Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57106
Title: วัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจในกระดานสนทนาทางอินเทอร์เน็ต
Other Titles: The act of complaining on the webboard
Authors: สุธาสินี พลอยขาว
Advisors: อิงอร สุพันธุ์วณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วัจนกรรม
ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
กลุ่มสนทนาออนไลน์ -- ไทย
Speech acts (Linguistics)
Thai language -- Usage
Online chat groups -- Thailand
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริบทการสื่อสารของการแสดงความไม่พอใจในกระดานสนทนาทางอินเทอร์เน็ตตามกรอบทฤษฎีชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร และศึกษากลวิธีในการแสดงความไม่พอใจในกระดานสนทนาทางอินเทอร์เน็ต ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากกระดานสนทนาของเว็บไซต์ 2 กลุ่ม กลุ่มละ 100 ข้อความ รวม 200 ข้อความ แบ่งออกเป็น การแสดง ความไม่พอใจด้วยถ้อยคำ 2,290 ถ้อยคำ และการแสดงความไม่พอใจด้วยภาพ 101 ภาพ จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ปริบทที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความไม่พอใจในกระดานสนทนาทางอินเทอร์เน็ต คือ ปริบทการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ปริบททางธุรกิจ และปริบททางวัฒนธรรมไทย ผู้วิจัยพบว่า การแสดงความไม่พอใจในกระดานสนทนาทางอินเทอร์เน็ตให้ความสำคัญกับปริบทการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและปริบททางธุรกิจ ส่งผลให้ผู้ส่งสารกล้าแสดงความไม่พอใจด้วยกลวิธีแบบตรงเท่านั้น 10 กลวิธี และไม่ปรากฏการแสดงความไม่พอใจด้วยกลวิธีแบบอ้อมเลย กลวิธีที่น่าสนใจ ได้แก่ การบอกความรู้สึกทางลบ การบริภาษ การข่มขู่ การกล่าวตัดสัมพันธ์ การกล่าวแช่ง และการกล่าวท้าทาย เพราะเป็นการแสดงอารมณ์และความรู้สึก ไม่พอใจออกมาตรงๆ อย่างเต็มที่ร่วมกับการใช้คำหยาบ ทั้งคำสรรพนาม คำกริยา และคำลงท้าย นอกจากจะแสดงความไม่พอใจด้วยถ้อยคำแล้ว ยังมีการใช้รูปภาพ สัญลักษณ์แอสกี และสัญรูปเพื่อบอกความผิด บริภาษการบริการ และบอกความรู้สึกทางลบของผู้ส่งสารด้วย นอกจากนี้ การแสดงความไม่พอใจในแต่ละข้อความนั้น ถ้าเป็นข้อความที่มีถ้อยคำน้อย ผู้ส่งสารจะใช้กลวิธีการบริภาษอย่างตรงไปตรงมา แต่ถ้าเป็นข้อความที่มีถ้อยคำมากขึ้น ผู้ส่งสาร จะใช้กลวิธีหลายๆ กลวิธีร่วมกัน โดยเน้นที่กลวิธีการบอกความผิด การกล่าวประจาน และ การบริภาษการบริการ จากผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า ปริบทการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและปริบททางธุรกิจ มีความสำคัญต่อการแสดงความไม่พอใจในกระดานสนทนาทางอินเทอร์เน็ตอย่างยิ่ง ในขณะที่ปริบททางวัฒนธรรมของไทยที่ให้ความสำคัญกับความเกรงใจและการรักษาความสัมพันธ์ อันดีระหว่างกันมีปรากฏน้อยมาก จะปรากฏในกลวิธีการเสียดสีประชดประชันที่มิได้ปรากฏร่วมกับการใช้คำหยาบ
Other Abstract: This research aims to examine the communicative contexts of complaints on the internet webboards using the framework of ethnography of communications and explore the strategies used in showing those complaints. The study is based on data from two groups of websites, each containing 100 messages. The complaints in those 200 messages consist of 2,290 utterances and 101 pictures. The finding indicates that the communicative contexts presupposed by the complaints are the internet, business, and Thai culture. The act of complaining via internet webboards is influenced by the internet and business contexts. I found that the senders use only 10 direct strategies for complaints and none of the indirect ones. Interesting strategies include expressions of negative attitudes, rebukes, threats, breakdowns in relationships, curses, and provocation because they are directly expressed using bad words, pronouns, verbs, and final particles. In addition, pictures illustrate errors, dissatisfaction with service, and the negative attitudes of the sender. Furthermore, I found that direct strategies are used in concise complaints, whereas several strategies are employed together in longer ones, with emphasis on the techniques of identifying errors, rebuking service providers, and condemning service. The results show that the internet and business contexts contexts play an important role in the act of complaining on the internet webboards, whereas the Thai cultural context, which underlines consideration and the fostering of relationship, is used less frequently and appears only in sarcastic messages with no bad words.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57106
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2071
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2071
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suthasinee_pl_front.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
suthasinee_pl_ch1.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
suthasinee_pl_ch2.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
suthasinee_pl_ch3.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open
suthasinee_pl_ch4.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open
suthasinee_pl_ch5.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
suthasinee_pl_ch6.pdf698.94 kBAdobe PDFView/Open
suthasinee_pl_back.pdf909.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.