Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58029
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย | - |
dc.contributor.author | อภิสิทธิ์ แสงสีดา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-04-10T01:42:20Z | - |
dc.date.available | 2018-04-10T01:42:20Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58029 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับ อาการทางวงจรชีวภาพที่เปลี่ยนไป และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินไทยในเที่ยวบินกลางวัน และเที่ยวบินกลางคืนที่เดินทางไปทวีปยุโรป วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภทของตัวอย่างและกำหนดสัดส่วนตัวอย่างอย่างเป็นระบบจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ แบบวัดคุณภาพการนอนหลับ Verran and Snyder – Halpem (VS sleep Scale) ฉบับภาษาไทย แบบสอบถามปัจจัยรบกวนการนอนด้านสิ่งแวดล้อมและภายภาพ และ แบบสอบถาม Columbia Jet Lag Scale ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรม SPSS for window สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวย่าง 60% เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 37.81 ปี และ 79.5% สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีคุณภาพการนอนหลับในมิติการถูกรบกวนการนอนอยู่ในระดับน้อย 63.3% คุณภาพการนอนหลับในมิติประสิทธิภาพการนอนอยู่ในระดับดี 55.5% คุณภาพการนอนหลับในมิติการหลับชดเชยอยู่ในระดับน้อย 44.5% และมีอาการทางวงจรชีวภาพที่เปลี่ยนไปในระดับน้อย 56.0% โดยคุณภาพการนอนหลับมิติการถูกรบกวนการนอนมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมและการมีสมาชิกในครอบครัวที่ต้องดูแลอย่างมีนัยสำคัญ การนอนหลับในมิติประสิทธิภาพการนอนมีความสัมพันธ์กับการมีสมาชิกในครอบครัวที่ต้องดูแล แสงสว่าง เสียงดัง การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และอาการทางวงจรชีวภาพที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ คุณภาพการนอนหลับในมิติการหลับชดเชยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม และอาการทางวงจรชีวภาพที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ อาการทางวงจรชีวภาพที่เปลี่ยนไปมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยที่สามารถใช้พยากรณ์คุณภาพการนอนหลับในมิติการถูกรบกวนการนอนได้แก่ เสียงดัง การใช้ยานอนหลับ เที่ยวบินกลางวัน รายได้ที่ไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ ความกระหายน้ำ ขาดการออกกำลังกาย และ การไม่ได้เตรียมตัวก่อนปฏิบัติงาน ปัจจัยที่สามารถใช้พยากรณ์คุณภาพการนอนหลับในมิติประสิทธิภาพการนอนได้แก่คุณภาพการนอนหลับในมิติการถูกรบกวนการนอน และการมีบุตร ปัจจัยที่สามารถใช้พยากรณ์คุณภาพการนอนหลับในมิติการหลับชดเชยได้แก่ความหนาวเย็น คุณภาพการนอนหลับในมิติประสิทธิภาพการนอน สถานภาพสมรสโสด การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และการมีบุตร ปัจจัยที่สามารถใช้พยากรณ์อาการทางวงจรชีวภาพที่เปลี่ยนไปได้แก่ คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี การมีโรคประจำตัว รายได้ที่ไม่เพียงพอ และ ความกระหายน้ำ คุณภาพการนอนหลับของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีและอาการทางวงจรชีวภาพที่เปลี่ยนไปอยู่ในระดับต่ำ โดยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และ ปัจจัยรบกวนการนอนด้านสิ่งแวดล้อม และกายภาพอย่างมีนัยสำคัญ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this cross-sectional descriptive research were to explore quality of sleep, jet lag and related factors among cabin attendants of Thai airways in day and night flights towards Europe. The systematic purposive quota random sampling technique was used to enroll 400 subjects. The instrument were composed of self report questionnaire to assess for demographic information, health behavior and physical-environmental sleep disturbance factors, the Verran and Snyder -Halpem Sleep Scale - Thai version and the Columbia Jet Lag Scale - Thai version. Statistical analysis was done by using SPSS for windows. The data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, t-test, Pearson product moment Correlation Coefficiancy and stepwise multiple regression analysis. The results showed that 60% of sample was female with mean age of 37.8 years old and 79.5% were bachelor degree graduated. 63.3% of subjects had mild sleep disturbance, 55.5% and 44.5% of subjects had quality of sleep effectiveness and quality of sleep supplementation in good level, respectively. 56% of subjects experienced jet lag in mild level. Sleep disturbance was significantly related with sleep environment and having family member to be taken care of. Sleep effectiveness was significantly related with having family member to be taken care of, loud noise, light, caffeine drinking and level of jet lag. Sleep supplementation was significantly related with sleep environment and level of jet lag. From multiple regression analysis, factors that could predict sleep disturbance were loud noise, hypnotics drug usage, day flight, inadequate incomes, cigarette smoking, thirsty, lack of exercise and unprepared for the flight. Sleep effectiveness was predicted from severity of sleep disturbance and parenting. Sleep supplementation were predicted from chillness during sleep, level of sleep effectiveness, single, caffeine drinking and parenting. Factors predicted for jet lag were poor sleep effectiveness, having physical illness, inadequate incomes and thirsty. Sleep quality among cabin attendants of Thai airways in this study were found to be mostly in good level with low level of jet lag. Certain personal profile, caffeine drinking and disturbing sleep environment could be significantly related factors. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2028 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน | en_US |
dc.subject | พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน -- สุขภาพและอนามัย | en_US |
dc.subject | การนอนหลับ | en_US |
dc.subject | อาการเมาเวลาเหตุการบิน | en_US |
dc.subject | จังหวะชีวภาพ | en_US |
dc.subject | Flight attendants | en_US |
dc.subject | Flight attendants -- Health and hygiene | en_US |
dc.subject | Sleep | en_US |
dc.subject | Jet lag | en_US |
dc.subject | Biological rhythms | en_US |
dc.title | คุณภาพการนอนหลับ อาการทางวงจรชีวภาพที่เปลี่ยนไป และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินไทยในเที่ยวบินกลางวันและเที่ยวบินกลางคืนไปยังทวีปยุโรป | en_US |
dc.title.alternative | Quality of sleep, jet lag and related factors among cabin attendants of Thai airways in day and night flights towards Europe | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sookjaroen.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.2028 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
apisit_sa_front.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
apisit_sa_ch1.pdf | 793.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
apisit_sa_ch2.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
apisit_sa_ch3.pdf | 946.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
apisit_sa_ch4.pdf | 5.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
apisit_sa_ch5.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
apisit_sa_back.pdf | 2.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.