Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58185
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์-
dc.contributor.authorปรัชญา คัมภิรานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:32:49Z-
dc.date.available2018-04-11T01:32:49Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58185-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยหัวข้อ มานุษยวิทยาการออกแบบ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ตามหลักการและวิธีการของการของงานวิชาการเพื่อสังคมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ค้นหาหลักการมานุษยวิทยาการออกแบบ 2. เพื่อประยุกต์ใช้หลักมานุษยวิทยาการออกแบบในการออกแบบเพื่อสังคม จากการศึกษาหลักการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบทฤษฎีเบื้องต้นสำหรับการปฏิบัติการ เพื่อให้ผลการปฏิบัติการเป็นตัวช่วยในการพัฒนาทฤษฎี ตามแนวทางของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมุ่งเน้นการแสวงหาความรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ผู้วิจัยพบว่า หลักการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบทฤษฎีเบื้องต้น ได้แก่ “หลักมานุษยวิทยาการออกแบบ” ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ผสมผสานศาสตร์ของมานุษยวิทยาและศาสตร์ของการออกแบบเข้าด้วยกัน และ “แบบจำลองกระบวนการออกแบบเพื่อสังคม” ซึ่งเป็นการนำหลักวิชาการเพื่อสังคมมาประยุกต์เข้ากับแบบจำลองกระบวนการออกแบบ เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการออกแบบจากที่มีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ มาเป็นเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ทางสังคม การวิจัยครั้งนี้ มีพื้นที่วิจัยตามหลักการวิจัยสนามทางมานุษยวิทยา ได้แก่ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีระยะเวลาการดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 ถึงปีพ.ศ. 2560 โดยมีการปฏิบัติการทั้งสิ้น 3 วงจร ได้แก่ วงจรที่ 1: งานแต่งงานในหอศิลป์ เพื่อแก้ปัญหาชุมชนไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของหอศิลป์ วงจรที่ 2: การอบรมสตรีทอาร์ตในหอศิลป์ เพื่อบริการวิชาการตามวัตถุประสงค์ของหอศิลป์ และวงจรที่ 3: โครงการหอศิลป์ต้นแบบเพื่อสังคม เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญ 3 ประการของหอศิลป์ ได้แก่ 1. การขาดงบประมาณสนับสนุน 2. การขาดการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ความชำรุดทรุดโทรมของตัวอาคาร ในการปฏิบัติการแต่ละวงจร มีขั้นตอนการปฏิบัติการในแต่ละโครงการแบ่งเป็น แบ่งเป็น ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาแผนการปฏิบัติการ (plan) ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (act) ขั้นตอนที่ 3 การสังเกตผลการปฏิบัติการ (observe) และขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนผลการปฏิบัติการ (reflect) ซึ่งเป็นการประเมินผลเชิงคุณภาพ และนำหลักการที่ได้รับการพัฒนาในแต่ละโครงการ ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการโครงการถัดไปในลักษณะวนซ้ำ จนได้หลักการตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย จากนั้นจึงนำหลักการที่ได้รับการพัฒนา ไปมาสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบในรูปแบบการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016 เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือของหลักการ หลักการที่ได้รับการพัฒนาจากการปฏิบัติการในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. การแทรกแซงด้วยการออกแบบ (design intervention) ที่ถูกพัฒนาในการปฏิบัติการวงจรที่ 1 โดยกิจกรรมงานแต่งงาน สามารถเปลี่ยนวิธีคิดของผู้เข้าร่วมเกี่ยวกับการใช้งานพื้นที่เอนกประสงค์ของหอศิลป์ ว่าชุมชนสามารถเข้ามาใช้งานพื้นที่ดังกล่าวในการจัดกิจกรรมได้ 2. การเปลี่ยนบทบาทจากนักออกแบบเป็นผู้จัดการโครงการ (designer as a project manager) ที่ถูกพัฒนาในการปฏิบัติการวงจรที่ 2 โดยในการออกแบบเพื่อสังคมนั้น นักออกแบบจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบเพียงอย่างเดียว มาเป็นผู้กำหนดทิศทางของการออกแบบ และรับผิดชอบรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 3. การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม (participatory design) ที่ถูกพัฒนาในการปฏิบัติการวงจรที่ 2 โดยการออกแบบเพื่อสังคมนั้นมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้น ผู้ออกแบบจึงจำเป็นต้องสร้างสรรค์ระบบเปิด เพื่อให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์เนื้อหาของการออกแบบ 4. การใช้สหวิทยาการในการออกแบบ (Multidisciplinary Approach) ที่ถูกพัฒนาในการปฏิบัติการวงจรที่ 3 โดยงานการใช้งานออกแบบเพื่อแก้ปัญหาสังคมนั้น นักออกแบบไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยศาสตร์ที่นักออกแบบเชี่ยวชาญเพียงศาสตร์เดียวได้ นักออกแบบจึงจำเป็นต้องร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นๆ ในการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน-
dc.description.abstractalternativeDesign Anthropology is a Participatory Action Research that applies principles and methods from Socially-engaged Scholarships. The objectives of this research are; 1. to find the principles of Design Anthropology, 2. to apply Design Anthropology’s principles in socially-engaged design. From literature reviews, it has 2 primary research frameworks, which are; “Design Anthropology”, which is the integration of design thinking and anthropological research, and “Socially-engaged Design Process Model” that adopts socially-engaged scholarships to design process in order to change the goal of design from commercial benefits to social ones. Then, the frameworks is developed in the process of action research. Following the concept of Anthropological Fieldwork, the research is operated in the area of Chiang Mai University Art Center for 3 years from 2015 to 2017. It consists of 3 projects, which are The Wedding at the Museum to include community in the museum’s activity, Street Art Workshop at the Museum to provide academic service to the community which is one of the main objectives of the museum, and the Socially-engaged Museum to tackle 3 major problems in the museum, 1. without financial support, 2. Lack of effective management, and 3. deterioration in building. As an action based research, the process of each project can be divided in 4 steps; 1st step: Plan, 2nd step: Act, 3rd step: Observe, and 4th step: Reflect (using qualitative measurement). The results of each project will be applied in the next project until the research fulfills its objective. After that, the developed principles are applied in media production for Chiang Mai Design week 2016 to investigate the validity and reliability of the principles. The Design Anthropology’s Principles that has been developed from this research are; 1. Design Intervention developed in the 1st project. The wedding ceremony at the museum change the mindset of the participants that the multipurpose area in the museum can be used by the community 2. Designer as a project manager developed in the 2nd project. In socially-engaged design, designer needs to change his role from designing products to set the direction of the design, and is responsible for other details in the project. 3. Participatory Design developed in the 2nd project. Socially-engaged design focus on participatory, therefore, designer have to create open-ended platform for the user to participate in the content of design. 4. Multidisciplinary Approach developed in the 3rd project. Socially-engaged design requires multiple disciplines to reach solutions from its complexity.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1469-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectมานุษยวิทยา-
dc.subjectการออกแบบ-
dc.subjectAnthropology-
dc.subjectDesign-
dc.titleมานุษยวิทยาการออกแบบ-
dc.title.alternativeDesign anthropology-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSuppakorn.D@Chula.ac.th,suppakornd@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1469-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686809635.pdf30.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.