Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57118
Title: สถานภาพการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: The use of media for public relations by the set listed companies
Authors: ศรินญา บุญเจิม
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Yubol.B@chula.ac.th
Subjects: องค์การ -- การประชาสัมพันธ์
บริษัทมหาชน
Associations, institutions, etc. -- Public relations
Public companies
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “สถานภาพการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ปริมาณการใช้สื่อประชาสัมพันธ์และประสิทธิผลการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัย 2 แบบในการศึกษาคือระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารที่ดูแลงานด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ขององค์กรเป็นผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 องค์กร รวม 5 คน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากบุคลากรฝ่ายประชาสัมพันธ์ขององค์กรเป็นผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 73 คน จาก 73 องค์กร ผลการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีความสอดคล้องกันในประเด็นต่อไปนี้ 1.ประเภทของสื่อที่องค์กรเลือกใช้มากที่สุดคือ สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นสื่อที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ในงบประมาณขององค์กรและให้ข่าวสารแก่กลุ่มเป้าหมายขององค์กรได้มากที่สุด ส่วนประเภทของสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการสร้างความสนใจต่อกลุ่มเป้าหมายคือ สื่อโทรทัศน์ ในขณะที่ประเภทของสื่อใหม่ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขององค์กรได้มากที่สุดคือ สื่อเว็บไซต์ 2.องค์กรเลือกใช้สื่อกิจกรรมพิเศษเนื่องจากมีผลต่อการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักและใกล้ชิดกับองค์กรมากขึ้น ส่งผลต่อภาพลักษณ์และสินค้าขององค์กร 3.การบูรณาการสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผยแพร่ข่าวสารขององค์กรเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรและกลุ่มเป้าหมาย และเป็นช่องทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรและเป้าหมายทางการตลาด นอกจากนี้ยังพบว่าการวิจัยเชิงคุณภาพต่างกันหลายประเด็นกับเชิงปริมาณ เนื่องจาก ประเภทธุรกิจและขนาดองค์กร รวมถึงการให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ขององค์กร โดยมีประเด็นที่ต่างกันดังนี้ 1.งบประมาณในการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ขององค์กรจากการทำวิจัยเชิงคุณภาพส่วนใหญ่ใช้งบประมาณจำนวนมาก ต่างจากองค์กรจากการทำวิจัยเชิงปริมาณที่ส่วนใหญ่ใช้งบประมาณไม่ถึง 10 ล้านบาท 2.องค์กรจากการทำวิจัยเชิงคุณภาพส่วนใหญ่มีการจัดทำการวิจัยเพื่อใช้ข้อมูลสนับสนุนการวางแผนการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ต่างจากองค์กรจากการทำวิจัยเชิงปริมาณที่ส่วนใหญ่ไม่มีการจัดทำการวิจัยเพื่อ การวางแผนการใช้สื่อประชาสัมพันธ์
Other Abstract: This research examined the use of media for public relations by the SET listed companies The main purpose of this research is to study the use of media, the quantity and the effect of media for public relations used by the companies listed on the Stock Exchange of Thailand. The study was conducted by applying qualitative and quantitative research methods. The first one was done by in-depth interview of 5 PR supervisors from five business organizations. The second method was done by a survey. The instrument was questionnaire distributed to 73 respondents from 73 organizations The results of qualitative and quantitative researches are consistent in many issues that are shown as follows:- 1. The most popular media that has been used by corporations is printed media and television because these two kinds was regularly set in corporate budget, and also provide most information for target groups. For the most effective media that attract the target group interest is television, while the most effective of new media that reaches most to the target group is website. 2. The corporations have used special activities media because it has an effect to the target group perception. The target group will know more and be closer to the corporation which affect to corporate image and product. 3. Media integration for public relations can increase the efficiency of corporate publicity in case of making good relationship between the corporation and the target group, and being a channel for reaching to corporate goal and objective in marketing target. There are some differences found from qualitative and quantitative research. They are the kind of business, corporation size and also corporate attention on public relations. The different issues are shown as the following:- Findings from qualitative research which include only big corporate showed the use of big budget for Public Relations while finding from quantitative study showed that most companies spend less than 10 million baht a year for Public Relations programs. Giant corporates tend to rely on research information for Public Relations planning while smaller companies to not use research information for Public Relations planning.
Description: วิทยานิพนธ์(นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57118
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.205
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.205
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarinya_bo_front.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
sarinya_bo_ch1.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
sarinya_bo_ch2.pdf6.5 MBAdobe PDFView/Open
sarinya_bo_ch3.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
sarinya_bo_ch4.pdf8.56 MBAdobe PDFView/Open
sarinya_bo_ch5.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
sarinya_bo_back.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.