Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58142
Title: ผลของโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มโดยใช้วิธีการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Effects of the group-activities-based motivational enhancement therapy program on social media addictive behaviors among junior high school students in Ubon Ratchathani Province
Authors: เมรีรัตน์ มั่นวงศ์
Advisors: วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร
ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Vitool.L@Chula.ac.th,vitool@gmail.com,vitool@gmail.com
thanvaruj@gmail.com
Subjects: การจูงใจ (จิตวิทยา)
การติดสื่อสังคมออนไลน์
นักเรียนมัธยมศึกษา
Motivation (Psychology)
Social media addiction
High school students
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดกลุ่มมีกลุ่มควบคุมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มโดยใช้วิธีการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มทดลองจำนวน 125 คนได้รับโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มและกลุ่มควบคุมจำนวน 120 คนได้รับโปรแกรมแนะแนวปกติของโรงเรียน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และติดตามผลหลังจากนั้นอีก 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ ระยะเวลาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในวันจันทร์ถึงศุกร์ และวันเสาร์ อาทิตย์ (ชั่วโมง/วัน) พฤติกรรมเด็ก การเห็นคุณค่าในตนเอง และภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multivariable linear regression เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 การศึกษาครั้งนี้พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มมีระยะเวลาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในวันจันทร์ถึงศุกร์ และวันหยุด (ผลต่างค่าเฉลี่ย = -1.27, 95% CI: -2.18, -0.37 และ ผลต่างค่าเฉลี่ย= -1.25, 95% CI: -2.22, -0.29 ตามลำดับ) พฤติกรรมด้านอารมณ์ (ผลต่างค่าเฉลี่ย = -0.69, 95% CI: -1.18, -0.19) และภาวะซึมเศร้า (ผลต่างค่าเฉลี่ย = -4.03, 95% CI: -6.07, -1.99) ลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นผลของโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มโดยใช้วิธีการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ การศึกษาในอนาคตควรมีการประยุกต์ใช้โปรแกรมกิจกรรมกลุ่มนี้ในโรงเรียนอื่น และศึกษาวิธีที่เหมาะสมในการบำบัดรักษาโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ติดสื่อสังคมออนไลน์
Other Abstract: This cluster randomized controlled trial aimed to assess the effects of the group activity-based motivational enhancement therapy (GA-MET) program on social media addictive behaviors among junior high school students in Ubon Ratchathani province. The GA-MET group (n = 125) and control group (n = 120) lasted 8 weeks (2 months) and followed up 4 weeks later. A self-administered questionnaire was used to assess addictive social media behaviors, an average duration of social media usage during weekday and weekend (hour/day), child behaviors, self-esteem, and depression. Multivariable linear regression was used to compare the mean and 95 % CIs between two groups. The GA-MET program significantly decreased the time spend of using social media during weekdays and weekends (hour/day) (-1.27, 95% CI: -2.18, -0.37 and -1.25, 95% CI: -2.22, -0.29 respectively), emotional behavior (-0.69, 95% CI: -1.18, -0.19) and depression (-4.03, 95% CI: -6.07, -1.99) in the treated group as opposed to control group. In conclusion, this study showed evidence of the effects of GA-MET program in the prevention of SMA-behavior. Future research should implement this program in other school and add more supportive strategies to find the appropriate approach to treat SMA-behavior, especially in the addicted group.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58142
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.749
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.749
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674766230.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.