Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5728
Title: | ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนต่อการให้บริการสุขภาพจิตในชุมชน จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Health personnel's and people's opinion to community mental health service in Nakhon Ratchasima province |
Authors: | ศิริลักษณ์ แก้วเกียรติพงษ์ |
Advisors: | บดี ธนะมั่น สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | fmedbdm@md.chula.ac.th fmedslm@md2.md.chula.ac.th |
Subjects: | บุคลากรสาธารณสุข บริการสุขภาพจิต สุขภาพจิตชุมชน, การบริการ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความเป็นมา: ในพ.ศ. 2544 ประชากรโลกประมาณ 450 ล้านคน เจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช และปี พ.ศ.2542 ความชุกปัญหาจิตเวชทั่วประเทศไทย 217.86 ต่อแสนประชากร และมีแนวโน้มสูงขึ้น การพัฒนาและผสมผสานบริการสุขภาพจิตเข้ากับระบบบริการสุขภาพกายนั้น ข้อคิดจากทั้งผู้ให้และผู้รับบริการต่องานสุขภาพจิต จึงเป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่ง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขและ ประชาชนในด้านปริมาณการให้บริการ และการให้ความสำคัญต่อการให้บริการสุขภาพจิตในชุมชนจังหวัดนครราชสีมา รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มประชากรที่ศึกษา: บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน 1,050 คนและประชาชนจังหวัดนครราชสีมา ขนาดตัวอย่าง: บุคลากรตอบกลับ 713 จาก 1,050 คน (67.9%) และหัวหน้าครัวเรือนตอบ 785 จาก 817 คน (96.1%) เครื่องมือวิจัย: บุคลากรตอบแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง หัวหน้าครัวเรือนใช้แบบสัมภาษณ์ ระหว่าง ธ.ค.45 ถึง ก.พ. 46 สถิติที่ใช้: Unpaired t - test , One - way ANOVA, Wilcoxon Signed - ranks test, and Mann Whitney U - test ผลการศึกษา: บุคลากรผู้ตอบส่วนใหญ่ เป็นหญิงร้อยละ 62.4 อายุราชการเฉลี่ย 23.4 ปี เป็นพนักงานสาธารณสุขชุมชนและเป็นพยาบาลวิชาชีพ (38.3%, 25.9% ตามลำดับ) ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย 78.1% และเคยอบรมด้านสุขภาพจิตร้อยละ 43.1 บุคลากรมากกว่าครึ่งให้คะแนนความสำคัญสูง (มากถึงมากที่สุด) 20 จาก 41 กิจกรรม ใน 4 ด้าน ซึ่งต่างจากคะแนนปริมาณงานสูงที่มีเพียง 2 จาก 41 กิจกรรม โดยกิจกรรมสำคัญที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ การออกกำลังกาย การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมเป็นประโยชน์ โดยการให้ความสำคัญมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p< 0.05) ตามอายุในทุกด้าน ทั้งนี้ผู้เคยอบรม ให้คะแนนเฉลี่ยความสำคัญและปริมาณบริการสูงกว่าเกือบทุกกิจกรรมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p< 0.01) สำหรับปัจจัยสู่ความสำเร็จ 3 อันดับแรก คือ บริการเบ็ดเสร็จ สนองความต้องการ และมีข้อมูลเพื่อวางแผน ส่วนอุปสรรค 3 อันดับแรก ได้แก่ ขาดแคลนบุคลากร ขาดความรู้สุขภาพจิต และรูปแบบดำเนินงานสุขภาพจิตไม่ชัดเจน สำหรับประชาชน ส่วนใหญ่ เป็นหญิงร้อยละ 56.7 อายุเฉลี่ย 45.9 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 82.8 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 67.6 รายได้เฉลี่ย 3,316.2 บาท ต่อเดือน มีหนี้สิน ร้อยละ 45.4 ไม่เคยได้รับความรู้เพิ่มด้านสุขภาพจิตร้อยละ 90.2 มีผู้ติดสารเสพติดในครอบครัวร้อยละ 1.4 มีผู้ป่วยจิตเวชในครอบครัว ร้อยละ4.4 ประชาชนมากกว่าร้อยละ 50 ให้คะแนนความสำคัญสูงถึงสูงมาก ทั้ง 18 กิจกรรมใน 4 ด้าน แต่สำหรับปริมาณการได้รับบริการ ไม่มีกิจกรรมใดได้คะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 เลย โดย 3 อันดับความสำคัญสูงสุด ได้แก่ การคัดกรองช่วยเหลือเด็กเสี่ยงต่อสารเสพติด การรักษาผู้เสพติด และการพัฒนาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เมื่อเปรียบเทียบการให้ความสำคัญระหว่างบุคลากรและประชาชน พบว่า ประชาชนให้คะแนนความสำคัญสูงกว่าทั้ง 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) สรุป ผลจากการศึกษา พบว่า กลุ่ม 20 กิจกรรมที่มีความสำคัญสูงถึงสูงมากควรได้รับการพิจารณาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อการปฏิบัติงานที่ดีในอนาคต ส่วนกิจกรรมส่วนใหญ่ซึ่งยังมีปริมาณการบริการสุขภาพจิตต่ำ ควรได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยเฉพาะการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อมูลเพื่อจัดทำแผนและการจัดอบรมเพิ่มด้านสุขภาพจิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการพัฒนาระบบสุขภาพเชิงผสมผสานกายและจิตใจในอนาคต |
