Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5782
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนทร บุญญาธิการ | - |
dc.contributor.advisor | แน่งน้อย ศักดิ์ศรี | - |
dc.contributor.author | ดิเรก วงค์พนิตกฤต | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-04T08:54:04Z | - |
dc.date.available | 2008-02-04T08:54:04Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741312679 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5782 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | เรือนไทยจัดได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองต่อลักษณะของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมของไทยเมื่อสภาพแวดล้อมยังสมบูรณ์เช่นในอดีต โดยเป็นการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการทำความเข้าใจเงื่อนไขและปัจจัยทางธรรมชาติของท้องถิ่น เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปจึงเกิดคำถามถึงความเหมาะสมของเปลือกอาคารเรือนไทยในการตอบสนองต่ออุณหภูมิอากาศภายนอกซึ่งสูงกว่าในอดีต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาตัวแปรและศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่ส่งผลต่อการถ่ายเทความร้อนผ่านเปลือกอาคารส่วนต่างๆ ของเรือนไทย การวิจัยนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนคือ 1) ส่วนของหลังคา ซึ่งตัวแปรที่ทำการศึกษาคือ วัสดุมุงหลังคา และมุมเอียงของหลังคา 2) ส่วนของผนังมีตัวแปรที่ทำการศึกษาคือ ทิศทางการวางผนัง สภาวะการได้รับรังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์ และสภาวะการไหลเวียนอากาศ 3) ส่วนของพื้นซึ่งจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนของเปลือกอาคารที่ไม่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์โดยตรงและมีการแลกเปลี่ยนความร้อนกับดิน ผลการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่ออุณหภูมิอากาศภายในสูงสุดในช่วงกลางวันพบว่า ในเรื่องของหลังคา หลังคาหญ้าคาจะมีอุณหภูมิอากาศภายในสูงสุดต่ำกว่าหลังคากระเบื้องดินเผาประมาณ 5.4 องศาเซลเซียส ขณะที่หลังคามุมเอียง 60 องศาจะมีอุณหภูมิอากาศภายในสูงสุดต่ำกว่าหลังคามุมเอียง 30 องศาประมาณ 2.7 องศาเซลเซียส จากผลของการวิเคราะห์ผนังพบว่าผนังที่ไม่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์โดยตรงและมีการไหลเวียนอากาศธรรมชาติจะมีอุณหภูมิอากาศภายในสูงสุดต่ำกว่าผนังภายใต้สภาวะอื่นๆ และมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอกประมาณ 1 องศาเซลเซียส ขณะที่ผนังที่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์โดยตรงและไม่มีการไหลเวียนอากาศจะมีอุณหภูมิอากาศภายในสูงสุดกว่าผนังภายใต้สภาวะอื่นๆ โดยมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอกถึงประมาณ 9 องศาเซลเซียส รังสีดวงอาทิตย์โดยตรงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผนังแต่ละทิศทาง ขณะที่การไหลเวียนอากาศจะช่วยลดความแตกต่างของอุณหภูมิผนังในแต่ละทิศทาง จากผลของการวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนผ่านพื้นพบว่ามีอุณหภูมิอากาศภายในสูงสุดที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิอากาศภายนอกโดยที่ดินจะมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศ ในช่วงเวลากลางคืน หลังคาจะมีการสูญเสียความร้อนให้กับท้องฟ้าส่งผลให้มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศ โดยหลังคาที่มีมุมเอียง 30 องศาจะมีอุณหภูมิอากาศภายในเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดโดยมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิ อุณหภูมิอากาศภาบยอกปนะใสฯ 1.5 องศาเซลเซียส สำหรับผนังซึ่งเป็นวัสดุมวลสารน้อยไม่มีการสะสมความร้อนเมื่ออุณหภูมิอากาศภายนอกลดต่ำลง ผนังจะมีการสูญเสียความร้อนให้แก่สภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็วและส่งผลให้อุณหภูมิลดต่ำลงจนใกล้เคียงกับอุณหภูมิอากาศภายนอกโดยแตกต่างจากอุณหภูมิอากาศภายนอกไม่เกิน 1 องศาเซลเซียส ในส่วนของพื้นในเวลากลางคืนนี้พบว่าอุณหภูมิของผิวดินจะสูงกว่าอุณหภูมิอากาศซึ่งจะส่งผลให้พื้นมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิอากาศ เนื่องมาจากการแลกเปลี่ยนความร้อนกับผิวดิน ผลการวิจัยสรุปได้ว่าเปลือกอาคารของเรือนไทยเป็นวัสดุมวลสารน้อยที่มีค่าการสะสมความร้อนน้อยเป็นเหตุให้อุณหภูมิอากาศภายในเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิอากาศภายนอกโดยมีรังสีดวงอาทิตย์เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของเปลือกอาคาร การไหลเวียนอากาศจะทำให้อุณหภูมิอากาศภายในเข้าใกล้กับอุณหภูมิอากาศภายนอก ด้วยเหตุนี้เรือนไทยจึงมีลักษณะหลังคาที่สูงชัน เพื่อที่จะลดมุมที่จะได้รับรังสีของดวงอาทิตย์ ในส่วนของผนัง และมีการไหลเวียนอากาศเพื่อลดอุณหภูมิอากาศภายในตัวเรือน พื้นเรือนที่ยกสูงและมีการใช้พื้นที่ใต้ถุนเรือนในเวลากลางวันเพื่อให้ได้รับความเย็นจากดิน | en |
