Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57114
Title: | ศักยภาพอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะ (Pangasius sp.) ไทย |
Other Titles: | Potental of Thai pangasius species industry |
Authors: | วรานิษฐ์ บัลลังก์โพธิ์ |
Advisors: | ชโยดม สรรพศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | csabhasri@yahoo.com |
Subjects: | ปลาน้ำจืด อุตสาหกรรมปลาน้ำจืด การพัฒนาอุตสาหกรรม Freshwater fishes Industrialization |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเหมาะสมแก่การเกษตร การผลิตปลาเผาะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่แพร่หลายนัก แต่มีความต้องการในต่างประเทศสูงขึ้นรัฐบาลจึงสนับสนุนโครงการพัฒนาสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ของไทยเพื่อการส่งออก: ปลาเผาะ เพื่อขยายการผลิตและแปรรูปปลาเผาะเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งในปัจจุบันมีประเทศเวียดนามเป็นผู้ผลิตปลาเผาะเพื่อการส่งออกสำคัญเพียงประเทศเดียว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทย และศึกษาปัญหา อุปสรรค จากการดำเนินโครงการฯ โดยใช้ข้อมูลที่จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาเผาะ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนที่อยู่ในจังหวัดนครพนม และเพื่อศึกษาโครงสร้างการกระจายผลผลิตและการใช้ปัจจัยการผลิตของอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทย การเชื่อมโยงของสาขาการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทย และผลกระทบของการขยายการผลิตปลาเผาะต่อผลผลิตรวมในประเทศ การส่งออก และผลตอบแทนปัจจัยการผลิต โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตปี พ.ศ.2543 ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการดำเนินอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะเพื่อการส่งออก แต่ต้องมีการปรับปรุงในด้านการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้อุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทยควรมีการวางแผนทางด้านการตลาดและสิ่งแวดล้อมให้มีรายละเอียดที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางให้อุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทยประสบผลสำเร็จในการดำเนินการ เมื่อพิจารณาจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทยเป็นส่วนหนึ่งของสาขาการประมงน้ำจืดและมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ โดยมีการใช้ปัจจัยการผลิตมาจากวัสดุเหลือใช้ของการทำปลากระป๋อง อาหารทะเลกระป๋องมากที่สุด ในขณะที่มีการกระจายผลผลิตไปยังการผลิตอาหารสัตว์มากที่สุด ในขณะที่การเชื่องโยงไปข้างหลังมีความสัมพันธ์กับการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และการเชื่อมโยงไปข้างหน้าสัมพันธ์กับการค้าส่งมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทยและการประมงน้ำจืดขยายตัวส่งผลให้ภาคการส่งออกขยายตัวมากที่สุด รวมทั้งผลผลิตรวมในประเทศก็ขยายตัวด้วย เมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางด้านการผลิตจะพบว่า ภาคเกษตรกรรมได้รับผลตอบแทนปัจจัยการผลิตมากที่สุด รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ตามลำดับ สอดคล้องกับนโยบายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะเพื่อแก้ปัญหาความยากจนให้แก่เกษตรกร โครงการฯ นำร่องทีจังหวัดนครพนมประสบกับปัญหาหลายด้านด้วยกัน ทั้งในด้านการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาเผาะ ผลิตภัณฑ์ปลาเผาะไม่มีความหลากหลาย และขาดผู้ดำเนินงานที่มีความชำนาญ ซึ่งปัญหาจากโครงการฯ เป็นบทเรียนเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตและการส่งออกปลาเผาะ โดยการเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งคิดค้นนวัตกรรมในการผลิตและแปรรูป รวมทั้งการวางแผนทางด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57114 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2076 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.2076 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
waranit_bu_front.pdf | 688.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
waranit_bu_ch1.pdf | 446.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
waranit_bu_ch2.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
waranit_bu_ch3.pdf | 792.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
waranit_bu_ch4.pdf | 572.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
waranit_bu_ch5.pdf | 3.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
waranit_bu_ch6.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
waranit_bu_back.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.