Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58129
Title: การวิเคราะห์ความเค้นของฟันที่มีการอุดหรือการครอบโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
Other Titles: Stress analysis of a tooth with filling or crown by finite element method
Authors: กันยวันต์ ตวงวิไล
Advisors: ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pairod.S@Chula.ac.th,pairod.s@chula.ac.th
Subjects: การรักษาคลองรากฟัน
ทันตกรรมบำบัด
Root canal therapy
Dental therapeutics
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการสร้างแบบจำลองโครงสร้างฟันดีและแบบจำลองฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟันแล้วบูรณะด้วยการอุดและการครอบฟัน โดยสร้างแบบจำลองมาจากการสแกนฟันด้วยวิธีภาพถ่ายคอมพิวเตอร์ (CT scan) แล้วนำไฟล์สแกนมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของแข็งก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์หาความเค้นของฟันด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ การศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังต่อไปนี้ การศึกษาที่หนึ่งเป็นการศึกษาแบบจำลองเอ็นยึดปริทันต์ โดยศึกษาผลของการมีและไม่มีชั้นเอ็นยึดปริทันต์ในแบบจำลอง จากการศึกษาพบว่าควรมีการรวมชั้นเอ็นยึดปริทันต์ไว้ในแบบจำลองเพื่อให้ได้ผลการจำลองที่แม่นยำขึ้น การศึกษาที่สองเป็นการศึกษาความเค้นในฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟันแล้วบูรณะด้วยการอุดของแบบจำลองของฟันกรามน้อยส่วนล่างของฟันแท้ ซึ่งเปรียบเทียบเทคนิคในการอุดที่ต่างกันและวัสดุที่ใช้อุดฟัน 2 ชนิดที่ต่างกันคือ อะมัลกัม (amalgam) และ มัลติคอร์ (multicore) พบว่าความเค้นในตัวฟันและในวัสดุอุดที่เป็นอะมัลกัมมีค่าสูงกว่าแบบจำลองอื่น ๆ และแบบจำลองที่มีเดือยฟันมีความเค้นต่ำกว่าแบบจำลองอื่น ๆ การศึกษาสุดท้ายเป็นแบบจำลองการครอบฟันของฟันกรามส่วนล่างของฟันน้ำนมที่มีการสร้างแกนฟันด้วยวัสดุต่างกัน จากการศึกษาพบว่าแบบจำลองที่มีแกนฟันเป็นกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ (Glass ionomer cement: GIC) มีความเค้นสูงกว่าแบบจำลองที่มีแกนฟันเป็นมัลติคอร์ การศึกษานี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาโดยการทดลองทางด้านทันตกรรม การเลือกรูปแบบและวัสดุในการบูรณะ และช่วยในการพัฒนาการบูรณะฟันโดยการอุดและการครอบฟันต่อไป
Other Abstract: This thesis presents the modeling of a healthy tooth and a tooth that has been endodontically treated and restored with filling and crown. The 3D image of the tooth was obtained from CT scanning, and then was conversed to the 3D finite element models. Subsequently the stress generated in the tooth modeling was analyzed using the finite element analysis. The study in this thesis is divided into three study parts. The first part is a study about the effect of modeling a tooth with and without periodontal ligament. The study found that the periodontal ligament should be included in the model in order to obtain a more accurate result. The second study is to study the effect of materials (amalgam and multicore) and methods of coronal restoration on stress in an endodontically-treated permanent lower molar tooth. It is found that stress in dentine and filling material in the tooth filled with amalgam is higher than other models. Also, stress in the model with post is lower stress than other models. The last study is the comparison of stress of primary lower molar model restored with the multicore or glass ionomer cements (GIC) and then covered with stainless steel crowns. The stress in the model with GIC core is higher stress than that with multicore core. Therefore, this thesis is a preliminary study for the dental experiment, choosing the method and material for tooth restoration and the development of endodontic treatment and restoration with filling and crown.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58129
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1313
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1313
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670538821.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.