Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58272
Title: | “คนดี สำคัญกว่าทุกสิ่ง”: ญาติธรรมกับการสร้างการยอมรับพุทธทาสภิกขุในสังคมไทย พ.ศ. 2475 -2529 |
Other Titles: | "Good people are the most important": followers and the establishment of acceptance of Buddhadasa Bhikkhu in Thai society, 1932-1986 |
Authors: | ทิวาพร อภัยพัฒน์ |
Advisors: | วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ สุวรรณา สถาอานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wasana.W@Chula.ac.th,wwongsurawat@hotmail.com Suwanna.Sat@Chula.ac.th |
Subjects: | พุทธทาสภิกขุ ความดี พุทธศาสนา Virtue Buddhism |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บริบทสังคมไทยในทศวรรษ 2470 ถือเป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนผ่านทางสังคม โดยเฉพาะการเมืองไทยกลุ่มข้าราชการอย่างคณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในการบริหารและดำเนินนโยบายพัฒนาสังคมไทยไปสู่ความเป็น สมัยใหม่ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้พระสงฆ์หนุ่มนามพุทธทาสภิกขุได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะเผยแพร่องค์ความรู้ พุทธศาสนารูปแบบใหม่ที่เกิดจากการศึกษาหลักพุทธธรรมด้วยตนเอง ผลงานการประพันธ์ของพุทธทาสภิกขุ ได้รับการยอมรับจากกลุ่มข้าราชการไทยและปัญญาชนไทยในทศวรรษ 2470 จากบริบทของสังคมไทยที่เกิดการตื่นตัวในการศึกษาพุทธศาสนาไทย ปัญญาชนไทยจำนวนหนึ่งได้หันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนาที่มีคำอธิบายสอดคล้องกับหลักเหตุผล พวกเขาปวารณาตัวเป็นญาติธรรมของพุทธทาสภิกขุ วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาบทบาทของกลุ่มญาติธรรมที่สนับสนุนพุทธทาสภิกขุให้ประสบความสำเร็จในการเผยแพร่พุทธศาสนา กลุ่มญาติธรรมของพุทธทาสภิกขุมีความแตกต่างในอาชีพและอุมการณ์ทางการเมืองถือเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มญาติธรรมสงฆ์ที่ประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีชื่อเสียงและบทบาททางการเมืองขั้วตรงข้าม แต่พวกเขาสามารถเชื่อมโยงความศรัทธามาที่พระสงฆ์รูปเดียวกันได้อย่างไม่เป็นปัญหา พุทธทาสภิกขุมีวิธีการรักษาสัมพันธภาพภายในกลุ่มญาติธรรมด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของพวกเขาไปที่ประเด็นความสนใจในการศึกษาธรรมมากกว่าแนวคิดทางการเมืองของพวกเขา หัวข้อบันทึกรายวันเรื่อง“คนดีสำคัญกว่าทุกสิ่ง”เป็นผลงานเขียนของพุทธทาสภิกขุที่แสดงให้เห็นทรรศนะของท่านในการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่ว่าแนวคิดทางการเมืองไม่ใช่สิ่งที่ พุทธทาสภิกขุให้ความสำคัญในการประเมินคุณค่าและตัดสินบุคคล แต่ธรรมทางศาสนาเป็นสิ่งที่ทำให้คนเป็นคนดี ดังนั้นแล้วบุคคลใดที่ศึกษาพุทธศาสนาก็สามารถเป็นญาติธรรมของพุทธทาสภิกขุได้ |
Other Abstract: | Thai society in the 1930s is considered a period of transition. Especially in terms of politics, bureaucrats such as members of the People's party came to play important roles in administrating and executing development policies in the modernizing Thai society. During that time, a young monk known as ‘Buddhadasa Bhikkhu’ announced his intentions to spread Buddhist knowledge in a new way, which he had discovered through studying the Buddha’s teaching on his own. Buddhadasa’s writings were widely accepted by Thai civil servants and intellectuals in the 1930s. This was because of a revival of enthusiasm in learning Thai Buddhism in Thai society during that period. Some Thai intellectuals came to be interested in studying Buddhism through logic and reason. They then proclaimed themselves as Buddhadasa’s followers. This thesis investigates the role of followers who supported Buddhadasa Bhikkhu and contributed to his success in spreading Buddhism. Buddhadasa’s followers come from all walks of life and from a great variety of political standings. A unique characteristic of Buddhadasa’s followers is that they consist of intellectuals with different political ideas and yet they are able to relate to one another though faith in the same monk without difficulty. Buddhadasa’s way of maintaining good relationship among his followers was to connect them through their interest in learning Buddhism rather than their political leaning. One of his personal journals is titled “Good people are the most important”. This clearly shows Buddhadasa’s attitude in connecting with people. He did not evaluate or judge people from their political ideas. He believed that religious teachings make people into good people. Hence, anyone who studies Buddhism could be a follower of Buddhadasa Bhikkhu. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58272 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1029 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1029 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5780125022.pdf | 3.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.