Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/572
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มานพ วราภักดิ์ | - |
dc.contributor.author | พรชไม นาคไร่ขิง, 2519- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี | - |
dc.date.accessioned | 2006-06-28T07:06:15Z | - |
dc.date.available | 2006-06-28T07:06:15Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741710755 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/572 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ย เมื่อประชากรมีการแจกแจงเบ้ วิธีการสร้างขอบเขตควบคุม 4 วิธี ได้แก่ วิธีชิวฮาร์ท วิธีฮอดจ์-เลท์เมน วิธีบูทสแตรป และวิธีความแปรปรวนแบบถ่วงน้ำหนัก ประสิทธิภาพของแต่ละวิธีพิจารณาจากจำนวนความยาววิ่งโดยเฉลี่ย (ARL) โดยวิธีที่มีค่า ARL ต่ำสุดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบมากที่สุด การแจกแจงที่ศึกษา ได้แก่ การแจกแจงแลมดาตูกีร์ การแจกแจงเบตา การแจกแจงแกมมา และการแจกแจงลอกนอร์มอล ณ ความเบ้ระดับต่างๆ (+-0.25, +-0.50, +-1.00, +-1.50, +-2.00,+-2.50) ขอบเขตควบคุม ของแต่ละวิธีคำนวณมาจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 20 และ 30 กลุ่ม ขนาดตัวอย่างในแต่ละกลุ่มเท่ากับ 2, 4, 6, 8, 10, 15, 20, 25 ค่า ARL คำนวณภายใต้กระบวนการที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ksigma (k = 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5) และทดลองซ้ำ 5,000 ครั้งในแต่ละสถานการณ์ sigma แทนความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของกระบวนการซึ่งมีค่าขึ้นอยู่กับค่าพารามิเตอร์ของแต่ละการแจกแจง ข้อมูลที่ใช้ศึกษาได้จากการจำลองภายใต้ตัวแบบอนุกรมเวลาค่าเฉลี่ยคงที่โดยใช้เทคนิคของมอนติคาร์โล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กรณีการแจกแจงเบ้ซ้าย เมื่อความเบ้มีขนาดเท่ากับ 0 ถึง 1.00 ที่ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 2 และ 3 วิธีความแปรปรวนแบบถ่วงน้ำหนักมีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อความเบ้มีขนาดเท่ากับ 0 ถึง 2.50 ที่ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 4 ถึง 25 วิธีบูทสแตรปมีประสิทธิภาพมากที่สุด 2. กรณีการแจกแจงเบ้ขวา เมื่อความเบ้มีขนาดเท่ากับ 0 ถึง 0.50 ที่ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 2 ถึง 25 วิธีชิวฮาร์ทมีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อความเบ้มีขนาดเท่ากับ 0.51 ถึง 2.50 ที่ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 4 ถึง 25 วิธีความแปรปรวนแบบถ่วงน้ำหนักมีประสิทธิภาพมากที่สุด 3. เมื่อระดับการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยและขนาดตัวอย่างมีค่าเพิ่มขึ้น ทุกวิธีจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is to compare the efficiency of control charts for mean of skewed populations. Four methods for establishing control limits are Shewhart method, Hodge-Lehmann method, Bootstrap method, and Weighted Variance method. The efficiency of each method is considered by their Average Run Lengths (ARLs). The method having least ARL is considered to be the best. Underlying distributions are Tukey's lambda distribution, beta distribution, gamma distribution, and lognormal distribution, with various skewness (+-0.25, +-0.50, +-1.00, +-1.50, +-2.00,+-2.50). Each method, the 3sigma control limits are calculated, number of subgroups are 20 and 30, sample sizes are 2, 4, 6, 8, 10, 15, 20, and 25. The ARLs are calculated under mean process shift ksigma (k = 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5) and the experiment is repeated 5,000 times for each situation. Sigma is the process standard deviation, its value depend on the parameters of each distribution. The data of the experiment were obtained through a time series constant mean model by the Monte Carlo simulation technique. The results of this research can be summarized as follows : 1. For left skewed distribution, Weighted Variance method is the most efficient for skewed size from 0 to 1.00 and sample size are 2 and 3. Bootstrap method is the most efficient for skewed size from 0 to 2.50 and sample size from 4 to 25. 2. For right skewed distribution, Shewhart method is the most efficient for skewed size from 0 to 0.50 and sample size from 2 to 25. Weighted Variance method is the most efficient for skewed size from 0.51 to 2.50 and sample size from 4 to 25. 3. The efficiency of each method increase as shift and sample size increase. | en |
dc.format.extent | 2436374 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.425 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แผนภูมิควบคุม | en |
dc.subject | การแจกแจงเบ้ | en |
dc.subject | การควบคุมคุณภาพ | en |
dc.title | การเปรียบเทียบแผนภูมิควบคุมคุณภาพเฉลี่ยสำหรับประชากรที่มีการแจกแจงเบ้ | en |
dc.title.alternative | A comparison on X-charts for skewed populations | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | สถิติศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | สถิติ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fcommva@acc.chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2002.425 | - |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornchamai.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.