Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58145
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดี-
dc.contributor.advisorปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม-
dc.contributor.authorธันยนันท์ เหล่าฤทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:32:00Z-
dc.date.available2018-04-11T01:32:00Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58145-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่อความปวดหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมอายุ 18 – 59 ปีที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ด้าน เพศ อายุ จำนวนระดับกระดูกสันหลังที่ผ่าตัด ชนิดและขนาดยาแก้ปวดที่ได้รับ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura ที่ประกอบด้วย 4 วิธี คือ การใช้คำพูดชักจูง การเรียนรู้ผ่านตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น การมีประสบการณ์หรือการกระทำที่ประสบผลสำเร็จด้วยตนเอง และการกระตุ้นทางร่างกายและการกระตุ้นทางอารมณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความปวด (Visual analog scale) เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบ Repeated Measure ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความปวดหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม ภายหลังผ่าตัดวันที่ 3, 4 และ 5 ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนมีความปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามความปวดหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม ที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวภายหลังการผ่าตัด วันที่ 1 และ วันที่ 2 ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติไม่แตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of self-efficacy promoting program combined with reflexology on postoperative pain in patients with Laminectomy. Adult patients aged 18-59 years with degenerative disc disease at surgical ward, Police General Hospital were recruited. Both control (n=22) and the experimental (n=22) groups were matched by age, gender, level of lumbar disc, and dose of pain killer medication. The control group received the conventional care. The experimental group received the self-efficacy promoting program combined with foot reflexology developed based on the concept of Bandura. The self-efficacy program consisted of 4 principle sources of verbal persuasion, vicarious experience, enactive mastery experience and physiological and affective states. The instrument for collecting data was the Visual Analog Scale. Post-operative self-efficacy questionnaire was used to monitor the manipulation. Its Cronbach’s Alpha Coefficient was .93. Data were analyzed using descriptive statistics and Repeated Measure ANOVA. The results revealed that: The mean score of post-operative pain after laminectomy at days 3, 4 and 5, in the experimental group was significantly lower than those in the control group (p < .05). However, post-operative pain in both the experimental and the control groups did not differ at days 1 and 2.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.666-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectกระดูกสันหลังส่วนเอว -- ศัลยกรรม-
dc.subjectความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม-
dc.subjectการนวดกดจุดสะท้อน-
dc.subjectLumbar vertebrae -- Surgery-
dc.subjectPostoperative pain-
dc.subjectReflexology (Therapy)-
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่อความปวดของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว​-
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF SELF-EFFICACY PROMOTING PROGRAM COMBINED WITH REFLEXOLOGY ON PAIN IN PATIENTS WITH LAMINECTOMY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.666-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677180036.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.