Other Abstract: | Background: In the year 2001, 450 millions of world population live with mental illness and in Thailand 1,999, prevalence of mental disorders was shown increasing trend (217.86 per 100,000). Integration of mental health service system was called for more future holistic approach. Hearing from both health providers and clients were crucial step. Objective: To study health personnel's and consumer's opinion toward community mental health service provision in Nakhon Ratchasima province. Research design: Cross-sectional descriptive study Participants: The personnel 713 out of all 1,050 (return 68.0%) and 785 from 817 head of families (participated 96.1%) Data collection: Self-administered questionnaire for health personnel and interview questionnaire for head of family. Statistical Method: Unpaired t-test, One- way ANOVA, Wilcoxon Signed - ranks test, and Mann Whitney U - test. Results: The majority of personnel respondents were female 62.4%, average period of work 23.4 years, position of community health workers and nurses (38.3%, 25.9% respectively), work in health centers 78.1%, and ever trained in mental health 43.1%. More than 50% of personnel respondents rated 20 out of 41 activities in 4 dimensions as highly important activities (4-5 scores) in contrast with only 2 activities rated as highly work amount. Top-3 rank as high important were exercise, promote child development and ageing activities. Further analyses revealed that the important mean scores of 4 dimensions were statistically significant different (p<0.05) by age. For those who had trained experiences in mental health, rated with higher mean scores for the importance than the work amount in all specified activities with statistically significant different (p<0.01). Top-3 critical success factors were stated as comprehensive care, relevancy, and information for planning, and 3 major obstacles were lack of personnel, knowledge, and clear mental service model. Majority of people respondents were female 56.7%, mean age 45.9 years, primary school graduates 82.8%, agricultural workers 67.6%, average income 3,316.2 baht per month with debt 45.4%, never been trained in mental health 90.2%, drug addicts 1.4 % and mental disorders 4.4% in families. More than 50% of family respondents rated all 18 service activities in 4 dimensions as highly important activities, but no highly score found for service activities received. Top-3 important ranking were screening and treatment the addicts and promoting ageing mental health. In comparison the mean scores between personnel and people, higher important scores in all 4 dimensions were marked by people and it is statistically significant different (p<0.01). Conclusion: These findings revealed the 20 high important activities which should be considered as core activities in the guideline for community mental health practice in the future. Reducing the gaps between the high important and low service amount through continuous education for both health personnel and people together with research for developing integrate mental health service in future health service delivery system. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5728 |
ISBN: | 9741730764 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siriluk_Kaew.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.