Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57353
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีย์วรรณ อ่วมตานี-
dc.contributor.authorมธุรส เมืองศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-03-06T09:47:36Z-
dc.date.available2018-03-06T09:47:36Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57353-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล การเรียนรู้ตลอดชีวิต การได้รับการเสนอแนะ การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ และปัจจัยพยากรณ์ที่สามารถร่วมทำนายความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 358 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการเรียนรู้ตลอดชีวิต แบบสอบถมการได้รับการสอนแนะ แบบสอบถามการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และแบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติงาน แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงได้ค่าแอลฟาเท่ากับ .94 .68 .92 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไควสแคว์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อยู่ในระดับสูง(x-bar = 4.03, SD = .41) 2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านประสบการณ์การทำงาน การได้รับการสอนแนะ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .094 .442 .511 และ.513 ตามลำดับ p น้อยกว่า .05) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านการได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมทางการพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 3. ตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับดังนี้ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ การได้รับการสอนแนะ และประสบการณ์การทำงาน โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 40.2 (R[superscript 2 ] = .402) ได้คะแนนในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน =.348 การเรียนรู้ตลอดชีวิต +.307 การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน +.129 การได้รับการเสนอแนะ + .105ประสบการณ์ในการทำงานen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were:1) to study nursing competence of staff nurses, 2) to analyze relationships between personal factors, life long learning, coaching, empowerment and nursing competence of staff nurses, and 3) to determine predictors of nursing competence of staff nurses. Study samples were 358 staff nurses, selected by multi-stage sampling from hospitals under the Jurisdiction of Ministry of Defense. The research instruments consisted of Life Long Learning, Coaching, Empowerment and Nursing competence Questionnaire. All questionnaire were tested for content validity by a panel of experts. The Cronbach's alpha reliability of those questionnaire were .94, .68, .92 and .91 respectively. Then, the data were analyzed by Percentage, Mean, Standard Deviation, Chi-square, Pearson Product Moment Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis. Major results of this study were as follows: 1. Mean score of nusing competence were at high level (x-bar = 4.03, SD = .41). 2. There were positively significant relationship between work experience, life long learning, coaching, empowerment and nursing competence (r = .094 , .442, .511 and .513 respectively , p is less than .05). 3. Life long learning, empowerment, coaching and work experience were the predictors of nursing competence at the level .05.These predictors accounted for 40.2 percent of the variance (R[superscript 2] = .402).The standardized equation was: Nursing competence = .348 life long learning + .307 empowerment + .129 coaching + .105 work experience.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.834-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยาบาลen_US
dc.subjectโรงพยาบาลen_US
dc.subjectโรงพยาบาลทหารen_US
dc.subjectการทำงานen_US
dc.subjectNursesen_US
dc.subjectHospitalsen_US
dc.subjectMilitary hospitalsen_US
dc.subjectWorken_US
dc.titleปัจจัยทำนายความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมen_US
dc.title.alternativePredictors of nursing competence of staff nurses, hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Defenseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAreewan.O@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.834-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mathurose_mu_front.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
mathurose_mu_ch1.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
mathurose_mu_ch2.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
mathurose_mu_ch3.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
mathurose_mu_ch4.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
mathurose_mu_ch5.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
mathurose_mu_back.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.