Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57361
Title: การเตรียมไบโอพอลิเมอริกนาโนพาร์ติเคิลที่บรรจุกลูโคซามีนสำหรับใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม
Other Titles: Preparation of biopolymeric nanoparticles containing glucosamine for treatment of Osteoarthritis
Authors: ปราณี เลิศสุทธิวงค์
วราวุฒิ ตั้งพสุธาดล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ
Subjects: อนุภาคนาโน
วัสดุโครงสร้างนาโน
กลูโคซามีน
ข้อเสื่อม
ข้อเสื่อม -- การรักษา
ยา -- การควบคุมการปลดปล่อย
Nanoparticles
Nanostructured materials
Glucosamine
Osteoarthritis
Osteoarthritis -- Treatment
Drugs -- Controlled release
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการผลิตอนุภาคนาโนแคลเซียมแอลจิเนต-ไคโตซานและแคลเซียมแอลจิเนต-อนุพันธ์ที่มีประจุบวกของไคโตซานเพื่อใช้กักเก็บสารกลูโคซามีนที่เตรียมด้วยวี ionotropic gelation ซึ่งเป็นการตกตะกอนพอลิเมอร์ที่มีประจุบวก ได้แก่ ไคโตซาน และอนุพันธ์ของไคโตซานที่มีประจุบวกถาวรได้แก่ N.N.N-trimethylammonium chitosan chloride (TMC) และ N-[(2-hydroxyl-3-trimethylammonium)propyl]chitosan chloride (HTCC) กับพอลิเมอร์ที่มีประจุลบ คือ แอลจิเนต โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขึ้นรูปอนุภาค วิธีการบรรจุกลูโคซามีน ประสิทธิภาพในการบรรจุ เสถียรภาพ และการปลดปล่อยกลูโคซามีนจากอนุภาคในสภาวะจำลอง จากผลการทดลองพบว่า โซนิเคชันและความเข้มข้นของพอลิเมอร์ประจุบวกมีผลต่อขนาดของอนุภาคนาโนที่พัฒนาขึ้น โดยระยะเวลาในการโซนิเคชันที่เหมาะสม คือ 20 นาที และความเข้มข้นของสารละลายไคโตซานและอนุพันธ์ของไคโตซานเท่ากับ 0.15 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร โดยกลูโคซามีนควรละลายในสารละลายแอลจิเตเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการกักเก็บมากที่สุด แบบแผนการปลดปล่อยกลูโคซามีนของอนุภาคนาโนในสภาวะจำลองทีพีเอช เท่ากับ 7.4 พบว่าการปลดปล่อยกลูโคซามีนในช่วงระยะเวลา 6 ชั่วโมงแรกค่อย ๆ เพิ่มขึ้นด้วยอัตราการปล่อยที่ค่อนข้างคงที่ หลังจากนั้นการปล่อยจะช้าลงและคงที่ นอกจากนี้ผลของเสถียรภาพของอนุภาคที่บรรจุกลูโคซามีนที่จัดเก็บไว้แบบสารละลายแขวนลอยและแบบแห้งในอุณหภูมิห้อง พบว่าอนุภาคที่จัดเก็บแบบสารละลายแขวนลอยมีแนวโน้มที่อนุภาคจะรวมตัวและตกตะกอนเมื่อเวลาผ่านไป 60 วัน ขณะที่อนุภาคที่จัดเก็บแบบแห้งขนาดอนุภาคไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
Other Abstract: In this work, nanoparticles of calcium alginate-chitosan and calcium alginate-positively charged chitosan derivatives used for entrapment of glucosamine were prepared. The particle formation was based on ionotropic gelation of cationic polymers (i.e. chitosan, N,N,N-trimethylammonium chitosan chloride (TMC), N-[(2-hydroxyl-3-trimethylammonium) propyl]chitosan chloride (HTCC) and an anionic polymer. The parameters affecting the formation, method of entrapment of glucosamine, entrapment efficiency, stability and release profile of glucosamine form nanoparticles were investigated. The results indicated that sonication and concentration of cationic polymers affected the size of nanoparticles. The optimal sonication time was 20 min and 0.15 mg/ml of cationic polymers should be used in the process. To get highest entrapment efficiency, glucosamine should be added in alginate solution. The in vitro release of glucosamine-loaded nanoparticles was investigated in phosphate buffer solution at pH 7.4. The results showed that glucosamine was released at an almost constant rate in the first 6 h. After that the release rate decreased and halted until the test period of 24 h. In addition, the stability of glucosamine-loaded nanoparticles in aqueous solution and in dry forms was studied at room temperature. The results indicated that the nanoparticles in aqueous solution for as long as 60 days tended to aggregate and precipitate while the size of dried glucosamine-loaded nanoparticles was slightly changed.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57361
Type: Technical Report
Appears in Collections:Metal - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranee Le_b19278263.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.