Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5796
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวลักษณ์ เลิศบุศย์ สุรพลชัย-
dc.contributor.advisorมานพ พงศทัต-
dc.contributor.authorวาสินี ลิ่มอรุณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2008-02-05T02:31:16Z-
dc.date.available2008-02-05T02:31:16Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741303858-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5796-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractศึกษาลักษณะและสภาพด้านสังคมและเศรษฐกิจ การวางแผน เหตุผลในการตัดสินใจประมูลซื้อห้องชุดและความพึงพอใจ ของผู้ประมูลซื้อห้องชุดระดับราคาปานกลางในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยมีสาระสำคัญดังนี้ การวางแผนเพื่อประมูลซื้อห้องชุดระดับราคาปานกลาง พบว่าผู้ประมูลส่วนใหญ่มีการวางแผนที่ดี มีการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงิน โดยการสำรวจค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการประมูลซื้อห้องชุด และทำการพิจารณาภายใต้งบประมาณที่มีอยู่ นอกจากนี้ผู้ประมูลมีการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยการลงทะเบียนที่โครงการอาคารชุดและสำรวจสภาพห้องชุด สำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกและราคาห้องชุด ของโครงการอื่นที่เปิดขายปกติในบริเวณใกล้เคียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตั้งราคาประมูลซื้อห้องชุด และเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ผลการพิสูจน์สมมุติฐาน พบว่าผู้ประมูลซื้อห้องชุดด้วยเงินสด และผู้ประมูลซื้อห้องชุดโดยการกู้เงินจากสถาบันการเงิน มีการวางแผนที่ดีและมีขั้นตอนในการตัดสินใจ ประมูลซื้อห้องชุดที่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นในส่วนของการวางแผนเกี่ยวกับการตั้งราคาประมูลซื้อ พบว่าผู้ประมูลซื้อห้องชุดด้วยเงินสด จะให้ความสำคัญกับการตั้งราคาประมูลซื้อมากกว่า เนื่องจากผู้ประมูลซื้อห้องชุดด้วยเงินสด มีการกำหนดจำนวนเงินที่แน่นอน ตามกำลังซื้อหรือจำนวนเงินที่ตนเองมีอยู่ จากการที่ผู้ประมูลมีการวางแผนที่ดี ก่อนตัดสินใจประมูลซื้อห้องชุด ส่งผลให้ผู้ประมูลมีความพอใจทั้งในเรื่องของการซื้อขาย โดยวิธีการประมูล ราคาที่ประมูลซื้อห้องชุด สภาพห้องชุดและสภาพแวดล้อมทั่วไปของโครงการ ทำให้ผู้ประมูลส่วนใหญ่ไม่ต้องการขายห้องชุดที่ประมูลซื้อ 81.2% สำหรับผู้ที่ต้องการขายห้องชุด 18.8% แบ่งเป็นผู้ที่ต้องการขายห้องชุด เนื่องมาจากความไม่พอใจที่เกิดจากการประมูลซื้อห้องชุด 9.9% สาเหตุสำคัญเนื่องจากผู้ประมูลไม่มีการวางแผน และไม่ได้ศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเข้าร่วมประมูล แต่ตัดสินใจประมูลซื้อห้องชุดโดยไม่ตั้งใจ เนื่องจากการเสนอราคาแข่งขันกันในแต่ละครั้ง ผู้ประมูลต้องใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจที่รวดเร็ว แต่เนื่องจากผู้ประมูลไม่มีข้อมูลด้านต่างๆ มาประกอบการตัดสินใจ ประกอบกับแรงกระตุ้นจากเจ้าหน้าที่ประมูล ที่ต้องการให้ผู้ประมูลเสนอราคาแข่งขันกับผู้ประมูลรายอื่นต่อไป ทำให้ตัดสินใจโดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน และเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด ประมูลซื้อห้องชุดได้ในราคาที่สูงกว่า ความสามารถในการจ่ายหรือผ่อนชำระได้ ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจและต้องการที่จะขายห้องชุดที่ประมูลซื้อได้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การประมูลที่อยู่อาศัยนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นรูปแบบการขายที่มีประสิทธิภาพในช่วงสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ สามารถช่วยลดจำนวนบ้านว่างในตลาดที่อยู่อาศัยได้มากกว่าและเร็วกว่าการชายโดยวิธีอื่น แต่การประมูลที่อยู่อาศัยก็มีส่วนในการเพิ่มจำนวนบ้านมือสองที่รอการขายในตลาดที่อยู่อาศัย ดังนั้นเพื่อให้การประมูลที่อยู่อาศัย เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ผู้ประมูลควรมีการวางแผนที่ดี และมีความพร้อมทางด้านการเงินก่อนตัดสินใจเข้าร่วมประมูลซื้อที่อยู่อาศัยen
dc.description.abstractalternativeTo study consumer social and economic characteristics and conditions, planning, reasons behind and satisfaction after the purchase through auction of a medium priced condominium unit in the Bangkok metropolitan area. Results of this study show that the majority of bidders have carefully planned. They have prepared the necessary capital and only consider projects within their budget. They also have researched to learn additional information about a project's registration. They have examined the current physical conditions and facilities as well as made price comparisons between the units they will bid on and the current prices of other similar projects in order to calculate the best bid and make their final decision. The study also found that those who made their purchases with cash payments and those who took out mortgages had all planned well and their decision processes were not that different, except in deciding on their bid. Those who made a cash purchase appeared to give more importance to the determination of their bid as they had a definite amount they would spend in accordance with either their desire or actual capital. Since the bidders had planned well, they were satisfied with the bidding process as far as the unit's price, physical conditions and surrounding environment of the project. As much as 81.2% of the bidders did not plan to sell their condominium unit. Of the remaining 18.2%, who wanted to sell, 9.9% wanted to sell because they were dissatisfied with their bidding. This was because they had not planned or researched well before entering their bid. They did not take time, or rushed their decision. Each time, when entering a bid, bidders often have to make their decision quickly, and if they do not have data and information, they must rely on the auctioneer who wants them to enter a competing bid. The bidders therefore rush and do not think carefully. Thus, ultimately, they make a mistake and offer to high a bid when compared to what they can really afford, whether making a single cash payment or monthly installments. So, now they must try to sell the unit they have purchased. The results also showed that the condominium unit auctions, whatever their process, are helping to reduce the number of empty units now available on the market and much faster than other sales methods. Still, this is causing an increase in the second hand home market. Thus, in order for a bidder to enjoy the greatest benefits, they must first plan carefully and have prepared the necessary capital, or method of payment before hand.en
dc.format.extent1863314 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.124-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอาคารชุด -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectการซื้อบ้านen
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคen
dc.subjectการประมูลที่อยู่อาศัยen
dc.titleการวางแผนเพื่อประมูลซื้อห้องชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง ในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeConsumer planning for the auction of medium priced condominiums in Bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSaowaluck.Su@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.124-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasinee.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.