Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5808
Title: รูปแบบและประสิทธิผลของการสื่อสารในการดำเนินงานตามแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพคนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
Other Titles: Communication patterns and effectiveness according to the guideline of health promotion for the large size industrial workers
Authors: สุทธิภา วงศ์ยะลา
Advisors: อัญชลี ลีสวรรค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาชีวอนามัย
การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
การส่งเสริมสุขภาพลูกจ้าง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษารูปแบบการสื่อสารในการดำเนินงานตามแนวทางสร้างเสริมสุขภาพคนทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และ, ศึกษาประสิทธิผลของการสื่อสารในการดำเนินงานตามแนวทางสร้างเสริมสุขภาพคนทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยศึกษาจากการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผลการวิจัยเชิงคุณภาพในส่วนรูปแบบการสื่อสารในการดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพคนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พบว่า รูปแบบการสื่อสารจำแนกตามประเภทของสื่อดังนี้ คือ 1. การใช้สื่อบุคคล ในการเผยแพร่ความรู้ ให้คำปรึกษา แนะนำ และให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้ง การประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ แพทย์และพยาบาลประจำโรงงาน, แพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาล, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย, เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ, หัวหน้างานในระดับต่างๆ และพนักงานในโรงงานทุกคน 2. การใช้สื่อเฉพาะกิจ ในการเผยแพร่ความรู้และให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้ง การประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพได้แก่ การใช้สื่อ โปสเตอร์ แผ่นพับ ใบปลิว วารสาร ประกาศบริษัท ข่าวประชาสัมพันธ์ เสียงตามสายและ วิดีโอเทปเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ 3. การใช้สื่อมวลชน เพื่อให้ความรู้และผ่อนคลายความเครียดแก่พนักงาน ได้แก่ การใช้สื่อ โทรทัศน์ วิดีโอภาพยนตร์ และหนังสือพิมพ์ 4. การใช้สื่อกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การตรวจสุขภาพประจำปี การออกกำลังกาย การแข่งขันกีฬาประจำปี การอบรมสัมมนา การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมรณรงค์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพอื่นๆ ผลการวิจัยเชิงสำรวจในส่วนประสิทธิผลการสื่อสาร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey Research) โดยใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มี สถานที่ทำงาน, อายุ, สถานภาพการสมรส, การศึกษา และรายได้ แตกต่างกัน จะมีการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในโรงงานอุตสาหกรรม แตกต่างกัน 2) พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มี สถานที่ทำงาน และ สถานภาพการสมรส แตกต่างกัน จะมีการเปิดรับข่าวสารเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ แตกต่างกัน 3) การเปิดรับสื่อต่างๆ และการเปิดรับข่าวสารเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ 4) การเปิดรับสื่อต่างๆและการเปิดรับข่าวสารอื่นๆเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในโรงงานอุตสาหกรรม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสริมสร้างสุขภาพ 5) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ และ 6) ทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
Other Abstract: Studies communication patterns according to the Guideline of Health Promotion for the Large Size Industrial Workers, and,investigates communication effectiveness of health promotion implementation according to the Guideline of Health Promotion for the Large Size Industrial Workers through media exposure, knowledge, attitude, and health promotion behavior of industrial workers. This study utilized a qualitative in connection with communication patterns according to the Guideline of Health Promotion for the Large Size Industrial Workers found communication patterns divided into 1) Utilization of Interpersonal Communication to address knowledge, counseling, suggestion, and health promotion information including public relation activities on health from medical doctors and nurses on sites, medical doctors from hospitals, safety officer, responsible health promotion officers, section chiefs at different levels and industrial workers. 2) Utilization of special media to disseminate knowledge and health promotion information including public relation activities on health topics which cover posters, leaflets, journals, posting, news, public address, and videotape on health promotion. 3) Utilization of mass media to provide knowledge and stress release to industrial workers via television, videofilms and newspapers and 4) Utilization of health promotion activities such as physical health check ups, exercies, annual sports competitions, trainings, seminars, displays, and campaigns for other health promotion topics. This study utilized a survey research on communication effectiveness. The data was then analyzed by SPSS computer program to obtain percentage, mean, t-test, ANOVA and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. The findings found 1) Industrial workers with differences in industrial work sites, age, marital status, education and income were significant different in media exposure on health promotion. 2) Industrial workers with differences in industrial work sites and marital stutus were significant different in information exposure on health promotion. 3) Media exposure and information exposure did not correlate with knowledge and attitude on health promotion. 4) Media exposure and information exposure correlated with health promotion behavior. 5) Knowledge on health promotion correlated with attitude on Health Promotion, and 6) Attitude on health promotion did not correlate with health promotion behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5808
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.289
ISBN: 9741312504
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.289
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttipa.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.