Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57242
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorระหัตร โรจนประดิษฐ์-
dc.contributor.advisorสรวิศ นฤธิติ-
dc.contributor.authorปริทรรศน์ ไกรทัศน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2018-02-23T07:50:34Z-
dc.date.available2018-02-23T07:50:34Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57242-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของท่าเรือกรุงเทพต่อการพัฒนาเมืองในพื้นที่โดยรอบ โดยพิจารณาจากแผนพัฒนาพื้นที่ของภาครัฐและโครงการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ในบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพต่อไป การวิจัยเริ่มจากการศึกษาแผนและนโยบายที่เกี่ยวข้อง โครงการพัฒนาพื้นที่ ลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและจำนวนประชากรของพื้นที่ที่ศึกษา การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ จากนั้นทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสุ่มตัวอย่างประชากร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย รวมทั้งเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ในบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพ แล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าร้อยละ เพื่อทำให้ทราบถึงผลกระทบของท่าเรือกรุงเทพต่อการพัฒนาเมืองในพื้นที่โดยรอบต่อไป ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ในบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพส่วนใหญ่ดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะในบริเวณที่ติดกับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้สนับสนุนการเพิ่มบทบาทของท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้มีปริมาณสินค้าที่ผ่านหน้าที่มากขึ้น และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตยังมีความต้องการในการใช้บริการการขนส่งสินค้าที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพ จึงทำให้ท่าเรือกรุงเทพมีแผนในการขยายพื้นที่เพื่อก่อสร้างเป็นลานวางตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับปริมาณตู้สินค้าให้ได้มากถึง 1.5 ล้าน ที.อี.ยู. ส่วนปัญหาที่พบ คือ ท่าเรือกรุงเทพขาดโอกาสในการพัฒนาพื้นที่อันเนื่องจากปัญหาการบุกรุกเพื่อเข้ามาตั้งที่อยู่อาศัยในลักษณะของชุมชนแออัด และท่าเรือกรุงเทพยังให้ภาคเอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่ จึงทำให้ท่าเรือกรุงเทพสูญเสียโอกาสในการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมการขนส่งสินค้า ในส่วนของผลจากการศึกษากับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ในบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพ พบว่า ผลกระทบของท่าเรือกรุงเทพต่อการพัฒนาเมืองในพื้นที่โดยรอบ ทำให้เกิดผลกระทบในด้านการใช้ที่ดิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมในบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพ ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนา คือ การปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการใช้ที่ดินให้มีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ในบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าของท่าเรือกรุงเทพให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดให้ทำการวางผังเมืองเฉพาะเพื่อทำให้เกิดการควบคุมและพัฒนาเมืองให้มีความสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ในบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพen_US
dc.description.abstractalternativeObjective of this research is to study the effect of Bangkok Port on city development of the surrounding area by considering government area development plans and other related development projects to set direction for further development of the area. The research begins from study of related plans and projects, physical development projects, economy and number of population in the studied area. The conduct of this research includes using primary and secondary data then data gathering by randomizing population sample using questionnaire as a tool and also data gathering from interviewing people in the area, and then analyzing the data using software to analyze percentage to see the effect of Bangkok Port on city development of the surrounding area. The research found that most of the area surrounding Bangkok Port operates in manufacturing industry especially the one next to industrial circle. For the physical property of the Bangkok Port area, because the government encourages higher traffic volume at the Bangkok Port area and the manufacturers want to use transportation services in the area, Bangkok Port plans to expand container parking area to increase capacity to 1.5 million T.E.U. For the problems, we found that the Bangkok Port area is still lack development opportunity due to trespassing and settlement in the form of slum. Also, because Bangkok Port area lease some area to public, the Bangkok Port lost area development opportunity to support logistics activities. Next, from studying from people related to the area we found that the effect of Bangkok Port on the development of the surrounding area affects land utilization, economic activities and environment in the area. Researcher, therefore, suggest a development direction: improving and developing land utilization according to the condition of the surrounding area of Bangkok Port, improving basic structure and developing transportation system of the Bangkok Port area, and setting tailor-made city planning to control and develop the city according to the surrounding area.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1190-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectการพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectท่าเรือ -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectการใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectCity planning -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectCommunity development, Urban -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectHarbors -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectLand use -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.titleผลกระทบของท่าเรือกรุงเทพต่อการพัฒนาเมืองในพื้นที่โดยรอบen_US
dc.title.alternativeImpact of Bangkok Port on urban development in surrounding areaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRahuth.R@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1190-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prarithad_kr_front.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
prarithad_kr_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
prarithad_kr_ch2.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
prarithad_kr_ch3.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open
prarithad_kr_ch4.pdf10.75 MBAdobe PDFView/Open
prarithad_kr_ch5.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open
prarithad_kr_ch6.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
prarithad_kr_back.pdf9.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.