Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57869
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความว้าเหว่ การกำกับอารมณ์ด้านการประเมินความคิดใหม่ การกำกับอารมณ์ด้านการยับยั้งการตอบสนอง การสนับสนุนทางสังคม และปัญหาทางด้านจิตใจ ในกลุ่มผู้สูงอายุ
Other Titles: Relations among loneliness, cognitive reappraisal, expressive suppression, social support and psychological distress in elderly adults
Authors: โชติกา จันทรลาวัณย์
นภัสธนกรณ์ วรภัทรพูนสุข
พิมลนาฏ จันทร์กลั่น
Advisors: สมบุญ จารุเกษมทวี
กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Somboon.J@Chula.ac.th,somboon.kla@gmail.com
Kullaya.D@Chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ -- จิตวิทยา
Older people -- Psychology
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความว้าเหว่ การกำกับอารมณ์ด้านการประเมินความคิดใหม่ การกำกับอารมณ์ด้านการยับยั้งการตอบสนอง การสนับสนุนทางสังคม และปัญหาทางด้านจิตใจ (ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด) ในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความว้าเหว่ แบบวัดการกำกับอารมณ์ แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดปัญหาทางด้านจิตใจ ซึ่งใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 22 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มีอายุเฉลี่ย 61.77±1.6 ปี ผลจากการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างตัวแปรแต่ละตัว พบว่า ตัวแปรความว้าเหว่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรปัญหาทางด้านจิตใจ เท่ากับ .32** (p < .01) และตัวแปรการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับตัวแปรปัญหาทางด้านจิตใจ เท่ากับ -.22 ** (p < .01) ผลจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ความว้าเหว่ การกำกับอารมณ์ด้านการประเมินความคิดใหม่ การกำกับอารมณ์ด้านการยับยั้งการตอบสนอง และการสนับสนุนทางสังคมร่วมกันทำนายปัญหาทางด้านจิตใจได้ร้อยละ 11.8 (p < .001) โดยมีเพียงตัวแปรความว้าเหว่ที่สามารถทำนายปัญหาทางด้านจิตใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .28, p < .05) ส่วนการกำกับอารมณ์ด้านการประเมินความคิดใหม่ การกำกับอารมณ์ด้านการยับยั้งการตอบสนอง และการสนับสนุนทางสังคมไม่สามารถทำนายปัญหาทางจิตใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purpose of this research study was to investigate relationships among loneliness, cognitive reappraisal, expressive suppression, social support and psychological distress (depression, anxiety, stress) in elderly adults. Participants were 150 elderly who live in Bangkok Metropolitan Region. The instruments used were Self-report Questionnaire, The UCLA Loneliness Scale Version 3, Emotion Regulation Questionnaire (ERQ), The Duke-UNC Functional Social Support Questionnaire (FSSQ) and Depression, Anxiety and Stress Scale (DASS). Descriptive statistics, Correlation Analysis and Multiple Regression Analysis were conducted using SPSS for Windows Version 22. The results showed that participants had the average age of 61.77 (SD = 1.6). A positive correlation was found between loneliness and psychological distress (r = .32**, p < .01). A negative correlation was found between social support and psychological distress (r = -.22 **, p < .01). Multiple Regression Analysis indicated that only loneliness significantly predicted psychological distress and accounted for a significant amount of its variance (11.8%, p < .001). Findings were discussed in terms of research contribution and clinical implications in geriatric mental health enhancement.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57869
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chotika_ch.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.