Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58252
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญพักตร์ อุทิศ-
dc.contributor.authorสุรธาดา สิงหาวาโน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:34:37Z-
dc.date.available2018-04-11T01:34:37Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58252-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นที่เสพยาบ้า 2) ศึกษาปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นที่เสพยาบ้า ได้แก่ เพศ อายุที่เริ่มเสพยาบ้า จำนวนครั้งที่บำบัดรักษา ความรุนแรงของการเสพยาบ้า ภาวะซึมเศร้า การใช้สารเสพติดของสมาชิกในครอบครัว การเห็นคุณค่าในตนเอง ความเข้มแข็งของครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน และการเผชิญความเครียด กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 185 คน คือ วัยรุ่นทั้งเพศหญิงและชาย อายุ 12-24 ปี ที่เสพยาบ้า และเข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก ในระบบสมัครใจและระบบบังคับบำบัด ของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ 4 แห่ง สังกัดกรมการแพทย์ ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 8 ชุด ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง 3) แบบสอบถามการเผชิญความเครียด 4) แบบสอบถามดัชนีชี้วัดปัญหาความรุนแรงของการใช้ยาบ้า 5) แบบสอบถามความเข้มแข็งของครอบครัว 6) แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน 7) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) และ 8) แบบประเมินพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นไทย มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค สำหรับเครื่องมือชุดที่ 2- 8 เท่ากับ .74, .91, .66, .83, .94, .84 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1. วัยรุ่นที่เสพยาบ้าส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.11 มีพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำอยู่ในระดับมาก 2. การเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง ความเข้มแข็งของครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน และภาวะซึมเศร้า สามารถร่วมกันทำนายพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นที่เสพยาบ้าได้ร้อยละ 48.40 (R=.484) โดยมีสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ พลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวันรุ่นที่เสพยาบ้า (Zý) =.621 (การเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง) +.212 (ความเข้มแข็งของครอบครัว) +.217(การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน) - .131(ภาวะซึมเศร้า)-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this predictive correlation researches were: 1) to study resilience to amphetamine relapse among adolescent amphetamine users, 2) to examine power of predictive factors including gender, age at onset of amphetamine use, number of drug treatment, severity of amphetamine use, depression, family member substance abuse, self-esteem, family hardiness, social support by peer, and coping on resilience to amphetamine relapse among adolescent amphetamine users. The subjects were 185 male and female adolescent amphetamine users age 12 to 24 years old, who met the inclusion criteria, and were receiving treatment in voluntary and compulsory systems in outpatient department of four Thanyarak hospitals, Department of Medical Services. Research instruments consist of 8 questionnaires namely: 1) demographic data form, 2) the Rosenberg’s self-esteem scale, 3) the adolescent coping scale, 4) the addiction severity index, 5) the family hardiness index, 6) the social support by peers, 7) the nine questions for depression (9Q), and 8) the resilience to amphetamine relapse scale. The Cronbach’s alpha coefficient reliability of the 2nd to 8th instruments were as of .74, .91, .66, .83, .94, .84 and .97, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression. The results were as follows: 1) the majority of adolescent amphetamine users (48.11%) rated on resilience to amphetamine relapse as a high level. 2) problem-focused coping, family hardiness, social support by peer and depression were together significantly predicted resilience to amphetamine relapse. The predictive power was 48.40 (R=.484) of the variance. The equation derived from standardizes score was: Resilience to amphetamine relapse among adolescent amphetamine users =.621(problem-focused coping) + .212(family hardiness) +.217(social support by peer) -.131(depression)-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.668-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectยาบ้า-
dc.subjectยาหลอนประสาท-
dc.subjectวัยรุ่น-
dc.subjectคนติดยาเสพติด-
dc.subjectHallucinogenic drugs-
dc.subjectAdolescence-
dc.subjectDrug addicts-
dc.titleปัจจัยทำนายพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นที่เสพยาบ้า-
dc.title.alternativePREDICTIVE FACTORS OF RESILIENCE TO AMPHETAMINE RELAPSE AMONG ADOLESCENT AMPHETAMINE USERS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.668-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777205136.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.