Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58196
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนภัสสวงศ์ โอสถศิลป์-
dc.contributor.authorกุศลิน กิจพงษ์นิกร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:33:05Z-
dc.date.available2018-04-11T01:33:05Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58196-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อลดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยมุ่งเน้นลดของเสียที่เกิดจากข้อบกพร่องประเภทเจล ยับ และหนาบางในแนวขวางเครื่องจักร งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดซิกซ์ ซิกมา เริ่มจาก 1) ระยะนิยามปัญหา ซึ่งพบว่าของเสียจากการผลิตในกระบวนการเป่าฟิล์มประเภทเจล ยับ และหนาบางมีสัดส่วนที่สูง สำหรับการผลิตถุงพลาสติกขนาด 30 x (6+2+2) นิ้ว ขนาด 80 x 240 มิลลิเมตร และ 40 x 24 นิ้ว มีสัดส่วนของเสียประเภทเจล ยับ และหนาบาง ร้อยละ 11.03 1.26 และ 3.60 ของปริมาณการผลิต ตามลำดับ 2) ระยะการวัด ทำการประเมินระบบการตรวจสอบพบว่ามีความแม่นและเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ 3) ระยะการหาสาเหตุของปัญหา ในขั้นแรกทำการระดมสมองโดยใช้แผนผังก้างปลาพบว่ามี 22 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อข้อบกพร่องประเภทเจล ยับ และหนาบาง จากนั้นนำไปคัดกรองด้วยแผนผังแสดงสาเหตุและผล ทำให้เหลือเพียง 9 ปัจจัย ที่นำไปศึกษาต่อ 4) ระยะการปรับปรุงกระบวนการ ดำเนินการปรับปรุง 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 4.1) การออกแบบการทดลองโดยใช้วิธีพื้นผิวผลตอบแบบส่วนประสมกลาง เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยด้วยวิธีการทางสถิติ และหาค่าที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย พบว่าค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับขนาด 30 x (6+2+2) นิ้ว ได้แก่ อุณหภูมิกระบอกสูบส่วนต้น 220 °C อุณหภูมิกระบอกส่วนกลาง 212 °C อุณหภูมิกระบอกส่วนท้าย 217 °C อุณหภูมิหน้าแปลน 220 °C อุณหภูมิหัวดาย 216 °C และความเร็วมอเตอร์ขับสกรู 50 kW สำหรับขนาด 80 x 240 มิลลิเมตร ได้แก่ อุณหภมิกระบอกส่วนต้น 220 °C อุณหภูมิหน้าแปลน 224 °C อุณหภูมิหัวดาย 216 °C และความเร็วมอเตอร์ขับสกรู 35 kW และสำหรับขนาด 40 x 24 นิ้ว ได้แก่ อุณหภูมิหน้าแปลน 224 °C อุณหภูมิหัวดาย 222 °C และความเร็วมอเตอร์ขับสกรู 24 kW 4.2) การสร้างวิธีปฎิบัติงาน และในขั้นตอนสุดท้าย 5) ระยะควบคุมกระบวนการ ทำการทดสอบเพื่อยืนยันผลการปรับปรุงและจัดทำแผนควบคุมเพื่อรักษาคุณภาพหลังการปรับปรุงกระบวนการ ภายหลังการปรับปรุงกระบวนการพบว่าสามารถลดของเสียในกระบวนการเป่าฟิล์มสำหรับข้อบกพร่องประเภทเจล ยับ และหนาบางของถุงพลาสติก ขนาด 30 x (6+2+2) นิ้ว จากร้อยละ 11.03 เหลือเพียงร้อยละ 0.39 ขนาด 80 x 240 มิลลิเมตร จากร้อยละ 1.26 เหลือเพียงร้อยละ 0.50 ขนาด 40 x 24 นิ้ว จากร้อยละ 3.60 เหลือเพียงร้อยละ 0.42 พบว่ามีมูลค่าความสูญเสียที่ลดลงได้ 259,256 บาทต่อปี-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to reduce waste from the production of defects from gel or dark specks, wrinkles and uneven thickness defect Transverse Direction (TD) of machine that occur in the film blowing process. This research applied Six Sigma methodology which composed of five phases. Phase I: plastic bags of size 30 x (6 + 2 + 2) inches 80x240 mm. and 40x24 inches had high defectives rate due to these three defects totaling of 11.03, 1.26 and 3.60 percent of the production volume respectively. Phase II: Measures Phase, the accuracy and precision of the inspection system were analyzed and found that it was acceptable. Phase III: Analyze Phase, 22 potential factors affecting these defects were listed out using brainstorming technique and Fishbone diagram. Next 9 factors were selected to be studied further using the Cause and Effect matrix. Phase IV: Improvement phase, two improvement approaches were performed. First the design of experiments technique was applied to prove for significance of factors and find the optimal setting. Second, quality procedure and work instructions were created. Phase V: Control Phase, confirmatory experiment was performed and control plan was set up to the maintain quality level after improvement. After improvement, the defective rate due to these three defects was reduced from 11.03 percent to 0.39 percent in 30 x (6 + 2 + 2) inches size, 1.26 percent to 0.50 percent in 80x240 mm. size and 3.60 percent to 0.42 percent in 40x24 inches size. This improvement leads to the loss saving of 259,256 baht per year.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1421-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)-
dc.subjectการลดปริมาณของเสีย-
dc.subjectSix sigma (Quality control standard)-
dc.subjectWaste minimization-
dc.titleการลดของเสียในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยวิธีซิกซ์ ซิกมา-
dc.title.alternativeDefect reduction in blown film process by six sigma approach-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisornapassavong.o@chula.ac.th,napassavong.o@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1421-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770127621.pdf9.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.