Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57928
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สรวิศ รัตนชาติชูชัย | - |
dc.contributor.advisor | สุภลัคน์ ลวดลาย | - |
dc.contributor.author | วีรกร พงษ์วัน | - |
dc.contributor.author | ศรีสุภา ด้วงลา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2018-03-26T03:25:08Z | - |
dc.date.available | 2018-03-26T03:25:08Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57928 | - |
dc.description | โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016 | en_US |
dc.description.abstract | การสวดมนต์ทำสมาธิ คือ การฟังหรือการท่องวลีและถ้อยคำเป็นทำนอง เพื่อรวมความใส่ใจให้เกิดสมาธิ ทั้งนี้งานวิจัยจำนวนหนึ่งระบุว่า การสวดมนต์ทำสมาธิจะก่อให้เกิดความผ่อนคลายขึ้นภายในระบบประสาท โดยแสดงออกมาในลักษณะการเพิ่มขึ้นของคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดอัลฟ่า ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการผ่อนคลายอย่างตระหนักรู้ตัวของบุคคล โดยงานวิจัยลักษณะดังกล่าวยังมีจำนวนจำกัดในบริบทสังคมไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าการฟังบทสวดมนตร์ทำสมาธิ เช่น บทสวดมนต์ทำสมาธิก่อนนอน ก่อให้เกิดการผ่อนคลายขึ้นในระดับสมองหรือไม่ โดยใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) สมมติฐาน: บริเวณสมองส่วนหน้า (Frontal cortex) จะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดอัลฟ่าขณะที่นั่งฟังบทสวดมนต์ก่อนนอนที่แตกต่างไปในทิศทางที่เพิ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับค่าพื้นฐาน (Baseline) ทั้งแบบหลับตาและแบบลืมตา วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรีที่มีสุขภาพดี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 10 คน แบ่งเป็นชาย 5 คน หญิง 5 คน ที่ผ่านเกณฑ์คัดกรองที่ผู้วิจัยตั้งไว้ ทั้งนี้ในขั้นการทดลองมีนำเสนอกระบวนทัศน์ของลำดับการนำเสนอบทสวดมนตร์ทำสมาธิก่อนนอน และใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองในการวัดกิจกรรมทางประสาท ผลการวิจัย: จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ขณะที่ฟังการฟังบทสวดมนต์ทำสมาธิ ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีความเปลี่ยนแปลงของคลื่นอัลฟ่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับค่าพื้นฐานแบบลืมตา (t(9) = -2.29, p = .48) แต่ไม่พบความแต่ต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคลื่นอัลฟ่าขณะฟังบทสวดมนต์ทำสมาธิ เมื่อเทียบกับค่าพื้นฐานการหลับตา (t(9) = 1.44, p = .48) | en_US |
dc.description.abstractalternative | Mantra is a part of meditative practice that involves the repeatition of verbal utterances to facilitate individual's attentional focus. Several EEG studies have suggested that various kind of mantra meditation could induce positive changes in the brain, particularly the increases in alpha waves which are correlated to greater sense of physical and mental relaxation. Nevertheless, the effect of Buddhist mantra is yet examined in Thai context. Aims: the purpose of this study is to examine whether Thai bed-time mantra meditation could induce relaxation effect on EEG activity. It was hypothesized that there would be an increase in frontal alpha activity whilst listening to the Thai bed-time mantra when compare with open-eyed and close-eyed resting baseline. Methods: Ten undergraduates students (5 male and 5 female) from Chulalongkorn university regardless of faculty were recruited into the study. All participants must be right-hand dominant, physical and mentally healthy. In data acquisation process, Thai bed-time paradigm and electroencephalogram (EEG) were implemented. Results: It was found that whilst listening to the mantra, alpha wave has increased significantly when compare to open-eyed baseline (t(9) = -2.29, p = .48). However, there was no statistical difference in brain wave activity between listen to the mantra meditation and closed-eyed baseline (t(9) = 1.44, p = .48). The results partially support the hypothesis. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การผ่อนคลาย | en_US |
dc.subject | สมาธิ -- แง่จิตวิทยา | en_US |
dc.subject | การสวดมนต์ -- แง่จิตวิทยา | en_US |
dc.subject | Relaxation | en_US |
dc.subject | Samadhi -- Psychological aspects | en_US |
dc.subject | Prayer -- Psychological aspects | en_US |
dc.title | ผลของการฟังบทสวดมนตร์ทำสมาธิต่อการผ่อนคลายผ่านการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางประสาทด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง EEG | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Thai mantra meditation on relaxation: an eeg study | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Psy - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Veerakorn_Ph.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.