Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58200
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธนิต ธงทอง | - |
dc.contributor.advisor | นวลทิพย์ เงาวิศิษฎ์กุล | - |
dc.contributor.author | พิชญา เลิศพิบูลย์กิจ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-04-11T01:33:11Z | - |
dc.date.available | 2018-04-11T01:33:11Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58200 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | อุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นที่ต้องการสำหรับประเทศไทยอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้วิศวกรโยธาเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ปัจจุบันสัดส่วนของวิศวกรโยธาหญิงต่อวิศวกรโยธาชายเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปีและคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต แต่ก็พบว่าอัตราการลาออกของวิศวกรโยธาหญิงสูงกว่าวิศวกรโยธาชาย การวิจัยนี้จึงตระหนักถึงคุณภาพชีวิตการทำงานของวิศวกรโยธาหญิงเพื่อที่วิศวกรโยธาหญิงจะได้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาหรือปรับปรุงตนเองให้ทำงานในสายอาชีพนี้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาวิจัยเริ่มจากการทบทวนงานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตการทำงาน จากการศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตการทำงานแบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน คือ 1) ความเครียดในการทำงาน 2) ความภาคภูมิใจในการทำงาน 3) ความพึงพอใจในการทำงาน และ 4) แนวโน้มการเปลี่ยนงาน แบบสอบถามถูกทดสอบความน่าเชื่อถือด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคจากวิศวกรโยธาหญิงจำนวน 25 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 90 เปอร์เซ็นต์ในการกำหนด จากการแจกแบบสอบถามได้รับการตอบกลับจากวิศวกรโยธาหญิงจำนวน 116 คน โปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูป SPSS Ver.22 ถูกใช้ในการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ เช่น ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, การแจกแจงปกติ, สหสัมพันธ์สเปียร์แมน, One-way ANOVA, และการถดถอยพหุ เป็นต้น ผลการศึกษาได้สมการการวัดระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน 2 รูปแบบ; 1) การวิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของแต่ละบุคคลจากการตอบแบบสอบถาม และ 2) การวิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของวิศวกรโยธาหญิงจากกลุ่มตัวแทน 116 คน ในปี พ.ศ.2559 โดยการวิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของวิศวกรโยธาหญิงจากกลุ่มตัวแทน 116 คน ในปี พ.ศ.2559 ได้มาจาก 4 สมการ คือ 1) สมการระดับความเครียดในการทำงาน 2) สมการระดับความภาคภูมิใจในการทำงาน 3) สมการระดับความพึงพอใจในการทำงาน และ 4) สมการระดับแนวโน้มการเปลี่ยนงาน จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการพัฒนาทักษะความรู้สามารถทำให้คุณภาพชีวิตในการทำงานดีขึ้น จากผลการศึกษานี้พบว่าวิศวกรโยธาหญิงส่วนใหญ่ใช้ทักษะด้านบริหารงานก่อสร้างและทักษะด้านโครงสร้าง ทักษะภาษาอังกฤษ และทักษะโปรแกรม AutoCAD ทั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับวิศวกรโยธาหญิงเพื่อเตรียมตัวหรือพัฒนาศักยภาพของตนเอง ข้อจำกัดของงานวิจัยนี้คือความหลากหลายของช่วงอายุและลักษณะของงานที่ทำ | - |
dc.description.abstractalternative | The construction industry is in constant demand in Thailand. Civil engineers are very much-needed in the construction industry. Currently, the proportion of female civil engineers to male civil engineers increases every year and is expected to increase in the future. However, it was found that the female civil engineer’s resignation rate was higher than male civil engineer's. This research focused on the quality of work life of female civil engineers so that female civil engineers will know how to develop or improve themselves to work in this job effectively. This research started with a literature review that related to quality of work life. The questionnaire was tested for reliability with Cronbach's Alpha coefficient from 25 female civil engineers. The sample size used Taro Yamane's instant table at 90 percent confidence level. The questionnaire received responses from 116 female civil engineers. SPSS Ver.22 statistical program was used for statistical analysis such as mean, percent, normal distribution, Spearman's correlation, one-way ANOVA, and multiple regression. The results of this study were obtained from two models of quality of work life; 1) Analysis of quality of work life of the individual from questionnaire responses and 2) Analysis of quality of work life of female civil engineers from 116 representatives in 2016. An analysis of quality of work life of female civil engineers from 116 representatives in 2016 was derived from 4 equations: 1) Job stress equation, 2) Work pride equation, 3) Job satisfaction equation and 4) Turnover tendency equation. From the literature review, it was found that skill development can make the quality of work life better. The result of this study found that most of female civil engineers used construction management and structural skills, English and AutoCAD program. This is useful for female civil engineers to prepare or develop their potential. The limitations of this research were the diversity of age ranges and the nature of the works. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.914 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การวิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของวิศวกรโยธาหญิงในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย | - |
dc.title.alternative | AN ANALYSIS OF QUALITY OF WORK LIFE OF FEMALE CIVIL ENGINEERS IN THAI CONSTRUCTION INDUSTRY | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Tanit.T@chula.ac.th,dr_tanit@yahoo.com | - |
dc.email.advisor | nuanthipn@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.914 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770250021.pdf | 5.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.