Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58046
Title: | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น |
Other Titles: | Predictive factors to health promoting behaviors of young adults |
Authors: | สุธิดา พุฒทอง |
Advisors: | สุรีพร ธนศิลป์ |
Advisor's Email: | ไม่ปรากฎข้อมูล |
Subjects: | การส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ -- พยากรณ์ พฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ -- พยากรณ์ Health promotion Health promotion -- Forecasting Health behavior Health behavior -- Forecasting |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายของปัจจัยคัดสรร กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2002) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย คัดเลือกโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานีจำนวน 400 ราย เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 9 ชุด ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในอดีต การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตน ความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อิทธิพลของครอบครัว อิทธิพลด้านสถานการณ์ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงของแบบสอบถามจำนวน 8 ชุดหลังโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .91, .94, .94, .91, .80, .90, .82 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเท่ากับ 3.56 (SD = .57) คะแนน 2. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในอดีต การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อิทธิพลของครอบครัว อิทธิพลด้านสถานการณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงและปานกลางกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p‹0.05; r= .80, .73, .62, .53, .50 และ .44 ตามลำดับ) แต่การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ‹0.05; r= -.28) 3. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในอดีต การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลของครอบครัว อิทธิพลด้านสถานการณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการรับรู้อุปสรรคสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ได้ร้อยละ 74.00 (Adjusted R2 = 0.74, p‹ .05) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2002) สามารถนำมาใช้ในการอธิบายและทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้เกือบทุกปัจจัย |
Other Abstract: | The purpose of this correlational predictive research were to examine predictive relationships among selected factors on health promoting behaviors of young adults. The theoretical framework was based on Pender’s Health Promotion Model. Four hundred young adults were selected from Nakonsrithammarat and Suratthani Province. Data were collected by using nine questionnaires, including the demographic questionnaires, Prior Health Promoting Behaviors, Perceived Barriers of Health Promoting Behaviors, Perceived Benefits of Health Promoting Behaviors, Percevied Self-efficacy in Health Promoting Behaviors, Health Promoting Behaviors-related Effect, Family Influences, Situational Influences and Health Promoting Behaviors Questionnaires. Content validity and reliability of the instruments were investigated. Cronbach’s alpha Coefficients of all measures, except demographic questionnaires, were .91, .94, .94, .91, .80, .90, .82 and .89, respectively. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Multiple Regression (Enter). Results were as follows: 1. The total mean score for health promoting behaviors was 3.56 (SD=0.57), and had scores at a moderated level. 2. Prior health promoting behavior, perceived benefits of health promoting behavior, perceived self-efficacy in health promoting behaviors, health promoting behavior-related affect, family influences and situational influences were significantly positive correlated at high and moderate level (p‹.05; r = .80, .73, .62, .53, .50, and .44, respectively), but perceived barriers of health promoting behaviors was significantly negative correlated at mild level with health promoting behaviors of young adults (p< .05; r= -.28). 3. Significantly predictors health promoting behaviors of young adults were prior health promoting behaviors, perceived self-efficacy in health promoting behaviors, family influences, situational influences, health promoting behaviors-related affect, and perceived barriers of health promoting behaviors (p<.05). The predictive power was 74 % of the variance (Adjusted R2 = 0.74, p‹ .05). The finding indicate that is usefullgiude for explaining and predicting health promoting behaviors of young adults. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58046 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.954 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.954 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sutida Putthong.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.