Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57827
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแบ่งปันความรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Factors affecting knowledge sharing of basic education school teachers in Bangkok metropolis |
Authors: | วันวิสาข์ เอมซ์บุตร |
Advisors: | อวยพร เรืองตระกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | rauyporn@chula.ac.th |
Subjects: | ครู ภาวะผู้นำ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การบริหารองค์ความรู้ Teachers Leadership Basic education Knowledge management |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ประการที่ 1 เพื่อวิเคราะห์ระดับการแบ่งปันความรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร และประการที่ 2 เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแบ่งปันความรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูที่สอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 342 คน ซึ่งได้มาจากสุ่มแบบสองขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา และขั้นตอนที่ 2 เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการแบ่งปันความรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย โดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีการแบ่งปันความรู้อยู่ในระดับมาก โดยมีระดับพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ โดยนัยสูงกว่าระดับพฤติกรมการแบ่งปันความรู้ที่ชัดเจน สำหรับประเด็นความรู้ที่ครูแบ่งปันกันมากที่สุดคือ ความรู้เกี่ยวกับความเป็นครู และประเด็นความรู้ที่ครูแบ่งปันกันน้อยที่สุด คือ ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. โมเดลปัจจัยที่ส่งผลต่อการแบ่งปันความรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านสังคม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X[superscript2] = 17.83, df = 18, p = .47, GFI = .99, AGFI = 97, RMR = .02) และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการแบ่งปันความรู้ได้ร้อยละ 49 โดยมีปัจจัยด้านสังคมเพียงปัจจัยเดียว ที่ส่งผลต่อการแบ่งปันความรู้ของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และส่งผลโดยตรงในทางบวกต่อการแบ่งปันความรู้ของครู แสดงว่า การมีปฏิสัมพันธ์กัน และการร่วมมือร่วมใจกันในการปฏิบัติงานจะส่งผลให้การแบ่งปันความรู้ของครูภายในสถานศึกษาสูงขึ้น |
Other Abstract: | The purposes of this research were (1) to analyze the knowledge sharing level and (2) to analyze the causal model of factors affecting knowledge sharing of basic education school teachers in Bangkok Metropolis. Sample was 342 basic education primary and secondary school teachers in Bangkok metropolis. The sample was stratified by school size and school-based curriculum. The research instrument was a questionnaire about knowledge sharing. SPSS program was performed to analyze descriptive statistics and LISREL program was performed to analyze factors affecting knowledge sharing. The major finding were as follows: 1. The teachers shared knowledge in high level. Tacit knowledge sharing behavior was higher performance level than explicit knowledge sharing behavior. For basic knowledge of teachers, knowledge of teacher ethics was the highest knowledge sharing level and knowledge of teacher ethics was the highest knowledge sharing level and knowledge of ICT was the lowest knowledge sharing level. 2. The causal model consisted of organize personal and social factors was very well fitted with the empirical data (X[superscript 2] = 17.83, df = 18, p = .47, GFI = .99, AGFI = 97, RMR = .02). Factors of the model could explain variance of variable for knowledge sharing about 49 percent. Social factor was a single factor significantly affected on knowledge sharing of teachers at .01 level. Social factor was positive direct effect on knowledge sharing of teachers which social interaction and team work were increasing affect on knowledge sharing of basic education school teachers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57827 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.622 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.622 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
vanvisa_am_front.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
vanvisa_am_ch1.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
vanvisa_am_ch2.pdf | 5.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
vanvisa_am_ch3.pdf | 2.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
vanvisa_am_ch4.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
vanvisa_am_ch5.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
vanvisa_am_back.pdf | 8.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.