Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58052
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสำเรียง เมฆเกรียงไกร-
dc.contributor.advisorสุทธิชัย จิตรวาณิช-
dc.contributor.authorสุพรรษา จิรโชติขจรกุล-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2018-04-10T07:25:45Z-
dc.date.available2018-04-10T07:25:45Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58052-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีคือ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการที่มีโครงสร้างคณะกรรมการที่ดี กรรมการมีคุณสมบัติเหมาะสม รวมทั้งกรรมการปฏิบัติตามหน้าที่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งที่จะศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับ หน้าที่และความรับผิดของกรรมการตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่งได้บัญญัติหน้าที่ของกรรมการตามหลักความระมัดระวัง และหน้าที่ซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งบัญญัติความรับผิดของกรรมการของบริษัทจดทะเบียน เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ โดยผู้วิจัยจะศึกษาถึงประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวด้วย สำหรับประเด็นปัญหาทางกฎหมาย ผู้วิจัยพบว่าพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้กำหนดหลักการที่จะใช้วินิจฉัยว่าการตัดสินใจทางธุรกิจของกรรมการนั้น กรรมการสามารถเชื่อถือข้อมูลจากบุคคลใดได้บ้าง (หลัก Reliance) จึงควรที่จะบัญญัติเพิ่มเติมหลักดังกล่าวไว้ในกฎหมายไทย ประเด็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ บัญญัติห้ามกรรมการใช้ทรัพย์สินหรือโอกาสทางธุรกิจของบริษัท (Corporate Opportunities) ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการตีความและการปรับใช้กฎหมายได้ ประเด็นความรับผิดทางแพ่งร่วมกันของคณะกรรมการ ผู้วิจัยพบว่า พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดปัจจัยพิจารณาระดับความระมัดระวังของกรรมการไว้แตกต่างกันตามขอบเขตหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ หรือตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับการแต่งตั้ง กล่าวได้ว่า กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร (non-executive director) จึงมีระดับความรับผิดแตกต่างจากกรรมการที่เป็นผู้บริหาร (executive director) ประเด็นการให้ความคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ (Indemnity) ผู้วิจัยพบว่า กฎหมายไทยไม่ได้มีการบัญญัติดังกล่าวไว้ จึงควรบัญญัติกฎหมายกำหนดให้บริษัทให้ความคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เข้ารับตำแหน่งกรรมการบริษัทจดทะเบียน การกำหนดหน้าที่และความรับผิดให้แก่กรรมการบริษัทจดทะเบียนอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้บริษัทจดทะเบียนพัฒนาได้อย่างยั่งยืนen_US
dc.description.abstractalternativeAn important one of good corporate governance’s principle is Responsibilities and duties of the directors. In order to promote the effectiveness of board of directors functions, it consists of the structure of the board of directors, quality of each board member and also board of directors’ process. The purpose of this research is to explore the legal measures regarding the directors’ duties and liabilities under the Securities and Exchange Act (No.4) B.E. 2551 which such duties and liabilities are added more appeared on the Public Company Act B.E. 2535. The result of this research reveals that there is no statues law instructed that directors can rely on information or advice provided by other. It is recommendable that the legal principle of reliance should manifest in Thai law. The doctrine of usurpation of corporate opportunities which respect to the director’s duty of loyalty is addressed on Securities and Exchange Act. Lack of court precedent regarding this case in Thailand may cause problem in applying such law. Concerning the principle of duty of care under the Securities and Exchange Act. The standard of care of the directors’ are various from the scope of appointment or delegation. It applies that the liability of executive directors are not the same as an executive directors. It is recommended that Thai law should make company an obligatory to indemnify director, in order to ensure and promote the qualified person to become the listed company’s director. An appropriately statutory of directors’ duties and liabilities will promote the company’s growth sustainability.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการกำกับดูแลกิจการen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551en_US
dc.subjectหลักทรัพย์en_US
dc.subjectตลาดหลักทรัพย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยen_US
dc.subjectคณะกรรมการบริษัทen_US
dc.subjectบริษัทมหาชน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectCorporate governanceen_US
dc.subjectSecuritiesen_US
dc.subjectStock exchanges -- Law and legislation -- Thailanden_US
dc.subjectDirectors of corporationsen_US
dc.subjectCorporation lawen_US
dc.titleปัญหากฎหมายบางประการเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 : ศึกษากรณีหน้าที่และความรับผิดของกรรมการen_US
dc.title.alternativeLegal problems regarding corporate governance mearures within respect to the Securities and Exchange Act (No.4) B.E. 2551 : study on directors' duties and liabilitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่ปรากฎข้อมูล-
dc.email.advisorไม่ปรากฎข้อมูล-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supansa Chirachotkachonkun.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.