dc.description.abstractalternative | The traditional Thai house is the architecture that responds to the Thai lifestyle and Thai environment when the environment was still completed in the past. It was created by the understanding of the environmental condition and environmental assets. Since the environment has changed, there is the question in the appropriateness of the building envelope of the traditional Thai house when the outside environment has changed. The objectives of this research is to find variables and study the impacts of variables that affect the heat transfer through each part of the building envelope. In the research methodology, there are 3 parts of study. First, for the roof simulation, variables are the roof materials and the roof slope. Second, for the wall simulation, variables are wall orientation, shading and natural ventilation condition. Third, for floor simulation, the issue is to study the heat transfer behavior through the envelope that is not affected from direct sun and ground radiation. The result of the studyrevealed that during the daytime, from the anylysis of roof simulation, the maximum air temperature inside the test cell of lalang roof is about 5.4 ํC lower than the tile roof. The maximum temperature inside the test cell with 60 degree slope roof is about 2.7 ํC lower than the 30 degree slope roofs. From the wall simulation, the temperature of the shaded wall and vented opening is the lowest one. In this case the inside air temperature is about 1 ํC higher than the outside air temperature. The temperature of the no-shaded wall and no-vented opening is the highest one, and about 9 ํC higher than the outside air temperature. Direct sun and ventilation condition affect the temperature of the wall in different orientations. In the condition that the wall receives direct sun (no shading), the temperature of the wall in different orientation is obviously different. The direct sun has significant effect onthe wall temperature causing by the intensity of the radiation from various orientations. In all cases, ventilation condition can decrease the magnitude of temperature different. From the floor simulation, the inside air temperature is slightly lower than the of outside air temperature because of the mass effect from the ground. This study revealed that the building envelopes of the traditional Thai house are the lightweight materials which store less heat. For this reason, the inside air temperature is changed according to the outside air temperature. Solar radiation is the significant variable that affects temperature of building envelope while natural ventilation makes inside air temperature be the same as outside air temperature. The use of the coolness from the nature is the coolness from the ground in daytime and from night sky longwave radiation of the roof in nighttime. | en |
dc.format.extent | 7139949 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.114 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความร้อน -- การถ่ายเท | en |
dc.subject | เรือนไทย | en |
dc.subject | หลังคา | en |
dc.subject | ผนัง | en |
dc.title | การวิเคราะห์พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านเปลือกอาคารของเรือนไทย | en |
dc.title.alternative | An analysis of the heat transfer behaviors through building envelope of the traditional Thai house | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีอาคาร | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Nangnoi.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.114 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.