรมทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในบทบาทย่อยทั้งสิ้น 16 บทบาท โดยที่หัวหน้าหน่วยฝึกอบรมในสถาบันการศึกษาเห็นความจำเป็นของบทบาทย่อย มากกว่าหัวหน้าหน่วยฝึกอบรมนอกสถาบันการศึกษา
Other Abstract: The purposes of this study were to determine and compare perceptions of heads of training department towards six roles of educational technologists in training: consultant, learning specialist, training administrator, instructor, program evaluator and training media specialist. Fifty-two subroles were include in the study. The population samples were 76 heads of training departments in educational institutes and 90 heads of training departments out of educational institutes. The results revealed that : 1. Heads of training departments perceived 6 educational technologist roles as "moderately necessary" . Only those from in educational institutes seen training media specialist roles as "very necessary". 2. Perceptions of the two groups toward roles of learning specialist and training administrator differed significantly at the .05 level. 3. Based upon perception of the subroles, the respondents of both groups perceived eleven of training media specialist subroles as "very necessary". They included media utilization, production, selection, development and consultation. Moreover, heads of training departments perceived most of the subroles from 5 roles as "moderately necessary", the three "very necessary" subroles were: 1. dissemination of training project, 2. selection of training method and 3. preparation of training materials. The only subrole which heads of training departments out of educational institutes viewed as "less necessary" was assessment of trainee entry performance. 4. Some significant difference were found at the .05 level in the 16 out of 52 subroles. Heads of training departments in educational institutes rated all subroles higher than those from out of educational institutes did.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57094
ISBN: 9745760552
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vivat_bu_front.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Vivat_bu_ch1.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Vivat_bu_ch2.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open
Vivat_bu_ch3.pdf751.67 kBAdobe PDFView/Open
Vivat_bu_ch4.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Vivat_bu_ch5.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Vivat_bu_back.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.